ข้ามไปเนื้อหา

หอกหยก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอกหยก (หฺวา เหอ)
華覈
นักประวัติศาสตร์รัฐฝ่ายขวา
(右國史 โย่วกั๋วฉื่อ)
ดำรงตำแหน่ง
? – ค.ศ. 275 (275)
กษัตริย์ซุนโฮ
หัวหน้าหอสังเกตการณ์ตะวันตก
(東觀令 ตงกว้านลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
? – ค.ศ. 275 (275)
กษัตริย์ซุนโฮ
ผู้ช่วยราชเลขาธิการราชวัง (中書丞 จงชูเฉิง)
ดำรงตำแหน่ง
ก่อน ค.ศ. 263 – ?
นายกองร้อยนิคมการเกษตร
(典農都尉 เตี่ยนหนงตูเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
?–?
นายกองช่าง-ยฺหวี (上虞尉 ช่าง-ยฺหวีเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
?–?
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 219
เขตอู่จิ้น นครฉางโจว มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตป. มิถุนายน ค.ศ. 278 (59 ปี)
อาชีพขุนนาง, นักประวัติศาสตร์
ชื่อรองหย่งเซียน (永先)
บรรดาศักดิ์สฺวีหลิงถิงโหว (徐陵亭侯)

หอกหยก[1] (ค.ศ. 219 – ป. มิถุนายน ค.ศ. 278[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หฺวา เหอ (จีน: 華覈; พินอิน: Huá Hé) ชื่อรอง หย่งเซียน[b] (จีน: 永先; พินอิน: Yǒngxiān) เป็นขุนนางและนักประวัติศาสตร์ของรัฐง่อก๊กในช่วงปลายยุคสามก๊กของจีน หอกหยกรับราชการในรัชสมัยของซุนโฮจักรพรรดิองค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายของรัฐง่อก๊ก แต่สุดท้ายก็ถูกปลดจากตำแหน่งเมื่อ ค.ศ. 275 เพราะต่อต้านโยบายรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมของซุนโฮ ผลจากเรื่องนี้ทำให้หอกหยกไปใช้ชีวิตอย่างสันโดษในเวลาต่อมา

ประวัติ

[แก้]

หอกหยกเป็นชาวอำเภออู่จิ้น (武進縣 อู่จิ้นเซี่ยน) เมืองง่อกุ๋น (吳郡 อู๋จฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือเขตอู่จิ้น (武進區 อู่จิ้นชฺวี) นครฉางโจว มณฑลเจียงซู[3] หอกหยกเริ่มรับราชการในรัฐง่อก๊กในตำแหน่งนายกองช่าง-ยฺหวี (上虞尉 ช่าง-ยฺหวีเว่ย์) และนายกองร้อยนิคมการเกษตร (典農都尉 เตี่ยนหนงตูเว่ย์) ต่อมาเนื่องจากหอกหยกมีความสามารถโดดเด่นในด้านวรรณกรรม จึงได้ย้ายไปเป็นเจ้าพนักงานสำนักหอสมุดหลวง (祕府郎 มี่ฝู่หลาง) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้ช่วยราชเลขาธิการราชวัง (中書丞 จงชูเฉิง)[4]

เมื่อ ค.ศ. 252 ซุนเหลียงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 2 แห่งง่อก๊ก ทรงมีรับสั่งให้หอกหยกรวมถึงกับเหวย์ เจา (韋昭), โจว เจา (周昭), เซฺว อิ๋ง (薛瑩), เหลียง กว่าง (梁廣) และคนอื่น ๆ ร่วมกันรวบรวมตำราอู๋ชู (吳書)[5]

เมื่อ ค.ศ. 264 ซุนโฮขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิลำดับที่ 4 แห่งง่อก๊ก หอกหยกได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์สฺวีหลิงถิงโหว (徐陵亭侯)[2]

เมื่อ ค.ศ. 275 หอกหยกถูกปลดจากตำแหน่งด้วยสาเหตุจากเรื่องเล็กน้อย

เมื่อ ค.ศ. 278 หอกหยกเสียชีวิตด้วยอาการป่วยขณะมีอายุ 60 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[2]

การถวายฎีกา

[แก้]

