หอดักลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับอันบาร์ (ที่เก็บน้ำ) กับโดมคู่และหอดักลม (มีช่องเปิดด้านบนของหอ) ตั้งอยู่ที่เมืองแยซด์ ประเทศอิหร่าน

หอดักลม (เปอร์เซีย: بادگیر bâdgir: bâd "ลม" + gir "ตัวดัก") เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอิหร่านดั้งเดิมที่สร้างการไหลเวียนลมธรรมชาติให้แก่อาคาร[1] หอดักลมมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบหนึ่งทิศทาง สองทิศทาง และหลายทิศทาง หอนี้มีใช้ในสถาปัตยกรรมอิหร่านโบราณ ในปัจจุบันยังคงมีการใช้หอดักลมในอิหร่านและสามารถพบได้ในสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมเปอร์เซียดั้งเดิมทั่วทั้งเอเชียตะวันตก รวมถึงในในกลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน[2]

โครงสร้างและสถาปัตยกรรม[แก้]

หอดักลมอาจมีช่องเปิดหนึ่งช่อง สี่ช่อง หรือแปดช่อง ที่เมืองแยซด์ หอดักลมทั้งหมดที่นี่มีสี่หรือแปดด้าน การก่อสร้างหอดักลมขึ้นกับทิศทางการไหลของลมของแต่ละสถานที่นั้น ๆ หากลมไหลผ่านเพียงด้านเดียว ก็จะสร้างเพียงอันเดียวตามทิศทางช่องเปิดของลม รูปแบบนี้เห็นได้โดยทั่วไปที่เมืองเมย์บอด ตั้งอยู่ห่างจากแยซด์ 50 กิโลเมตร โดยหอดักลมมีลักษณะสั้นและมีช่องเปิดเพียงด้านเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Malone, Alanna. "The Windcatcher House". Architectural Record: Building for Social Change. McGraw-Hill.
  2. A. A'zami (May 2005). "Badgir in traditional Iranian architecture" (PDF). International Conference "Passive and Low Energy Cooling 1021 for the Built Environment", May 2005, Santorini, Greece. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ 21 March 2012.