หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

เกิด23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 (ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง)
ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
เสียชีวิต13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (82 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ประเทศไทย
อาชีพนักร้อง นักดนตรี ครูสอนขับร้องและดนตรี
บิดามารดา
  • พยอม (บิดา)
  • เทียบ (มารดา)
ไฟล์:Luangpirohsiangsow.jpg
หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ศิลปินนักดนตรีไทย มีความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ทั้งซอด้วง ซออู้ และซอสามสาย เป็นอดีตข้าราชการในสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง และกรมศิลปากร

ประวัติ[แก้]

วัยเยาว์[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ มีชื่อเดิมว่า “อุ่น” เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ที่ตำบลบ้านหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ พยอม กับ เทียบ มีพี่สาวชื่อ ถมยา ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับหลวงศรีวาทิต (อ่อน ศรีโกมลวาทิน) มีครอบครัวเป็นศิลปินทางด้านแอ่วเคล้าซอ

การศึกษา[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ เมื่ออายุ 11 ปี เมื่อครั้งบวชเป็นสามเณรที่วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีหลวงพ่อจง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อลาสิกขาบทได้เรียนต่อจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ ภายหลังเมื่อครอบครัวย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร จึงไปเรียนที่วัดปริณายก

ทางด้านดนตรี เริ่มฝึกหัดซอด้วงกับบิดา ซึ่งเป็นนักแอ่วเคล้าซอ เมื่ออายุ 9-10 ปี ต่อมาได้เรียนในขั้นสูงกับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง สมัยรัชกาลที่ 6 โดยเรียนทั้งซอด้วงและซออู้ และได้เรียนไวโอลินกับ อัลเบอร์โต นาซารี (Alberto Nazzari) ชาวอิตาเลียน ครูประจำกองเครื่องสายฝรั่งหลวงสมัยรัชกาลที่ 6

การงาน[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็ก สังกัดกองดนตรี ใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกรมมหรสพในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับราชการสังกัดกรมพิณพาทย์หลวง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนดนตรีบรรเลง"[1] แล้วเลื่อนเป็น "หลวงไพเราะเสียงซอ"[2] และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา[3]

นอกจากหน้าที่ราชการ ยังได้เป็นครูฝึกสอนให้วงเครื่องสายของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการหลายวง ได้แก่ [4]

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนซอแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ในการทรงเล่นเครื่องสายส่วนพระองค์[5] นอกจากนี้ยังได้ถวายการสอนซอแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล อีกด้วย[6]

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้โอนย้ายมารับราชการที่กรมศิลปากร ขณะเดียวกันได้รับเชิญเป็นครูสอนเครื่องสายที่โรงเรียนนาฏศิลป และเป็นอาจารย์พิเศษที่ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[7]

มรณกรรม[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มีโรคประจำตัวคือหืด (Asthma) ภายหลังตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่คอและปาก เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชหลายครั้งจนอาการหายดี แต่ครั้งหลังสุดป่วยเป็นไข้หวัด มีอาการอ่อนเพลียและปอดบวม ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุได้ 84 ปี[4]

การถ่ายทอดความรู้[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้ถ่ายความรู้ให้ศิษย์หลายคน แต่เฉพาะที่มีชื่อเสียงปรากