หลาง ผิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลาง ผิง
หลาง ผิง หัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มหลาง ผิง
สัญชาติธงของประเทศจีน จีน
เกิด (1960-12-10) 10 ธันวาคม ค.ศ. 1960 (63 ปี)
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ส่วนสูง1.84 m (6 ft 12 in)
น้ำหนัก71 kg (157 lb)
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตีด้านนอก
ทีมชาติ
ธงชาติจีน จีน
อัปเดทล่าสุด: 21 สิงหาคม ค.ศ. 2014

หลาง ผิง (จีน: 郎平; อังกฤษ: Lang Ping) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ที่กรุงปักกิ่ง เธอเป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลชาวจีน และเป็นอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐ เธอมีฉายาคือ "ค้อนเหล็ก"[1]

ในปี ค.ศ. 2002 เธอได้รับเกียรติในการจารึกชื่อไว้ในวอลเลย์บอลฮอลล์ออฟเฟม ที่ฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์[2] เธอเป็นผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกา และพาทีมเข้ารับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศบ้านเกิดของเธอเอง

ปัจจุบัน เธอทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

ประวัติ[แก้]

หลาง ผิง เกิดที่กรุงปักกิ่ง และมีเชื้อสายชาวแมนจู

เธอได้ย้ายสู่สหรัฐอเมริกา และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมวอลเลย์บอลที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก เมื่อถามถึงการย้ายของเธอ เธอได้บอกว่าเธอต้องการที่จะ "ลิ้มลองชีวิตแบบปกติ"[3] เธอมีลูกสาวอายุ 20 ปี ชื่อ ลีเดีย ไป่ ผู้ซึ่งเป็นสมาชิกทีมวอลเลย์บอลหญิงของสแตนฟอร์ด[4]

เธอยังคงความเป็นพลเมืองชาวจีนแผ่นดินใหญ่แม้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกามากว่า 15 ปี[5]

ผลงานในระดับอาชีพ[แก้]

หลาง ผิง เคยเป็นสมาชิกคนหนึ่งของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน และได้รับรางวัลเหรียญทองเมื่อครั้งที่เป็นฝ่ายชนะทีมชาติสหรัฐอเมริกาในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงเธอเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกในปี ค.ศ. 1982 ที่ประเทศเปรู รวมถึงรายการเวิลด์คัพเมื่อปี ค.ศ. 1981 และ 1985[6]

อิทธิพลในประเทศจีน[แก้]

เนื่องจากบทบาทสำคัญของเธอในความสำเร็จของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 หลางได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นหนึ่งในบุคคลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประวัติศาสตร์กีฬาสมัยใหม่ของประเทศจีน โดยในตอนท้ายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ค.ศ. 1976 ประเทศจีนได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในระดับโลกอีกครั้ง แม้ว่าทีมปิงปองของจีนจะชนะการแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งกีฬานี้มักได้รับการพิจารณาว่าชาวจีนมีความเชี่ยวชาญ แต่หลางกับทีมวอลเลย์บอลหญิงของเธอก็ได้รับการจัดเป็นกีฬาประเภททีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์โลกหลายสมัย โดยการแข่งขันครั้งสุดท้ายของเธอคือกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 โดยหลางได้เป็นดาวในตำแหน่งตัวตีด้านนอกของทีม เธอมักได้รับการจดจำเป็นอย่างมาก ว่าเป็นหนึ่งในนักกีฬาแชมป์โลกสมัยแรกของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน[7]

การฝึกสอน[แก้]

หลางได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ตั้งแต่ ค.ศ. 1987–89 และ ค.ศ. 1992–93[2]

ในปี ค.ศ. 1995 หลางได้มาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน และสามารถพาทีมคว้ารางวัลเหรียญเงินจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1996 ที่แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และอันดับสองในการแข่งขันชิงแชมป์โลก 1998 ที่ประเทศญี่ปุ่น[6] หลาง ผิง ได้ลาออกจากทีมชาติจีนในปี ค.ศ. 1998 อันเนื่องมาจากเหตุผลด้านสุขภาพ ในปีต่อมา เธอได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าผู้ฝึกสอนในการแข่งขันลีกอาชีพของประเทศอิตาลี และประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในการแข่งขันดังกล่าว โดยสามารถพาทีมชนะการแข่งขันลีกและได้รับรางวัลผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยมแห่งปีอยู่หลายสมัย

เธอได้ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2005 ที่ซึ่งเธอได้พาทีมเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โดยทีมชาติสหรัฐได้พบกับทีมชาติจีนในประเทศบ้านเกิดของเธอเอง และทีมชาติสหรัฐสามารถเป็นฝ่ายชนะทีมชาติจีน 3-2 เซต ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หู จิ่นเทา และประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เข้าร่วมชมการแข่งขันนัดดังกล่าว[8] โดยการแข่งขันนัดดังกล่าวมีผู้ชมถึง 250 ล้านคนเมื่อนับเฉพาะประเทศจีนเพียงอย่างเดียว และเธอได้พาทีมสหรัฐเข้ารับรางวัลเหรียญเงินหลังจากเป็นฝ่ายแพ้ต่อทีมชาติบราซิลในรอบชิงชนะเลิศที่ 3-1 เซต หลางได้ลาออกจากการทำหน้าที่ดังกล่าวในปี ค.ศ. 2008 โดยอ้างว่าเธออยากจะใช้เวลาอยู่กับครอบครัวของเธอ

และปัจจุบัน เธอเป็นผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติจีน

ชัยชนะครั้งสำคัญ[แก้]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • หนึ่งในสิบนักกีฬาจีนยอดเยี่ยมแห่งปี, ค.ศ. 1981–1986
  • ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลยอดเยี่ยมแห่งปี สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ, ค.ศ. 1996[2]
  • ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลหญิงในประเทศอิตาลียอดเยี่ยมแห่งปี, ค.ศ. 1999–2000

อ้างอิง[แก้]

  1. Tabuchi, Hiroko (2008-08-09). "Return of the "Iron Hammer"". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 "China's Lang Ping gets U.S. volleyball post". USA Today. 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  3. Townsend, Brad (2008-08-06). "Lang Ping left China for "normal life"". The Dallas Morning News. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  4. "Lydia Bai Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 2014-08-21.
  5. "Iron Hammer still pounding". China Daily. 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  6. 6.0 6.1 O'Halloran, Ryan (2008-08-15). "Lang Ping goes home". Washington Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  7. Lassen, David (2008-07-08). "U.S. women's volleyball coach an icon back in Beijing". Ventura County Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-27. สืบค้นเมื่อ 2008-08-19.
  8. Wong, Edward (2008-08-15). "Ex-Chinese Star Guides U.S. to Win in Volleyball". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-16.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]