หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์ เซลล์
ชื่ออื่นTemporal arteritis, cranial arteritis,[1] Horton disease,[2] senile arteritis,[1] granulomatous arteritis[1]
ภาพพยาธิวิทยาฮิสโตโลจีในหลอดเลือดแดงซีรีบรัล ย้อมสีแบบ Elastica
สาขาวิชาวิทยารูมาตอยด์, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห็นภาพซ้อน, เปิดปากลำบาก[3]
ภาวะแทรกซ้อนตาบอด, เส้นเลือดแดงใหญ่แบ่งชั้น, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง, polymyalgia rheumatica[4]
การตั้งต้นอายุ > 50[4]
สาเหตุการอักเสบยองวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดง[4]
วิธีวินิจฉัยตามอาการและผลเลือด, ตรวจเนื้อเยื่อ[4]
โรคอื่นที่คล้ายกันหลอดเลือดแดงอักเสบทาคายาซุ,[5] หลอดเลือดสมองแตก, อะมิลอยโดซิสปฐมภูมิ[6]
การรักษาสเตรอยด์, ไบสฟอสฟอเนต, ตัวยับยั้งโปรตอนปั๊มป์[4]
ความชุก~ 1 ใน 15,000 คน ต่อปี (อายุ > 50)[2]

หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์ เซลล์ (อังกฤษ: Giant Cell Arteritis; GCA) หรือ หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (อังกฤษ: temporal arteritis) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ก่อการอักเสบที่หลอดเลือดขนาดใหญ่[4][7] อาการอาจประกอบด้วยปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห้นภาพซ้อน และเปิดปากลำบาก[3] อาการแทรกซ้อนอาจเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดงดวงตาส่งผลให้เกิดความพิการทางการมองเห็น, การขาดระหว่างชั้นของหลอดเลือดเดืองใหญ่ และ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง[4] GCA มักมีความเกี่ยวพันกับการเกิดปวดกล้ามเนื้อทั่วแบบรูมาตอยด์[4]

สาเหตุเกิดโรคยังคงไม่ทราบชัดเจน[2] กลไกเกิดโรคประกอบด้วยการอักเสบของวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่[4] ส่วนใหญ่เกิดที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะและคอ และมีบ้างพบที่หน้าอก[4][8] การตรวจวินิจฉัยดูที่อาการแสดง, การตรวจเลือด และฉายภาพ ตรวจยืนยันโดยใช้การตรวจเนื้อเยื้อของหลอดเลือดแดงเทมโปรัล[4] อย่างไรก็ตาม ราว 10% of ไม่พบคามผิดปกติในหลอดเลือดแดงเทมโปรัล[4]

การรักษาโดยทั่วไปใช้ สเตรอยด์ในระดับสูง ส่วนใหญ่ใช้ prednisone หรือ prednisolone[4] หลังอาการหายจึงลดโดสลงเหลือราว 15% ต่อเดือน[4]

พบความชุกของโรคอยู่ที่ 1 ใน 15,000 คนที่อายุมากกว่า 50 ปี[2] โดยทั่วไปมักพบผู้ป่วยโรคนี้มีอายุมากกว่าf 50 ปี และพบมากที่สุดในวัยช่วง 70 ปี[4] โดยพบโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[4] และผู้มีเชื้อสายยุโรปเหนือมักพบป่วยมากกว่า[5] พบการอธิบายโรคนี้ครั้งแรกในปี 1890[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Nussinovitch, Udi (2017). The Heart in Rheumatic, Autoimmune and Inflammatory Diseases: Pathophysiology, Clinical Aspects and Therapeutic Approaches. Academic Press. p. 367. ISBN 9780128032688. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Orphanet: Giant cell arteritis". www.orpha.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 14 September 2017.
  3. 3.0 3.1 "Giant Cell Arteritis". National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. 13 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 4.14 4.15 Weyand CM, Goronzy JJ (July 2014). "Clinical practice. Giant-cell arteritis and polymyalgia rheumatica". The New England Journal of Medicine. 371 (1): 50–7. doi:10.1056/NEJMcp1214825. PMC 4277693. PMID 24988557.
  5. 5.0 5.1 Johnson RJ, Feehally J, Floege J (2014). Comprehensive Clinical Nephrology E-Book. Elsevier Health Sciences. p. 300. ISBN 9780323242875. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-22.
  6. Ferri, Fred F. (2010). Ferri's Differential Diagnosis E-Book: A Practical Guide to the Differential Diagnosis of Symptoms, Signs, and Clinical Disorders. Elsevier Health Sciences. p. 195. ISBN 978-0323081634. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-22.
  7. Jennette JC, Falk RJ, Bacon PA, Basu N, Cid MC, Ferrario F, และคณะ (January 2013). "2012 revised International Chapel Hill Consensus Conference Nomenclature of Vasculitides". Arthritis and Rheumatism. 65 (1): 1–11. doi:10.1002/art.37715. PMID 23045170. S2CID 20891451.
  8. "Giant Cell Arteritis". National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases. 13 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Systemic vasculitis