ในช่วงที่หอกหยกรับราชการเป็นขุนนาง เคยถวายฎีกามากกว่าร้อยฉบับเพื่ออธิบายถึงข้อดีข้อเสีย

เมื่อ ค.ศ. 263 เมื่อจ๊กก๊กที่เป็นรัฐพันธมิตรของง่อก๊กถูกพิชิตโดยวุยก๊ก หอกหยกถวายฎีกาแก่ซุนฮิว จักรพรรดิลำดับที่ 3 แห่งง่อก๊กเพื่อทูลแจ้งถึงอันตราย หวังจะให้พระองค์เสริมการป้องกันเพื่อต้านการบุกของวุยก๊ก[6]

เมื่อ ค.ศ. 267 หอกหยกพร้อมด้วยลู่ ข่าย (陸凱) ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีซ้าย (左丞相 จั่วเฉิงเซี่ยง) และคนอื่น ๆ ถวายฎีกาทัดทานจักพรรดิซุนโฮไม่ให้ทรงสร้างพระราชวังเจาหมิง (昭明宫 เจาหมิงกง) แต่ฎีกาไม่ได้รับการยอมรับ[7]

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 271[c] หอกหยกทูลทัดทานซุนโฮไม่ให้นำมวลชนไปหฺวาหลี่ (華里) ซุนโฮจึงทรงยกเลิกแผนการ[9]

ในช่วงเวลานั้น หอกหยกยังเคยแนะนำบุคคลที่มีคุณธรรมความสามารถหลายครั้ง เคยถวายฎีกาแนะนำคุณความดีของลู่ อิ้น (陸胤)[10], ลู่ อี (陸禕)[11] และคนอื่น ๆ ในช่วงปลายรัชสมัย ซุนโฮทรงลงโทษขุนนางผู้ใหญ่ตามพระทัยของพระองค์ หอกหยกถวายฎีกาหลายครั้งเพื่อขอนิรโทษกรรมให้เพื่อนขุนนาง เช่น โหลว เสฺวียน (樓玄)[12], เว่ย์ เจา (韋昭),[13] เซฺว อิ๋ง (薛瑩)[14] และคนอื่น ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เจี้ยนคางฉือลู่ (建康实录) เล่มที่ 4 บันทึกว่าหอกหยกเสียชีวิตขณะอายุ 60 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในวันที่ 5 ในเดือน 5 ของศักราชเทียนจี้ (天紀) ปีที่ 2[2] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 8 มิถุนายนถึง 6 กรกฎาคม ค.ศ. 278 ในปฏิทินจูเลียส
  2. เจี้ยนคางฉือลู่ (建康实录) เล่มที่ 4 ระบุว่าชื่อรองของหอกหยกเป็น "หย่งกวาง" (永光)[2]
  3. วันสุดท้ายของเดือนหนึ่งในศักราชเจี้ยนเหิง (建衡) ปีที่ 3[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ("ครั้นอยู่มาพระเจ้าซุนโฮก็ยกไปตั้งอยู่บู๊เฉียง กะเกณฑ์ทแกล้วทหารแลอาณาประชาราษฎรไปตัดไม้มาทำวัง อาณาประชาราษฎรทั้งปวงได้ความเดือดร้อนเปนอันมาก ครั้นทำวังแล้วจึงปรึกษาด้วยหอกหยกว่า ครั้งพระเจ้าซุนฮิวยังมีพระชนม์อยู่ไม่ไว้ใจแก่ราชการ เกณฑ์ให้เตงฮองเปนนายใหญ่ออกไปตั้งค่ายอยู่ตามริมชายทเลนั้น ปราถนาจะกันกองทัพเมืองวุยก๊กไว้ แลทหารทั้งปวงเหล่านี้ก็พรั่งพร้อมกันอยู่ชอบท่วงทีแล้ว เราจะยกไปตีเมืองวุยก๊กทีเดียว หวังจะช่วยแก้แค้นพระเจ้าเล่าเสี้ยน จะยกกองทัพไปทางใดจึงจะสดวก หอกหยกจึงทูลว่า ซึ่งพระองค์จะยกกองทัพไปตีเมืองวุยก๊กนั้นข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย บัดนี้เมืองเสฉวนก็เสียแก่สุมาเจียวแล้ว สุมาเจียวมีใจกำเริบนักหมายจะยกมาตีเมืองกังตั๋งอีก ขอให้พระองค์จัดแจงป้องกันรักษาเมืองมั่นไว้ อย่าเพ่อยกไปก่อนเลย แม้พระองค์มิฟังข้าพเจ้าจะขืนยกพลทหารไปบัดนี้ ก็เหมือนหนึ่งเอาฝอยไปทุ่มเข้าที่กองเพลิง พระเจ้าซุนโฮได้ฟังดังนั้นก็โกรธ จึงว่าเราคิดอ่านจะยกไปกำจัดสุมาเอี๋ยนจะเอาฤกษ์ชัยชนะ ตัวท่านมาทัดทานเปนอปมงคลฉนี้มิชอบ หากว่าตัวท่านเปนขุนนางผู้ใหญ่มาแต่ก่อน ถ้าหาไม่เราจะประหารชีวิตเสีย ว่าดังนั้นแล้วก็ให้บูซูขับออกไปจากที่เฝ้า หอกหยกมาถึงข้างนอกแล้วก็ทอดใจใหญ่ ว่าสมบัติในเมืองกังตั๋งนานไปก็จะเปนของผู้อื่น ตั้งแต่นั้นมาหอกหยกก็บอกป่วยมิได้เข้าไปทำราชการดังแต่ก่อน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ May 6, 2025.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ([天纪]二年夏五月,右国史徐陵亭侯华覈卒。覈字永光,吴郡武进人。起家为上虞尉,以文学召入秘府。数以便宜利害事,进谏爱民省役,后主不纳。累迁东观令,领右国史。卒,时年六十。) เจี้ยนคางฉือลู่ เล่มที่ 4
