หอยนักล่าเกลียวเชือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอยนักล่าเกลียวเชือก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
ไม่ได้จัดลำดับ: clade Heterobranchia

clade Euthyneura
clade Panpulmonata
clade Eupulmonata
clade Stylommatophora
informal group Sigmurethra

วงศ์ใหญ่: Streptaxoidea
วงศ์: Diapheridae
สกุล: Diaphera
สปีชีส์: D.  prima
ชื่อทวินาม
Diaphera prima
Panha, 2010[1]

หอยนักล่าเกลียวเชือก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diaphera prima) เป็นหอยนักล่าในวงศ์ Diapheridae ซึ่งเป็นหอยวงศ์ใหม่ของโลก คำว่า 'prima' เป็นภาษาละติน แปลว่า ครั้งแรกหรือที่หนึ่ง หมายถึงการพบหอยในวงศ์ Diaperidae และสกุล Diaphera เป็นครั้งแรกในประเทศไทย[1]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เปลือกรูปทรงกระบอกเรียว มีสีขาวเวียนขวาและเรียบ สูงประมาณ 6.2 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร เปลือกมี 7-8 ชั้น ปลายยอดมนทู่ มีเปลือกคอยาวและฟันที่แหลมคมซึ่งใช้ใการล่าเหยื่อ[1]

แหล่งอาศัย[แก้]

มักอาศัยตามพื้นที่ชื้น มีเศษซากใบไม้ทับถมเน่าเปื่อยโดยเฉพาะในแนวเขาหินปูน มักหลบซ่อนอยู่ใต้ซากใบไม้ในตอนกลางวันและออกหากินหลังฝนตก ขณะที่มีอากาศชื้นและตอนกลางคืน โดยจะล่าหอยชนิดอื่นที่มีขนาดเล็กและไข่แมลงต่างๆ เป็นอาหาร ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในพื้นที่ ในด้านการควบคุมประชากรแมลงไม่ให้มีมากจนเกินไป[1]

การแพร่กระจาย[แก้]

หอยในสกุลนี้ส่วนใหญ่พบในประเทศฟิลิปปินส์ประมาณ 40 ชนิด ในประเทศอื่นๆ แถบอินโดจีนพบ 5 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบเฉพาะในภาคตะวันออก ตามแนวเขาหินปูน ในเขตอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี, อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง และอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว[1]

สถานภาพ[แก้]

เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

การค้นพบ[แก้]

ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Sutcharit C., Naggs F., Wade C. M., Fontanilla I. & Panha S. (2010). "The new family Diapheridae, a new species of Diaphera Albers from Thailand, and the position of the Diapheridae within a molecular phylogeny of the Streptaxoidea (Pulmonata: Stylommatophora)". http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1096-3642.2009.00598.x/pdf160: 1-16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Sutcharit 2010" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน