หอคอยเฉลิมพระเกียรติ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

พิกัด: 14°51′54″N 101°03′52″E / 14.864986°N 101.064363°E / 14.864986; 101.064363
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หอคอยเฉลิมพระเกียรติ เป็นหอคอยสำหรับชมทิวทัศน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ประวัติ[แก้]

หอคอยเฉลิมพระเกียรติแห่งนี้ จัดสร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณเหลือจ่าย จากงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 5,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2548 ในวงเงิน 9,607,830 บาท สมัยที่ นายวิชัย ศรีขวัญ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2547-2549) เบิกจ่ายงบประมาณจัดการบูรณาการของรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีในวงเงิน 5,400,000 บาท และงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ปี 2552 ในวงเงิน 5,700,000 บาท สมัย นายจารุพงศ์ พลเดช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (พ.ศ. 2550-2552) รวมเป็นเงินในการก่อสร้างจำนวน 20,707,830 บาท ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินการก่อสร้างโดย หจก. ใบแก้วก่อสร้าง

วัตถุประสงค์ในการสร้าง[แก้]

จัดสร้างขึ้นโดยดำริของ นายจารุพงศ์ พลเดช ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติ บูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่ทรงพระคุณอันประเสริฐ แก่จังหวัดลพบุรี มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล อาทิ สมัยพระนางจามเทวี สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมัย ราชวงศ์จักรี อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดลพบุรีอีกด้วย

ลักษณะของหอคอย[แก้]

ลักษณะของคอหอย มีลักษณะเป็นอาคารทรงสูง มีเนื้อที่ประมาณ 1 งาน ลักษณะเป็นทรงหกเหลี่ยม มีพื้นที่ด้านล่างขั้นที่หนึ่ง จำนวน 220 ตารางเมตร บริเวณอาคารปิดด้วยกระจก สีเขียว ด้านบนมีพื้นที่ 96 ตารางเมตร ปิดด้วยกระจก ทำการเปิดใช้อาคารหอคอยในวันที่เก้า เดือนเก้า ปีสองพันเก้า สามารถดูทิวทัศน์ภายนอกได้ตลอดสามร้อยหกสิบองศา อยู่บนฐานยกพื้นด้านซ้ายมือจากประตูทางเข้า จะมีพระบรมสาธิตลักษณ์ของพระนางเจ้าจามเทวี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปของราชจักรีวงศ์ทั้งเก้าพระองค์ประดิษฐานอยู่ ในพื้นที่ด้านในประมาณ 40 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ใช้ในการแสดงสินค้าซึ่งเป็นผลผลิตของเกษตรกรชาวจังหวัดลพบุรีและด้านอุตสาหกรรม รวมไปถึงการจัดแสดงสินค้า OTOP โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และของที่ระลึกของจังหวัดลพบุรีแสดงโชว์อยู่ ซึ่งคหอคอยแห่งนี้แบ่งออกเป็น 7 ชั้นด้วยกันซึ่งในแต่ละชั้นประกอบด้วยดังนี้

  • ชั้นที่ 1 มีพื้นที่ 220 ตารางเมตร จัดทำเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการเฉลิมพระเกียรติบูรพมหากษตริยาธิราชเจ้า
  • ชั้นที่ 2 เป็นชั้นลอยที่มีมุมพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อชมทิวทัศน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเป็นร้านอาหารด้วย
  • ชั้นที่ 3 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังติดภาพยุคพระนางจามเทวีที่มีความสวยงาม
  • ชั้นที่ 4 เป็นชั้นที่ขึ้นไปบนชั้นหอคอยที่มีภาพจิตรกรรม บอกเล่าเรื่องราวสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทั้งพระราชกรณียกิจของพระองค์ที่สำคัญและเหตุการณ์ที่สำคัญในยุคนั้น
  • ชั้นที่ 5-6 เป็นชั้นที่มีภาพจิตรกรรม ที่บอกเล่าเรื่องราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของไทย
  • ชั้นที่ 7 เป็นภาพจิตรกรรมที่บอกเล่าถึงภาพกิจกรรมสมัยปัจจุบันในรัชกาลที่ 9 จนถึงปัจจุบัน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°51′54″N 101°03′52″E / 14.864986°N 101.064363°E / 14.864986; 101.064363