ลิเงียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หลี่เอี๋ยน)
ลิเงียม (หลี่ เหยียน)
李嚴
ขุนพลพิทักษ์ส่วนกลาง (中都護 จงตูฮู่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 230 (230) – กันยายนหรือตุลาคม ค.ศ. 231 (231)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลทหารม้าทะยาน
(驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
230
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลทัพหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 226 (226) – ค.ศ. 230 (230)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
เสนาบดีกรมวัง (光祿勳 กวางลู่ซฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 226 (226) – ค.ศ. 230 (230)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
หัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 222 (222) – ค.ศ. 223 (223)
กษัตริย์เล่าปี่
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลผู้ช่วยเหลือราชวงศ์ฮั่น
(輔漢將軍 ฝู่ฮั่นเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 218 (218) – ค.ศ. 222 (222)
ขุนพลผู้ฟื้นฟู (興業將軍 ซิงเย่เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. 218 (218)
เจ้าเมืองเฉียนเว่ย์ (犍為太守 เฉียนเว่ย์ไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 214 (214) – ค.ศ. 218 (218)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครหนานหยาง มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิตค.ศ. 234
อำเภอจื่อถง มณฑลเสฉวน
บุตรลิอ๋อง
อาชีพขุนพล
ชื่อรองเจิ้งฟาง (正方)
ชื่ออื่นหลี่ ผิง (李平)
บรรดาศักดิ์ตูเซียงโหว
(都鄉侯)
รูปลิเงียมจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI

ลิเงียม หรือ ลิเหยียม (เสียชีวิต ป. ตุลาคม ค.ศ. 234[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หลี่ เหยียน (จีน: 李嚴; พินอิน: Lǐ Yán) ชื่อรอง เจิ้งฟาง (จีน: 正方; พินอิน: Zhèngfāng) มีอีกชื่อว่า หลี่ ผิง (จีน: 李平; พินอิน: Lǐ Píng) เป็นขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน ลิเงียมขึ้นถึงจุดสูงสุดในราชการเมื่อได้รับการตรัสฝากฝังจากเล่าปี่จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กให้เป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดทางการทหาร และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับจูกัดเหลียงให้กับเล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสและรัชทายาท หลังการสวรรคตของเล่าปี่ ลิเงียมได้รับยศเป็นขุนพลทัพหน้าซึ่งเคยดำรงตำแหน่งล่าสุดโดยกวนอูถึงปี ค.ศ. 220 ลิเงียมรับราชการในช่วงกลางและปลายทศวรรษ 220 ในฐานะแม่ทัพภูมิภาคในแนวรบด้านตะวันออกร่วมกับเฉิน เต้าที่เป็นรองแม่ทัพ ลิเงียมไม่เคยเผชิญการยุทธการครั้งใหญ่ขณะดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ 230 ช่วงระหว่างการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงครั้งที่ 4 ลิเงียมได้รับยศสูงขึ้นเป็นขุนพลทหารม้าทะยาน โดยเป็นฐานะเป็นรองเพียงจูกัดเหลียง ลิเงียมได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการขนส่งเสบียง แต่ลิเงียมไม่สามารถขนส่งเสบียงให้กับทัพของจูกัดเหลียงได้ทันเวลา ลิเงียมพยายามปกปิดความผิดพลาดของตนด้วยวิธีการหลอกลวง เป็นผลทำให้ลิเงียมถูกปลดจากตำแหน่งและอำนาจ

ประวัติและการรับราชการช่วงต้น[แก้]

ลิเงียมในวัยเยาว์รับราชการเป็นเสมียนในมณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลหูเป่ย์และมณฑลหูหนานในปัจจุบัน) โดยอยู่ภายใต้เล่าเปียวเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว และมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีความสามารถ เมื่อขุนศึกโจโฉเริ่มการทัพบุกใต้ในปี ค.ศ. 208 เพื่อยึดครองมณฑลเกงจิ๋ว ลิเงียมได้ลี้ภัยออกจากมณฑลเกงจิ๋วเข้าไปยังมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเล่าเจี้ยง[2]

เล่าเจี้ยงตั้งให้ลิเงียมเป็นนายอำเภอเซงโต๋ ลิเงียมขึ้นมามีชื่อเสียงระหว่างดำรงตำแหน่งใหม่นี้ ต่อมาเมื่อขุนศึกเล่าปี่นำทัพบุกมณฑลเอ๊กจิ๋ว ลิเงียมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมทัพ ลิเงียมควรจะเป็นผู้ขับไล่ทัพเล่าปี่ที่บุกมาที่กิมก๊ก ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญก่อนเข้าเซงโต๋นครหลวงของเอ๊กจิ๋ว แต่ลิเงียมกำลังนำผู้ใต้บังคับบัญชาสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่เมื่อเล่าปี่มาถึง ลิเงียมได้นับการแต่งตั้งให้เป็นรองขุนพล[3]

รับราชการกับเล่าปี่[แก้]

หลังจากเล่าปี่ยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋ว ลิเงียมได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเฉียนเว่ย์ (犍為郡 เฉียนเว่ย์จฺวิ้น) และขุนพลผู้ฟื้นฟู (興業將軍 ซิงเย่เจียงจฺวิน) เพื่อเป็นการเสริมความมั่นคงของระบอบปกครองใหม่ แม้ว่าลิเงียมจะเป็นผู้เข้าร่วมใหม่ แต่ก็ได้รับเชิญให้ร่วมร่างฉู่เคอ (蜀科; ประมาลกฎหมายของภูมิภาคจ๊ก) ร่วมกับจูกัดเหลียง หวดเจ้ง อีเจี้ย และเล่าป๋า (ฉู่เคอเป็นแนวทางที่สำคัญที่สุดสำหรับระบบกฎหมายของรัฐจ๊กก๊กในเวลาต่อมา)[4] ลิเงียมยังคงแสดงความสามารถในฐานะเจ้าเมือง มีการริเริ่มและดำเนินการโครงการโยธาที่สำคัญหลายโครงการภายใต้การนำของลิเงียม ได้แก่ การขุดอุโมงค์ผ่านภูเขาเทียนเช่อ (天社) การซ่อมแซมถนนเลียบแม่น้ำ การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตอำนาจ ราษฎรภายในการปกครองของลิเงียมต่างยินดี อย่างไรก็ตาม ลิเงียมก็เริ่มแสดงถึงข้อเสียในเรื่องความสัมพันธ์กับเหล่าข้าราชการภายใน เอียวฮอง หัวหน้าเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยของลิเงียมคัดค้านเรื่องโครงการก่อสร้างหนึ่งของลิเงียมคือการย้ายที่ว่าการเมือง ลิเงียมปฏิเสธที่จะฟังคำทัดทานของเอียวฮอง เอียวฮองจึงลาออกจากตำแหน่งหลังคัดค้านแผนของลิเงียมอยู่หลายครั้ง[5] หวาง ชง (王沖) ขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง) ภายใต้ลิเงียม แปนพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊ก เพราะลิเงียมไม่ชอบหวาง ชง ทำให้หวาง ชงกลัวจะถูกลงโทษ[6]

ในปี ค.ศ. 218 ระหว่างที่เล่าปี่กำลังรบของโจโฉเพื่อช่วงชิงเมืองฮันต๋ง ผู้นำกลุ่มโจรหม่า ฉิน (馬秦) และเกา เชิ่ง (高勝) ก่อกบฏเข้าชิงอำเภอจือจง (資中) และรวบรวมผู้คนหลายหมื่นคนให้เข้าร่วมในการก่อการ เนื่องจากเวลานั้นกองกำลังส่วนใหญ่อยู่ที่แนวหน้าของเมืองฮันต๋ง ลิเงียมจึงระดมกองกำลังป้องกันในท้องถิ่นของเมืองเฉียนเว่ย์ได้เพียง 5,000 นาย แต่ก็สามารถปราบกบฏลงได้สำเร็จและนำความสงบเรียบร้อยกลับสู่ผู้คน[7] โกเตงผู้นำชนเผ่าโส่ว (叟)[8] ก็ถือโอกาสนี้เข้าโจมตีอำเภอซินเต้า (新道縣 ซินเต้าเซี่ยน) แต่ลิเงียมนำกองกำลังเข้าปกป้องอำเภอซินเต้าและขับไล่การรุกรานของโกเตงไปได้สำเร็จ จากความดีความชอบนี้ลิเงียมจึงได้เลื่อนขึ้นเป็นขุนพลผู้ช่วยเหลือราชวงศ์ฮั่น (輔漢將軍 ฝู่ฮั่นเจียงจฺวิน)[9]

ในปี ค.ศ. 222 เล่าปี่จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กพ่ายแพ้ยับเยินต่อซุนกวนขุนศึกทางตะวันออกในยุทธการที่อิเหลงและสวรรคตหลังจากนั้นไม่นานที่เป๊กเต้เสีย ในปีนั้นเล่าปี่ได้เรียกลิเงียมมาที่เป๊กเต้เสียและเลื่อนตำแหน่งให้ลิเงียมเป็นหัวหน้าสำนักราชเลขาธิการ (尚書令 ช่างชูลิ่ง)[10] ขณะประชวรใกล้สวรรคต เล่าปี่ตรัสขอให้ลิเงียมเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับจูกัดเหลียงเพื่อช่วยเหลือโอรสเล่าเสี้ยน และตั้งให้ลิเงียมเป็นขุนพลพิทักษ์ส่วนกลาง (中都護 จงตูฮู่) เพื่อจัดการเริ่องการทหารทั้งหมด ทั้งทหารราชองครักษ์และทหารทั่วไปให้อยู่ใต้การบังคับบัญชาของลิเงียม และยังมอบหมายให้รักษาป้องกันอำเภอเตงอั๋น (永安縣 หย่งอานเซี่ยน; ปัจจุบันคืออำเภอเฟิ่งเจี๋ย นครฉงชิ่ง) ใกล้กับชายแดนระหว่างจ๊กก๊กและง่อก๊กที่เป็นรัฐพันธมิตร[11] ตามคำตรัสฝากฝังของเล่าปี่แล้ว ลิเงียมควรจะได้กุมอำนาจสูงสุดทางการทหารในจ๊กก๊ก เล่าปี่เลือกให้เป็นลิเงียม เพราะในปี ค.ศ. 223 ขุนนางมณฑลเอ๊กจิ๋วดั้งเดิมที่น่าจะได้รับตำแหน่งอย่างหวดเจ้งและตั๋งโหต่างก็เสียชีวิตแล้ว ส่วนอุยก๋วนสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊กตั้งแต่ปีก่อน และงออี้ก็ได้รับการพิจารณาว่าความสามารถไม่เทียบเท่าลิเงียม

รับราชการกับเล่าเสี้ยน[แก้]

ในฐานะผู้สำเร็จราชการร่วม[แก้]

เมื่อยงคีผู้นำท้องถิ่นในภูมิภาคหนานจงเริ่มก่อกบฏตั้งตนเป็นอิสระจากการปกครองของจ๊กก๊ก ลิเงียมพยายามจะใช้อิทธิพลของตนเองไปโน้มน้าวไม่ให้ยงคีก่อกบฏ โดยเขียนจดหมายถึงยงคีทั้งหมด 6 ฉบับแต่ก็ไม่เป็นผล โกเตงและเบ้งเฮ็กก็เข้าร่วมในการก่อกบฏเช่นกัน ทำให้จูกัดเหลียงต้องใช้กำลังทหารในการดำเนินการตอบโต้[12]

หลังจากจูกัดเหลียงประสบความสำเร็จในปราบกบฏทางใต้และฟื้นฟูความเป็นพันธมิตรระหว่างง่อก๊กและจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงจึงใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเมืองอันมหาศาลของตนในการจัดการทรัพยากรบุคคลหลายครั้ง หลังกำหนดให้ขุนนางหลายคนเป็นขุนนางมหาดเล็กของจักรพรรดิเล่าเสี้ยน จูกัดเหลียงก็ยังคงใช้ความพยายามอย่างมากในการกระชับความสัมพันธ์กับง่อก๊ก ตันจิ๋นขุนนางคนสนิทของจูกัดเหลียงได้รับเลือกให้เป็นทูตไปแสดงมุทิตาจิตต่อการขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิของซุนกวนในปี ค.ศ. 229 ตันจิ๋นบอกจูกัดเหลียงว่า "เจิ้งฟาง[b]มีเกล็ดอยู่ในท้อง"[c] แต่จูกัดเหลียงบอกว่าตนอยากจะยกย่องลิเงียมมากกว่าจะเล่นงานลิเงียม เพราะสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย

ราวปี ค.ศ. 226 ลิเงียมได้เลื่อนขั้นเป็นเสนาบดีกรมวัง (光祿勳 กวางลู่ซฺวิน) และได้รับบรรดาศักดิ์ระดับตูเซียงโหว (都鄉侯) ในปีเดียวกัน ลิเงียมได้รับยศใหม่เป็นขุนพลทัพหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน)[14] ภายหลังจูกัดเหลียงพยายามให้ลิเงียมมาแทนที่อุยเอี๋ยนซึ่งมีตำแหน่งแม่ทัพภูมิภาคแห่งฮันต๋งที่ได้รับการแต่งตั้งจากเล่าปี่ ลิเงียมเป็นรักษาการแม่ทัพภูมิภาคในแนวหน้าด้านตะวันออกในเวลานั้น ดังนั้นการโยกย้ายจากตะวันออกไปทางเหนือโดยหลักการแล้วจึงไม่เป็นการเลื่อนตำแหน่ง แต่ลิเงียมไม่ตระกหนักรู้ในเรื่องนี้ ในทางกลับกัน ลิเงียมเสนอกับจูกัดเหลียงให้ก่อตั้งมณฑลใหม่เป็นมณฑลปาโจวอันประกอบด้วย 5 เมืองและเสนอตนเป็นข้าหลวงของมณฑลปาโจวที่จะตั้งขึ้นใหม่นี้ แต่จูกัดเหลียงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของลิเงียม แต่ลิเงียมก็ยังได้รับมอบหมายให้ไปประจำอยู่ที่กังจิว (江州 เจียวโจว; ปัจจุบันคือนครฉงชิ่ง)[15] ในปีถัด ๆ มา ลิเงียมและจูกัดเหลียงมีความสัมพันธ์ในเชิงคู่แข่งแต่ก็ยังให้ความร่วมกัน

ในจดหมายที่ลิเงียมส่งถึงเบ้งตัดผู้แปรพักตร์ไปเข้าด้วยวุยก๊ก ได้เขียนว่าทั้งจูกัดเหลียงและตนต่างก็ได้ความไว้วางใจให้ปฏิบัติงานอันยากลำบากและมีความรับผิดชอบมากมายตามมา แต่ก็ยังโชคดีที่มีผู้ร่วมงานที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้[16] ฝ่ายจูกัดเหลียงก็เขียนจดหมายถึงเบ้งตัด มีเนื้อความยกย่องความสามารถและความประพฤติของลิเงียม[17] ครั้งหนึ่งลิเงียมส่งจดหมายถึงจูกัดเหลียง เสนอว่าจูกัดเหลียงควรรับเครื่องยศเก้าประการและขึ้นเป็นอ๋องในจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงตอบว่าตนจะทำเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อจ๊กก๊กเอาชนะวุยก๊กที่เป็นรัฐอริได้เท่านั้น จดหมายเขียนไว้ว่า:

“ท่านกับข้าพเจ้าต่างก็รู้จักกันมาช้านานแล้ว แต่ยังคงไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน! ภารกิจของท่านควรจะสนับสนุนการฟื้นฟูรัฐและกังวลถึงแนวทางที่ไม่เหมาะสม ข้าพเจ้าจึงไม่อาจนิ่งเฉยได้ ตอนแรกข้าพเจ้าเป็นเพียงคนต้อยต่ำจากภูมิภาคตะวันออก จักรพรรดิองค์ก่อนก็ยกย่องความความสามารถของข้าพเจ้าเกินจริงจนบัดนี้ข้าพเจ้ามีตำแหน่งสูงสุดในเหล่าขุนนางแล้ว เบี้ยหวัดและของพระราชทานที่ข้าพเจ้าได้รับมากเกินไปนัก ในยามนี้การปราบกบฏยังไม่บรรลุผลสำเร็จ ท่านผู้เข้าใจว่างานของเรายังดำเนินต่อสนับสนุนเราให้รับความโปรดปรานและตำแหน่งรุ่งโรจน์อันไม่ควรได้รับ นี่ไม่ใช่วิถีแห่งผู้ทรงธรรม บัดนี้หากเราปราบกบฏและสังหารโจยอยให้ฝ่าบาทคืนสู่ราชบัลลังก์ ทั้งท่านและข้าพเจ้าก็จะรุ่งเรืองด้วยกัน หากเป็นเช่นนั้นแล้วข้าพเจ้าก็อาจจะรับเครื่องยศถึงสิบประการ ไม่เพียงแค่เก้า!”[18]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 230 โจจิ๋นขุนพลวุยก๊กยกทัพเข้ารบกับจ๊กก๊กเป็นการตอบโต้การโจมตีของจูกัดเหลียงก่อนหน้านี้ จูกัดเหลียงให้ลิเงียมนำกองกำลัง 20,000 นายไปป้องกันการบุกของวุยก๊ก แต่ลิเงียมไม่ต้องการออกจากฐานที่มั่นในกังจิวไปอยู่ภายใต้การบัญชาของจูกัดเหลียง ลิเงียมจึงบอกจูกัดเหลียงว่าตนควรมีสิทธิ์เปิดสำนัก (เหมือนกับจูกัดเหลียง) ในฐานะผู้สำเร็จราชการร่วม จูกัดเหลียงปฏิเสธคำขอของลิเงียม แต่ยังคงปลอบใจลิเงียมโดยให้ลิอ๋องผู้เป็นบุตรชายของลิเงียมมาทำหน้าที่แทนลิเงียมภายใต้เงื่อนไขว่าลิเงียมต้องตามมาอยู่เมืองฮันต๋ง ในที่สุดลิเงียมจึงไปยังเมืองฮันต๋งภายใต้การโน้มน้าวและแรงกดดันจากจูกัดเหลียง[19]

ในฐานะเจ้าหน้าที่ขนส่งเสบียง[แก้]

หลังการโจมตีของวุยก๊กชะงักลงเพราะฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ลิเงียมไม่ได้รับอนุญาตให้กลับไปทางตะวันตก แต่จูกัดเหลียงก็รับลิเงียมเข้าอยู่ในคณะมนตรี อนุญาตให้ลิเงียมเข้ามาในสำนักอัครมหาเสนาบดีเพื่อช่วยในการเตรียมการการทัพกับวุยก๊กในอนาคต ลิเงียมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "หลี่ ผิง" (李平) ยอมรับแผนการศึกของจูกัดเหลียง และรับบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่ขนส่งเสบียงสำหรับการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงครั้งที่ 4[20]

ในระหว่างการบุกขึ้นเหนือครั้งที่ 4 ดำเนินไปเป็นเวลาหลายเดือน จูกัดเหลียงและสุมาอี้ขุนพลวุยก๊กทำการรบหลายครั้งโดยรอบเขากิสาน และทั้งสองฝ่ายก็ต้องการเสบียงมาเสริม แต่เกิดฝนตกหนักทำให้เส้นทางคมนาคมไม่สามารถสัญจรได้ ลิเงียมจึงไม่สามารถจัดส่งเสบียงไปยังค่ายจูกัดเหลียงได้ทันกาล แต่แทนที่ลิเงียมจะทูลชี้แจงสถานการณ์กับจักรพรรดิเล่าเสี้ยน ลิเงียมกลับพยายามปกปิดความล้มเหลวของตน ลิเงียมส่งหู จง[d] (狐忠) ที่ปรึกษาทัพ (參軍 ชานจฺวิน) และเฉิง ฟาน (成藩) ผู้ตรวจการทัพ (督軍 ตูจฺวิน) ให้นำจดหมายไปให้จูกัดเหลียง แจ้งเรื่องเรื่องปัญหาการจัดส่งเสบียง และขอให้จูกัดเหลียงถอนทัพกลับ เมื่อจูกัดเหลียงกลับมาถึงฮันต๋ง ลิเงียมกลับบอกว่าเสบียงอาหารก็พร้อมแล้ว และถามว่าทำไมจูกัดเหลียงจึงถอยทัพ ในเวลาเดียวกัน ลิเงียมถวายฎีกาถึงจักรพรรดิเล่าเสี้ยนว่า "กองทัพแสร้งทำเป็นล่าถอยเพื่อลวงข้าศึกให้เข้าสู้รบ" ด้วยหวังว่าจูกัดเหลียงจะดำเนินการทำศึกต่อไป จะได้ไม่สังเกตถึงความผิดพลาดของลิเงียมในการขนส่งเสบียง[21]

อย่างไรก็ตาม จูกัดเหลียงงดการทัพและกลับมาที่เซงโต๋เพื่อสะสางกับลิเงียม ระหว่างเดินทางออกจากเมืองฮันต๋งกลับไปยังเซงโต๋ จูกัดเหลียงไม่ตำหนิลิเงียม แต่ก็แอบเก็บจดหมายของลิเงียมไว้ เมื่อจูกัดเหลียงเข้าเฝ้าจักรพรรดิเล่าเสี้ยนที่พระราชวัง จูกัดเหลียงถวายจดหมายลายมือลิเงียมให้เล่าเสี้ยน ลิเงียมจึงไม่อาจปฏิเสธความผิดของตนได้ จากนั้นจูกัดเหลียงทูลขอให้เล่าเสี้ยนปลดลิเงียมออกจากทุกตำแหน่งและเนรเทศไปอยู่เมืองจื่อถง (梓潼) ลิเงียมใช้ชีวิตที่เหลือในฐานะพลเรือนที่เมืองจื่อถงจนกระทั่งได้ยินข่าวการเสียชีวิตของจูกัดเหลียงในปี ค.ศ. 234 หลังจากนั้นลิเงียมก็ล้มป่วยและเสียชีวิต ลิเงียมคาดหวังอยู่เสมอว่าจูกัดเหลียงจะยกโทษให้ตนและรับตนกลับเข้าทำราชการอีกครั้ง โดยคิดว่าขุนนางที่จะมาแทนที่จูกัดเหลียงจะไม่รับตนกลับเข้าทำราชการ ลิเงียมจึงรู้สึกเจ็บปวดและขัดเคืองมากเมื่อได้ยินว่าจูกัดเหลียงเสียชีวิต[22][23] หลังลิเงียมถูกปลดจากตำแหน่ง จูกัดเหลียงยังคงช่วงใช้ลิอ๋อง (李豐 หลี่ เฟิง) บุตรชายของลิเงียม และสนับสนุนให้ลิอ๋องทำราชการเป็นอย่างดีภายใต้การกำกับของเจียวอ้วน เพื่อที่ว่าลิอ๋องอาจจะช่วยกู้เกียรติของบิดาคืนมา หลังการเสียชีวิตของลิเงียม ลิอ๋องขึ้นมามีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองจูถี (朱提太守 จูถีไท่โฉ่ว)[24][25]

สี จั้วฉื่อให้ความเห็นในเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของลิเงียมและการใช้กฎหมายของจูกัดเหลียงว่า:

"ในสมัยโบราณ เนื่องจากพบว่าตระกูลปั๋ว (伯氏 ปั๋วชื่อ) มีความผิดตามกฎหมาย เจ๋ฮวนก๋ง (斉桓公 ฉีหฺวานกง) จึงให้ขวันต๋ง (管仲 กว่าน จ้ง) เข้ายึดสามร้อยครัวเรือนของตระกูลปั๋ว แต่เพราะการบังคับใช้กฎหมายของขวันต๋งมีความยุติธรรม ตระกูลปั๋วจึงไม่เคยโทษขวันต๋ง ผู้ทรงปัญญาเห็นว่าทัศนคตินี้มีคุณค่าและยกย่องขวันต๋งในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม เทียบกับเรื่องนี้แล้ว การเสียชีวิตของจูกัดเหลียงทำให้เลี่ยว ลี่ (廖立) หลั่งน้ำตา และทำให้หลี่ ผิง[e] (李平) ถึงแก่ความตายด้วยความสิ้นหวัง แม้ว่าจูกัดเหลียงคือผู้รับผิดชอบต่อการถูกปลดออกจากราชการของทั้งคู่ก็ตาม สายน้ำแม้คดเคี้ยวแต่ยังคงสม่ำเสมอ กระจกแม้แสดงความอัปลักษณ์แต่ก็สะท้อนอย่างตรงไปตรงมา ทั้งสายน้ำและกระจกต่างก็เผยสิ่งที่ถูกปกปิดโดยไม่ถูกตำหนิ ทั้งนี้เพราะปราศจากอัตตา สายน้ำและกระจกไม่มีอัตตา จึงหลีกเลี่ยงการใส่ร้ายได้ ดังนั้นยิ่งการเป็นยากสำหรับผู้อยู่ในตำแหน่งสูงในการใช้อำนาจต่อผู้คนให้ยอมรับคำตัดสินต่อผู้อื่น การเลื่อนตำแหน่งผู้คนให้อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจโดยที่ยังไม่มีอัตตา ประกาศตัดสินโทษต่อผู้คนโดยที่ยังไม่มีโทสะ ใครบ้างที่สามารถกระทำเช่นนี้และหลีกเลี่ยงความขุ่นเคืองในใต้ฟ้า จูกัดเหลียงจึงควรได้รับการยกย่องในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋นถึงราชวงศ์ฮั่น มีน้อยคนนักที่จะเทียบเท่าได้"[26]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ชีวประวัติจูกัดเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊กระบุว่าจูกัดเหลียงเสียชีวิตในเดือน 8 ของศักราชเจี้ยนซิงปีที่ 12 ในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน ถึง 10 ตุลาคม ค.ศ. 234 ในปฏิทินจูเลียน[1] เนื่องจากลิเงียมเสียชีวิตหลังจากจูกัดเหลียงไม่นาน วันที่ลิเงียมเสียชีวิตจึงควรอยู่ในราวเดือนตุลาคม ค.ศ. 234
  2. ชื่อรองของลิเงียม
  3. คำพูดดั้งเดิมของตันจิ๋นคือ "(李)正方腹中有鱗甲" ซึ่งจูกัดเหลียงตีความได้ว่า "ลิเงียมฉุนเฉียวได้ง่าย"[13]
  4. อาจเป็นบุคคลเดียวกันกับม้าตง (馬忠 หม่า จง) ซึ่งเดิมมีชื่อสกุลว่า "หู" (狐)
  5. ชื่อในภายหลังของลิเงียม

อ้างอิง[แก้]

  1. ([建興]十二年 ... 其年八月,亮疾病,卒于軍,時年五十四。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 35.
  2. (李嚴字正方,南陽人也。少為郡職吏,以才幹稱。荊州牧劉表使歷諸郡縣。曹公入荊州時,嚴宰秭歸,遂西詣蜀,) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  3. (劉璋以為成都令,復有能名。建安十八年,署嚴為護軍,拒先主於綿竹。嚴率眾降先主,先主拜嚴裨將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  4. (後遷昭文將軍,與諸葛亮、法正、劉巴、李嚴共造蜀科;蜀科之制,由此五人焉。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 38.
  5. (先主定蜀,太守李嚴命為功曹。嚴欲徙郡治舍,洪固諫不聽,遂辭功曹,請退。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
  6. (先為牙門將,統屬江州督李嚴。為嚴所疾,懼罪降魏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 41.
  7. (成都既定,為犍為太守、興業將軍。二十三年,盜賊馬秦、高勝等起事於郪,音淒。合聚部伍數萬人,到資中縣。時先主在漢中,嚴不更發兵,但率將郡士五千人討之,斬秦、勝等首。枝黨星散,悉復民籍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  8. 宋炳龙 (2011) การศึกษาจุดกำเนิดของน่านเจ้า (南诏王室族源新探), 《大理文化》2011年第11期.
  9. (輔又越嶲夷率高定遣軍圍新道縣,嚴馳往赴救,賊皆破走。加輔漢將軍,領郡如故。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  10. (章武二年,先主徵嚴詣永安宮,拜尚書令。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  11. (三年,先主疾病,严与诸葛亮并受遗诏辅少主;以严为中都护,统内外军事,留镇永安。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  12. (都護李嚴與闓書六紙,解喻利害,闓但答一紙曰:「蓋聞天無二日,土無二王,今天下鼎立,正朔有三,是以遠人惶惑,不知所歸也。」其桀慢如此。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 43.
  13. (吾以為鱗甲者〔但〕 不當犯之耳) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 39
  14. (建興元年,封都鄉侯,假節,加光祿勳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  15. (建四年,轉為前將軍。以諸葛亮欲出軍漢中,嚴當知後事,移屯江州,留護軍陳到駐永安,皆統屬嚴。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  16. (嚴與孟達書曰:「吾與孔明俱受寄託,憂深責重,思得良伴。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  17. (亮亦與達書曰:「部分如流,趨捨罔滯,正方性也。」其見貴重如此。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  18. คำตอบของจูกัดเหลียงพบใน รวมผลงานของจูกัดเหลียง. (諸葛亮集) - 亮答书曰:“吾与足下相知久矣,可不复相解!足下方诲以光国,戒之以勿拘之道,是以未得默已。吾本东方下士,误用於先帝,位极人臣,禄赐百亿,今讨贼未效,知己未答,而方宠齐、晋,坐自贵大,非其义也。若灭魏斩叡,帝还故居,与诸子并升,虽十命可受,况於九邪!”
  19. (八年,迁骠骑将军。以曹真欲三道向汉川,亮命严将二万人赴汉中。亮表严子丰为江州都督督军,典为后事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  20. (亮以明年當出軍,命嚴以中都護署府事。嚴改名為平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  21. (九年春,亮軍祁山,平催督運事。秋夏之際,值天霖雨,運糧不繼,平遣參軍狐忠、督軍成藩喻指,呼亮來還;亮承以退軍。平聞軍退,乃更陽驚,說「軍糧饒足,何以便歸」!欲以解己不辦之責,顯亮不進之愆也。又表後主,說「軍偽退,欲以誘賊與戰」。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  22. (亮具出其前後手筆書疏本末,平違錯章灼。平辭窮情竭,首謝罪負。於是亮表平曰:「自先帝崩後,平所在治家,尚為小惠,安身求名,無憂國之事。臣當北出,欲得平兵以鎮漢中,平窮難縱橫,無有來意,而求以五郡為巴州刺史。去年臣欲西征,欲令平主督漢中,平說司馬懿等開府辟召。臣知平鄙情,欲因行之際偪臣取利也,是以表平子豐督主江州,隆崇其遇,以取一時之務。平至之日,都委諸事,群臣上下皆怪臣待平之厚也。正以大事未定,漢室傾危,伐平之短,莫若褒之。然謂平情在於榮利而已,不意平心顛倒乃爾。若事稽留,將致禍敗,是臣不敏,言多增咎。」乃廢平為民,徙梓潼郡。十二年,平聞亮卒,發病死。平常冀亮當自補復,策後人不能,故以激憤也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  23. (亮公文上尚書曰:「平為大臣,受恩過量,不思忠報,橫造無端,危恥不辦,迷罔上下,論獄棄科,導人為姦,(狹情)〔情狹〕志狂,若無天地。自度姦露,嫌心遂生,聞軍臨至,西嚮託疾還沮、漳,軍臨至沮,復還江陽,平參軍狐忠勤諫乃止。今篡賊未滅,社稷多難,國事惟和,可以克捷,不可苞含,以危大業。輒與行中軍師車騎將軍都鄉侯臣劉琰,使持節前軍師征西大將軍領涼州刺史南鄭侯臣魏延、前將軍都亭侯臣袁綝、左將軍領荊州刺史高陽鄉侯臣吳壹、督前部右將軍玄鄉侯臣高翔、督後部後將軍安樂亭侯臣吳班、領長史綏軍將軍臣楊儀、督左部行中監軍揚武將軍臣鄧芝、行前監軍征南將軍臣劉巴、行中護軍偏將軍臣費禕、行前護軍偏將軍漢成亭侯臣許允、行左護軍篤信中郎將臣丁咸、行右護軍偏將軍臣劉敏、行護軍征南將軍當陽亭侯臣姜維、行中典軍討虜將軍臣上官雝、行中參軍昭武中郎將臣胡濟、行參軍建義將軍臣閻晏、行參軍偏將軍臣爨習、行參軍裨將軍臣杜義、行參軍武略中郎將臣杜祺、行參軍綏戎都尉盛勃、領從事中郎武略中郎將臣樊岐等議,輒解平任,免官祿、節傳、印綬、符策,削其爵土。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  24. (豐官至朱提太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  25. (諸葛亮又與平子豐教曰:「吾與君父子戮力以獎漢室,此神明所聞,非但人知之也。表都護典漢中,委君於東關者,不與人議也。謂至心感動,終始可保,何圖中乖乎!昔楚卿屢絀,亦乃克復,思道則福,應自然之數也。願寬慰都護,勤追前闕。今雖解任,形業失故,奴婢賓客百數十人,君以中郎參軍居府,方之氣類,猶為上家。若都護思負一意,君與公琰推心從事者,否可復通,逝可復還也。詳思斯戒,明吾用心,臨書長歎,涕泣而已。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  26. (習鑿齒曰:昔管仲奪伯氏駢邑三百,沒齒而無怨言,聖人以為難。諸葛亮之使廖立垂泣,李平致死,豈徒無怨言而已哉!夫水至平而邪者取法,鏡至明而醜者無怒,水鏡之所以能窮物而無怨者,以其無私也。水鏡無私,猶以免謗,況大人君子懷樂生之心,流矜恕之德,法行於不可不用,刑加乎自犯之罪,爵之而非私,誅之而不怒,天下有不服者乎!諸葛亮於是可謂能用刑矣,自秦、漢以來未之有也。) อรรถาธิบายของสี จั้วฉื่อในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.

บรรณานุกรม[แก้]