หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายในและสถาปัตยกรรมภายใน ในประเทศไทย

หลักสูตรปริญญาโท[แก้]

โครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาโทในสาขาการออกแบบตกแต่งภายในและสถาปัตยกรรมภายในนั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรที่ใช้ระยะเวลาในการเรียนอย่างน้อย 2 ปี แต่ละสถาบันการศึกษามีแผนการศึกษาที่ผู้เข้าเรียนสามารถเลือกเรียนได้ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน[1] คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.decorate.su.ac.th/http://www.arch.kmitl.ac.th/index_prosstd.php?m=program เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]</ref> คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้กำหนดแผนการศึกษาไว้คือ แผน ก. ซึ่งผู้ที่เข้าศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ ในขณะที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการออกแบบภายใน[2] มหาวิทยาลัยกรุงเทพและ หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต[3] สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้กำหนดทางเลือกเพิ่มจากการทำวิทยานิพนธ์ โดยผู้เข้าศึกษาสามารถเลือกการเรียนแบบแผน ข. ซึ่งผู้ศึกษาในแผนนี้ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ผู้ศึกษาจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา พร้อมทั้งสอบผ่านการสอบประมวลความรอบรู้ทั้งการสอบข้อเขียนและการสอบปากเปล่า

สาขาวิชาและแขนงวิชาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หลักสูตรระดับปริญญาโทในสาขานี้มีความแตกต่างกัน หลักสูตรที่มหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนดได้เน้นการศึกษาวิจัยทางด้านการออกแบบตกแต่งภายใน[4] โดยกำหนดรายวิชาบังคับที่เกี่ยวเนื่องไว้ เช่น การออกแบบตกแต่งภายในขั้นสูง จิตวิทยาสภาพแวดล้อมภายใน ระบบสภาพแวดล้อมภายใน และระบบทางสถาปัตยกรรม ส่วนหลักสูตรที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้แตกหลักสูตรเป็นเป็นสองแขนงวิชา[5] คือ แขนงวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน เป็นแขนงที่ทำการศึกษาวิจัยทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในขั้นสูงและแนวความคิดในการออกแบบ แขนงวิชาที่สองคือแขนงวิชาออกแบบสภาพแวดล้อมภายในซึ่งเน้นไปที่การทำวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน การอนุรักษ์พลังงาน และสถาปัตยกรรมในไทยศึกษา ส่วนหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตนั้นเน้นการศึกษาวิจัยไปในเรื่องการออกแบบและจัดการความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม และศึกษาพฤติกรรมการใช้สอย เป็นหลักดังนั้นรายวิชาบังคับจึงถูกออกแบบไว้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการออกแบบสภาพแวดลอม, สภาพแวดลอมและพฤติกรรม, การโปรแกรมการออกแบบสภาพแวดลอม, การจัดการระบบสภาพแวดลอมภายใน, และ เทคนิคการวิจัยเพื่อการออกแบบสภาพแวดลอม[6]

ในขณะที่หลักสูตรทั้งสามเน้นการศึกษาวิจัยทางด้านการออกแบบ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการออกแบบภายใน ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้บูรณาการองค์ความรู้ทางด้านการจัดการและบริหารมาผสมผสานการศึกษาวิจัยทางด้านการออกแบบ ความรู้ดังกล่าวรวมถึง การบริหารจัดการออกแบบภายใน กลยุทธ์การจัดการในธุรกิจการออกแบบภายใน ความเป็นไปได้ของโครงการออกแบบภายใน และผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมต่อธุรกิจออกแบบภายใน[7]

อย่างไรก็ตามเมื่อสำเร็จการศึกษา วุฒิการศึกษาที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับนั้นขื้นอยู่กับหลักสูตรที่แต่ละสถาบันกำหนดไว้ หากเป็นหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ผู้ที่สำเร็จการศึกษาก็จะได้รับปริญญาในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Architecture) หากเป็นหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาศิลปมหาบัณฑิต (Master of Fine Arts) หรือหากเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Arts)

กลุ่มหัวข้อการศึกษาในวิชาวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษา[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงตัวอย่างกลุ่มหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยเปรียบเทียบกับจำนวนของวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน ข้อมูลในตารางได้จากการสืบค้นข้อมูลใน KMITL Library Public Access Catalog [8] ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552

กลุ่มหัวข้อวิทยานิพนธ์ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 3 2 5
การออกแบบสภาพแวดล้อมภายและเอกลักษณ์องค์กร 4 4 4 2
การวางผังพื้นที่ว่าง 1 1 1
การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อาคาร 1 2 2
การศึกษาเกณฑ์และแนวทางการออกแบบ 4 1 3 1
ศึกษาและออกแบบปรับปรุงอาคาร 1 1
การออกแบบต้นแบบ 2
การศึกษาระบบอาคาร 1
การออกแบบด้านอื่นๆ 1 1

ตารางด้านล่างแสดงตัวอย่างกลุ่มหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยเปรียบเทียบกับจำนวนของวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551ถึงปัจจุบัน

กลุ่มหัวข้อวิทยานิพนธ์ ปี 2551 ปี 2552
การออกแบบและศึกษาแนวทางการจัดการพื้นที่ 1 2
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน 1 1
การศึกษาเกณฑ์และแนวทางการออกแบบ 4 4
การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบ 1
การศึกษาและประเมินผลการใช้งานอาคาร 1 1
การศึกษาการจัดการอาคารและสภาพแวดล้อม 2
การศึกษาวิเคราะห์โครงการและพัฒนาธุรกิจ 2
การออกแบบและบริหารจัดการเอกลักษณ์องค์กร 4
การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้อาคาร/นักออกแบบ 1 1

หลักสูตรปริญญาตรี[แก้]

ในปัจจุบันมี 16 สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรปริญญาตรีที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาการออกแบบภายใน โดยมีชื่อหลักสูตรและระยะเวลาการเรียนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากการออกแบบตกแต่งภายในเป็นวิชาชีพควบคุม ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรที่ไม่ว่าจะใช้ระยะเวลาหรือมีหน่วยกิตการเรียนที่ต่างกันนั้น จึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับข้อบังคับการรับรองปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2545 ที่สภาสถาปนิกกำหนดไว้ [9]


หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน[แก้]

หลักสูตรแรกมีชื่อหลักสูตรว่า "หลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน" โดยทั่วไปหลักสูตรนี้ใช้ระยะเวลาการเรียนการสอน 5 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรในกลุ่มนี้จะได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ. หรือ Bachelor ofArchitecture ) สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรสาขาสถาปัตยกรรมภายในดังกล่าวรวมถึง

แผนภูมิแท่งและตารางด้านบนแสดงสัดส่วนของจำนวนวิชาในแต่ละกลุ่มวิชา ระหว่างแผนการศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายในของสถาบันต่างๆ โดยการจัดกลุ่มและวิเคราะห์จัดแยกจำนวนรายวิชานั้น ใช้แนวทางจากระเบียบคณะกรรมการสภาสถาปนิก ว่าด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตหมวดวิชาของมาตรฐานวิชาการในสาขาสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2548 [16]

หลักสูตรศิลปบัณฑิต[แก้]

หลักสูตรที่สองใช้ชื่อหลักสูตรศิลปบัณฑิต ซึ่งรวมสาขาออกแบบตกแต่งภายใน และสาขาออกแบบภายในไว้ด้วยกัน ระยะเวลาการเรียนการสอนของหลักสูตรในกลุ่มนี้จะใช้เวลา 4 ปี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต (ศป.บ. หรือ Bachelor of Fine Arts ) สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดหลักสูตรในกลุ่มนี้ได้แก่

หมายเหตุ*: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้ชื่อหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน เหมือนกับกลุ่มแรก แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมภายในบัณฑิต (สน.บ.) ดังนั้นจึงใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปี เท่ากับหลักสูตรในกลุ่มที่สอง


[16] ]]

ยิ่งไปกว่านั้นบางสถาบันอุดมศึกษายังเพิ่มความยืดหยุ่นในการเปิดรับการเข้าเรียน เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดหลักสูตรเทียบโอน [27] ภาคปกติโดยรับเทียบโอนหน่วยกิตจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆหรือเทียบโอนจากประสบการณ์ทำงาน และคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้เปิดหลักสูตรการศึกษาปริญญาตรีภาคสมทบ [28]

นอกจากหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติแล้ว บางสถาบันอุดมศึกษา เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นแล้วแต่มีความสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมในเนื้อหาและทฤษฏีทางด้านการออกแบบภายใน โดยมีชื่อว่า "โครงการปริญญาที่สองการออกแบบภายใน"[29]ระยะเวลาการเรียนการสอนนั้นขึ้นอยู่กับรายวิชาที่ผู้สมัครได้เคยเรียนในระดับปริญญาตรีมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เข้าศึกษาสำเร็จการศึกษาจากสาขาการออกแบบอื่นๆ ก็จะใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี [30] หรือมากกว่านั้นในกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ [31]

นอกจากหลักสูตรปริญญาตรีที่ได้กล่าวมายังมีหลักสูตรออกแบบภายในที่เป็นหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หลักสูตรสาขาออกแบบตกแต่งภายในและผลิตภัณฑ์ สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์ เป็นต้น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  2. "หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-10. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  3. "หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  4. "เอกสารรายวิชาในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-12-02. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  5. "เอกสารรายวิชาในหลักสูตรที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกำหนด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-07-01. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  6. "เอกสารรายวิชาในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตกำหนด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-26. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  7. "เอกสารรายวิชาในหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพกำหนด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  8. "KMITL Library Public Access Catalog". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-10. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
  9. คณะกรรมการสภาสถาปนิก. (2545). "ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการรับรองปริญญา อนุปริญญา และประกาศนียบัตรในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2545" (PDF): หน้า2. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
  11. "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-18. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
  12. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  13. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  14. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[ลิงก์เสีย]
  15. [1]
  16. 16.0 16.1 คณะกรรมการสภาสถาปนิก. (2548). "การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตหมวดวิชาของมาตรฐานวิชาการในสาขาสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2548" (PDF): หน้า3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ลิงก์เสีย] อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "act1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  17. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  18. "คณะศิลปกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-07. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  19. "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-08. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
  20. "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  21. คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  22. คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  23. "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-16.
  24. "คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-24. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  25. คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  26. "คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
  27. เอกสารจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแสดงรายละเอียดหลักสูตรที่รับเทียบโอนหน่วยกิตจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ [ลิงก์เสีย]
  28. โครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาปริญญาตรี 4 ปี สมทบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  29. โครงการปริญญาที่สองการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[ลิงก์เสีย]
  30. แผนการศึกษา PROGRAM I ของโครงการปริญญาที่สองการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[ลิงก์เสีย]
  31. แผนการศึกษา PROGRAM II ของโครงการปริญญาที่สองการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]