หลี่ จงเหริน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
หลี่ จงเหริน | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
李宗仁 | |||||||||||||||
![]() หลี่ ใน ค.ศ. 1943 | |||||||||||||||
รักษาการประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 21 มกราคม ค.ศ. 1949 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 | |||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | เหอ ยิ่งชิน หยาน ซีชาน | ||||||||||||||
รองประธานาธิบดี | ตัวเอง | ||||||||||||||
ก่อนหน้า | เจียง ไคเชก (ประธานาธิบดี) | ||||||||||||||
ถัดไป | หยาน ซีชาน | ||||||||||||||
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน คนที่ 1 | |||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 – 12 มีนาคม ค.ศ. 1954 | |||||||||||||||
ประธานาธิบดี | เจียง ไคเชก ตัวเอง (รักษาการ) | ||||||||||||||
ก่อนหน้า | เฝิง กั๋วจาง (ค.ศ. 1917) | ||||||||||||||
ถัดไป | เฉิน เฉิง | ||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||
เกิด | 13 สิงหาคม ค.ศ. 1890 กุ้ยหลิน มณฑลกว่างซี จักรวรรดิชิง | ||||||||||||||
เสียชีวิต | 30 มกราคม ค.ศ. 1969 ปักกิ่ง ประเทศจีน | (78 ปี)||||||||||||||
พรรคการเมือง | ก๊กมินตั๋ง | ||||||||||||||
คู่สมรส | หลี่ ซิ่วเหวิน กัว เต๋อเจี๋ย (สมรส ค.ศ. 1924–1966) หู โหย่วซง (สมรส ค.ศ. 1966–1969) | ||||||||||||||
รางวัล | เครื่องอิสริยาภรณ์ท้องฟ้าสีครามกับตะวันสาดส่อง เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆากับผืนธง | ||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||
รับใช้ | ![]() | ||||||||||||||
สังกัด | ![]() | ||||||||||||||
ประจำการ | ค.ศ. 1916–1954 | ||||||||||||||
ยศ | ![]() | ||||||||||||||
ผ่านศึก | สงครามกลางเมืองจีน สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง | ||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 李宗仁 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ชื่อรอง | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 李德鄰 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 李德邻 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
หลี่ จงเหริน (จีน: 李宗仁; 13 สิงหาคม ค.ศ. 1890 – 30 มกราคม ค.ศ. 1969) หรือชื่อรอง เต๋อหลิน (Te-lin; 德鄰) เป็นนายพลชาวจีนและสมาชิกก๊กมินตั๋ง เขาดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนคนแรกหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1947 ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1954 และรักษาการประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1949 ระหว่างสงครามกลางเมืองจีน ในสมัยขุนศึก เขาเป็นขุนศึกที่นำก๊กกว่างซีใหม่และมีส่วนร่วมในการกรีธาทัพขึ้นเหนือต่อต้านรัฐบาลเป่ย์หยาง
หลี่เกิดที่กุ้ยหลิน มณฑลกว่างซี (ปัจจุบันคือเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง) ต่อมาเมื่ออายุได้ 18 ปี หลี่เข้าร่วมโรงเรียนการทหารประจำมณฑล และรับราชการทหารในเวลาต่อมา หลี่ก้าวหน้าในตำแหน่งอย่างรวดเร็วและกลายเป็นผู้บัญชาการทหารคนสำคัญในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน เขาเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีส่วนร่วมในการกรีธาทัพขึ้นเหนือของก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นการรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลชาตินิยม ด้วยทักษะทางทหารและความเป็นผู้นํา ทําให้เขาเป็นบุคคลที่มีอํานาจในก๊กมินตั๋ง ซึ่งเขามักจะปะทะกับเจียง ไคเชกเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการเมืองและการทหาร
ในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1937–1945) หลี่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติสำหรับการนำกองทัพจีนให้ได้รับชัยชนะใน Battle of Taierzhuang ที่ดำเนินขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1938 ซึ่งเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของญี่ปุ่น เขายังคงมีบทบาททางทหารต่าง ๆ ตลอดสงคราม แม้ว่าความสัมพันธ์ของเขากับเจียงจะยังคงตึงเครียดก็ตาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลี่ได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1948 ต่อมาเมื่อสงครามกลางเมืองจีนทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เจียงลาออกในปี 1949 หลี่จึงเข้ารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วครู่ ในขณะเดียวกัน เขาก็พยายามเจรจาสันติภาพกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านั้นกลับล้มเหลวและรัฐบาลชาตินิยมก็ล่าถอยไปที่ไต้หวัน
หลังจากลงจากตำแหน่ง หลี่เดินทางลี้ภัยไปยังสหรัฐก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาตัดสินใจกลับมาที่จีนแผ่นดินใหญ่ใน ค.ศ. 1965 โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ เขาพำนักอยู่ที่กรุงปักกิ่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1969
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Barnouin, Barbara and Yu Changgen. Zhou Enlai: A Political Life. Hong Kong: Chinese University of Hong Kong, 2006. ISBN 962-996-280-2. Retrieved at <Zhou Enlai: A Political Life> on March 12, 2011.
- Bonavia, David. China's Warlords. New York: Oxford University Press. 1995. ISBN 0-19-586179-5
- Gillin, Donald G. "Portrait of a Warlord: Yen Hsi-shan in Shansi Province, 1911-1930." The Journal of Asian Studies. Vol. 19, No. 3, May, 1960. Retrieved at: <The Journal of Asian Studies, Vol. 19, No. 3 (May, 1960), pp. 289-306> on February 23, 2011
- Gillin, Donald G. Warlord: Yen Hsi-shan in Shansi Province 1911-1949. Princeton, New Jersey: Princeton University Press. 1967.
- Li Zongren, Li Tsung-jen, Tong Te-kong. The memoirs of Li Tsung-jen. Boulder, Colo.: Westview Press. 1979. ISBN 0-89158-343-2.
- Spence, Jonathan D. The Search for Modern China, W.W. Norton and Company. 1999. ISBN 0-393-97351-4.
- "CHINA: Return of the Gimo". TIME Magazine. Monday, Mar. 13, 1950. Retrieved at <CHINA: Return of the Gimo - TIME> on May 16, 2011.
- Jeffrey G. Barlow, THE ZHUANG: ETHNOGENESIS, December 12, 2005 COPYRIGHT, JEFFREY G. BARLOW, Department of History, Pacific University, 2043 College Way, Forest Grove, Oregon, 97116, EMAIL barlowj@pacificu.edu