หวง เหรินซวิน
หวง เหรินซวิน | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
黃仁勳 | |||||||||||||||||||||||||
![]() หวงในปี ค.ศ. 2023 | |||||||||||||||||||||||||
เกิด | หวง เหรินซวิน 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963 ไทเป, ไต้หวัน | ||||||||||||||||||||||||
พลเมือง |
| ||||||||||||||||||||||||
การศึกษา | |||||||||||||||||||||||||
อาชีพ |
| ||||||||||||||||||||||||
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ร่วมก่อตั้ง เอ็นวิเดีย | ||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | ประธานและซีอีโอของ Nvidia Corporation (ค.ศ. 1993–ปัจจุบัน) | ||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | ลอรี หวง (สมรส 1985) | ||||||||||||||||||||||||
บุตร | 2 | ||||||||||||||||||||||||
ญาติ | ลิซ่า ซู (ลูกพี่ลูกน้อง) | ||||||||||||||||||||||||
รางวัล | IEEE Founders Medal (ค.ศ. 2020) VinFuture Prize (ค.ศ. 2024) รางวัลเอดิสัน (ค.ศ. 2024) รางวัลวิศวกรรมเอมมี่ (ค.ศ. 2024) | ||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 黃仁勳 | ||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 黄仁勋 | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | nvidia.com | ||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
หวง เหรินซวิน (จีนตัวย่อ: 黄仁勋; จีนตัวเต็ม: 黃仁勳; พินอิน: Huáng Rénxūn; เป่อ่วยยี: N̂g Jîn-hun; เกิด 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1963) หรือ เจนซุน "เจ็นเซิน" หวง (Jen-Hsun "Jensen" Huang[a]) เป็นนักธุรกิจ วิศวกรไฟฟ้า และผู้ใจบุญชาวไต้หวัน-อเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง รวมถึงซีอีโอของเอ็นวิเดียบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[2] ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2025 นิตยสาร ฟอบส์ ได้ประเมินทรัพย์สินของเขาไว้ที่ 130.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก[3]
หวงเกิดในครอบครัวผู้อพยพชาวไต้หวัน-อเมริกัน โดยเขาเติบโตในไต้หวันและประเทศไทย ก่อนจะย้ายไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขาเคยศึกษาอยู่ในรัฐ เคนทักกี และ โอเรกอน หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาได้ก่อตั้งบริษัทเอ็นวิเดียในปี ค.ศ. 1993 จากร้านอาหารเดนนีส์แห่งหนึ่งขณะอายุ 30 ปี และดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หวงได้นำบริษัทให้ผ่านพ้นช่วงใกล้ล้มละลายช่วงปี ค.ศ. 1990 และขยายกิจการไปยังการผลิต หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และ ปัญญาประดิษฐ์
ภายใต้การนำของหวง เอ็นวิเดียเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงยุคบูมของเอไอ และมีมูลค่าตลาดถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงหน้าไมโครซอฟต์, แอมะซอน และเมตาแพลตฟอร์ม[4] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 เอ็นวิเดียได้แซงหน้าไมโครซอฟต์กลายเป็น "บริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก" ด้วยมูลค่าตลาด 3.34 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] ในปี ค.ศ. 2021 และ ค.ศ. 2024 นิตยสารไทม์ ได้ยกย่องหวงให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Huang, Jen-Hsun (April 5, 1993). "Articles of Incorporation of NVidia Corporation". bizfile online. California Secretary of State. สืบค้นเมื่อ October 11, 2024.
- ↑ Nimmo, Jamie (July 4, 2020). "'It would be a tragedy if ARM did not move into the new era,' says Nvidia boss Jensen Huang". The Sunday Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2024. สืบค้นเมื่อ April 27, 2024.
- ↑ "Jensen Huang: CEO & President, NVIDIA". Forbes. January 7, 2025. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-12-10. สืบค้นเมื่อ 23 December 2024.
- ↑ Kim, Tae (November 14, 2024). "How Jensen Huang Built Nvidia Into the $3 Trillion King of AI: Nvidia's CEO turned a struggling upstart into the world's most valuable company. It took 30 years". Barron's (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-23.
- ↑ Wodecki, Ben (June 19, 2024). "Nvidia Becomes Most Valuable Company in the World, Overtakes Microsoft". AI Business.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- Kae, Tim (10 ธันวาคม 2024). The Nvidia Way: Jensen Huang and the Making of a Tech Giant. W. W. Norton & Company. ISBN 978-1324086710.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "An Interview with Jen Hsun Huang". Wired, กรกฎาคม 2002. เล่ม 10, ฉบับที่ 7.
- ประวัติย่อของ Nvidia
- Jen-Hsun Huang (2015). "GPU Technology Conference 2015 - Leaps in Visual Computing". สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2015.