ข้ามไปเนื้อหา

หลอดเลือดดำเบซิลิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลอดเลือดดำเบซิลิค
(Basilic vein)
หลอดเลือดดำของรักแร้ข้างขวา มองจากด้านหน้า
หลอดเลือดดำชั้นผิว (Superficial vein) ของรยางค์บน
รายละเอียด
จากร่างแหหลอดเลือดดำหลังมือ (dorsal venous network of hand)
ออกไปยังหลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein)
ตัวระบุ
TA98A12.3.08.018
TA24979
FMA22908
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หลอดเลือดดำเบซิลิค (Basilic vein) เป็นหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่ของรยางค์บนซึ่งช่วยระบายเลือดจากส่วนของมือและปลายแขน เริ่มต้นจากร่างแหหลอดเลือดดำหลังมือด้านใกล้ลำตัว (หรือด้านกระดูกอัลนา) มาตามฐานของปลายแขนและต้นแขน แนวเส้นทางของเส้นเลือดส่วนใหญ่อยู่ในชั้นผิว โดยทั่วไปหลอดเลือดนี้มาตามชั้นไขมันและพังผืดอื่นๆ ที่อยู่ในชั้นตื้นต่อกล้ามเนื้อของรยางค์บน ดังนั้นเราสามารถเห็นเส้นเลือดนี้ได้ผ่านผิวหนัง

ใกล้บริเวณด้านหน้าของแอ่งแขนพับ (cubital fossa) หลอดเลือดดำเบซิลิคมักจะเชื่อมกับหลอดเลือดดำชั้นผิวขนาดใหญ่อื่นๆ ในรยางค์บนนั่นคือ หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) โดยผ่านหลอดเลือดดำมีเดียน คิวบิตัล (median cubital vein) ลักษณะของหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขนมีความแปรผันมากในแต่ละบุคคล ทำให้มีหลอดเลือดดำชั้นผิวจำนวนมากที่เชื่อมกับหลอดเลือดดำเบซิลิคที่ไม่มีชื่อ

เมื่อหลอดเลือดมาถึงประมาณครึ่งทางของต้นแขน (ครึ่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างไหล่และข้อศอก) หลอดเลือดดำเบซิลิคจะลงไปในชั้นลึกมากขึ้น และไหลใต้กล้ามเนื้อ บริเวณขอบล่างของกล้ามเนื้อเทเรส เมเจอร์ (teres major muscle) จะมีหลอดเลือดดำรอบกระดูกต้นแขนด้านหน้าและด้านหลังไหลเข้ามาเชื่อม ก่อนที่จะเชื่อมกับหลอดเลือดดำแขน (brachial veins) แล้วกลายเป็นหลอดเลือดดำรักแร้ (axillary vein)

เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำชั้นผิวของปลายแขน การเจาะหลอดเลือดดำ (venipuncture) สามารถใช้หลอดเลือดแดงเบซิลิคได้

ภาพอื่นๆ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]