  3. (華覈字永先,吳郡武進人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  4. (始為上虞尉、曲農都尉,以文學入為秘府郎,遷中書丞。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  5. (吳大帝之季年,始命太史令丁孚、郎中項峻撰《吳書》。孚、峻俱非史才,其文不足紀錄。至少帝時,更敕韋曜、周昭、薛瑩、梁廣、華覈訪求往事,相與記述。並作之中,曜、瑩為首。當歸命侯時,昭、廣先亡,曜、瑩徙黜,史官久闕,書遂無聞。覈表請召曜、瑩,續成前史,其後曜獨終其書,定為五十五卷。) ฉื่อทง เล่มที่ 12.
  6. (蜀為魏所並,核詣宮門發表曰:“間聞賊眾蟻聚向西境,西境艱險,謂當無虞。定聞陸抗表至,成都不守,臣主播越,社稷傾覆。昔衛為翟所滅而桓公存之,今道里長遠,不可救振,失委附之土,棄貢獻之國,臣以草芥,竊懷不寧。陛下聖仁,恩澤遠撫,卒聞如此,必垂哀悼。臣不勝忡悵之情,謹拜表以聞。”) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  7. (寶鼎二年,皓更營新宮,制度弘廣,飾以珠玉,所費甚多。是時盛夏興工,農守並廢,核上疏諫曰:... 書奏,皓不納。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  8. "兩千年中西曆換算". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  9. (三年春正月晦,皓舉大衆出華里,皓母及妃妾皆行,東觀令華覈等固爭,乃還。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  10. (中書丞華覈表薦胤曰:胤天姿聰朗,才通行潔,昔歷選曹,遺跡可紀。還在交州,奉宣朝恩,流民歸附,海隅肅清。蒼梧、南海,歲有舊風瘴氣之害,風則折木,飛沙轉石,氣則霧郁,飛鳥不經。自胤至州,風氣絕息,商旅平行,民無疾疫,田稼豐稔。州治臨海,海流秋咸,胤又畜水,民得甘食。惠風橫被,化感人神,遂憑天威,招合遺散。至被詔書當出,民感其恩,以忘戀土,負老攜幼,甘心景從,眾無攜貳,不煩兵衛。自諸將合眾,皆脅之以威,未有如胤結以恩信者也。銜命在州,十有餘年,賓帶殊俗,寶玩所生,而內無粉黛附珠之妾,家無文甲犀象之珍,方之今臣,實難多得。宜在輦轂,股肱王室,以贊唐虞康哉之頌。江邊任輕,不盡其才,虎林選督,堪之者眾。若召還都,寵以上司則天工畢修,庶績咸熙矣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 61.
  11. (右國史華覈表薦禕曰:"禕體質方剛,器干強固,董率之才,魯肅不過。及被召當下,逕還赴都,道由武昌,曾不回顧,器械軍資,一無所取,在戎果毅,臨財有節。夫夏口,賊之沖要,直選名將以鎮戍之,臣竊思惟,莫善於禕。")สามก๊กจี่ เล่มที่ 61.
  12. (東觀令華核上疏曰:臣竊以治國之體,其猶治家。主田野者,皆宜良信。又宜得一人總其條目,為作維綱,眾事乃理。《論語》曰:『無為而治者其舜也與!恭己正南面而己。』言所任得其人,放優遊而自逸也。今海內未定,天下多事,事無大小,皆當關聞,動經御坐,勞損聖慮。陛下既垂意博古,綜極藝文,加勤心好道,隨節致氣,宜得閑靜以展神思,呼翕清淳,與天同極。臣夙夜思惟,諸吏之中,任干之事,足委丈者,無勝於樓玄。玄清忠奉公,冠冕當世,眾服其操,無與爭先。失清者則心平而意直,忠者惟正道而履之,如玄之性,終始可保,乞陛下赦玄前愆,使得自新,擢之宰司,責其後效。使為官擇人,隨才授任,則舜之恭己,近亦可得。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  13. (而華核連上疏救曜曰:曜運值千載,特蒙哀識,以其儒學,得與史官,貂蟬內侍,承答天問,聖朝仁篤,慎終追遠,迎神之際,垂涕敕曜。曜愚惑不達。不能敷宣陛下大舜之美,而拘擊史官,使聖趣不敘,至行不彰,實曜愚蔽當死之罪,然臣慺慺,見曜自少勤學,雖老不倦,探綜墳典,溫故知新,及意所經識古今行事,外吏之中少過曜者。昔李陵為漢將,軍敗不還而降匈奴,司馬遷不加疾惡,為陵遊說,漢武帝以遷有良史之才,欲使畢成所撰,忍不加誅,書卒成立,垂之無窮。今曜在吳,亦漢之史遷也。伏見前後符瑞彰著。神指天應,繼出累見,一統之期,庶不復久。事乎之後,當觀時設制,三王不相因禮,五帝不相沿樂,質文殊塗,損益異體,宜得輩依準古義,有所改立。漢氏承秦,則有叔孫通定一代之儀,曜之才學亦漢通之次也。又《吳書》雖已有頭角,敘贊未述。昔班固作《漢書》,文辭典雅,後劉珍,劉毅等作《漢記》,遠不及固,敘傳尤劣。今年《吳書》當垂千載,編次諸吏,後之才士論次善惡,非得良才如曜者,實不可使闕不朽之書。如臣頑蔽,誠非其人。曜年已七十,餘數無幾,乞赦其一等之罪,為終身徒,使成書業,水足傳未,垂之百世。謹通進表,叩頭百下。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 65.
  14. (右國史華覈上疏曰:臣聞五帝三王皆立史官,敘錄功美,垂之無窮。漢時司馬遷、班固,咸命世大才,所撰精妙,與六經俱傳。大吳受命,建國南土。大皇帝末年,命太史令丁孚、郎中項峻始撰《吳書》。孚、峻俱非史才,其所撰作,不足紀錄。至少帝時,更差韋曜、周昭、薛瑩、梁廣及臣五人,訪求往事,所共撰立,備有本末。昭、廣先亡,曜負恩蹈罪,瑩出為將,復以過徙,其書遂委滯,迄今末撰奏。臣愚淺才劣,適可為瑩等記注而已,若使撰合,必襲孚、峻之跡,懼墜大皇帝之元功,損當世之盛美。瑩涉學既博,文章尤妙,同寮之中,瑩為冠首。今者見吏,雖多經學,記述之才,如瑩者少,是以慺慺為國惜之。實欲使卒垂成之功,編於前史之末。奏上之後,退填溝壑,無所復恨。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 53.

บรรณานุกรม

[แก้]