ข้ามไปเนื้อหา

หลักการห้ามผลักดันกลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลักการห้ามผลักดันกลับ (อังกฤษ: Non-refoulement) เป็นหลักการขั้นพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศที่ถูกบัญญัติไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย โดยห้ามประเทศใด ๆ เนรเทศ (ผลักดันกลับ) ใครก็ตามสู่ประเทศที่ "จะคุกคามชีวิตหรืออิสรภาพ" ของพวกเขา เนื่องด้วย "เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมใดกลุ่มหนึ่ง หรือความคิดเห็นทางการเมือง"[1][2] โดยข้อยกเว้นเพียงหนึ่งเดียวคือ "อาจมีเหตุอันสมเหตุสมผล" ให้เกิด "อันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ" หรือ "อันตรายต่อชุมชนของประเทศนั้น"[1] ซึ่งหลักการนี้ แตกต่างกับการขอลี้ภัยทางการเมือง อันจะได้สิทธิเมื่อได้พิสูจน์ความกลัวจากการถูกข่มเหงทางการเมืองอย่างมีมูลแล้ว[3] หลักการนี้ยังห้ามการเนรเทศผู้คน รวมถึงผู้ลี้ภัย ไปยังพื้นที่สงครามและพื้นที่ภัยพิบัติอื่น ๆ อีกด้วย[2]

หลักการห้ามผลักดันกลับมักถูกมองเป็นหนึ่งในกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ[4] ที่ซึ่งมีผลแม้รัฐนั้นจะมิได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ. 1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยและพิธีสารปี ค.ศ. 1967[5] หลักการดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงว่าเป็น หลักกฎหมายบังคับเด็ดขาด (jus cogens) ซึ่งประเทศต้องประพฤติตามโดยห้ามเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์หรือเปลี่ยนแปลงภายใต้สถานการณ์ใด (การยกเลิกบทกฎหมายเพียงบางส่วน, derogation) ในกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่[6][7] โดยการโต้เถียงใน "หลักกฎหมายบังคับเด็ดขาด" ถูกจุดประกายขึ้นมาอีกครั้งหลังเกิดวินาศกรรม 11 กันยายนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ ในยุโรป[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 United Nations High Commissioner for Refugees. "Convention and Protocol Relating to the Status of Refugees". UNHCR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-03-27.
  2. 2.0 2.1 Trevisanut, Dr. Seline (September 1, 2014). "International Law and Practice: The Principle of Non-Refoulement And the De-Territorialization of Border Control at Sea". Leiden Journal of International Law. 27 (3): 661. doi:10.1017/S0922156514000259. S2CID 145445428.
  3. Universal Declaration of Human Rights, Article 14
  4. Coleman, Nils. "Non-Refoulement Revised-Renewed Review of the Status of the Principle of Non-Refoulement as Customary International Law." Eur. J. Migration & L. 5 (2003): 23.
  5. Vang, Jerry (Summer 2014). "Limitations of the Customary International Principle of Non-refoulement on Non-party States: Thailand Repatriates the Remaining Hmong-Lao Regardless of International Norms". Wisconsin International Law Journal. 32 (2): 355–383.
  6. Jean Allain, 2001, "The jus cogens Nature of non‐refoulement", International Journal of Refugee Law, Vol. 13, Issue 4, pp. 533-558.
  7. [Costello, Cathryn, and Michelle Foster. "Non-refoulement as custom and jus cogens? Putting the prohibition to the test." Netherlands Yearbook of International Law 2015: Jus Cogens: Quo Vadis? (2016): 273-327.]
  8. Bruin, Rene; Wouters, Kees (2003). "Terrorism and the Non-derogability of Non-refoulement". International Journal of Refugee Law. 15 (1): 5–29. doi:10.1093/ijrl/15.1.5 – โดยทาง HeinOnline.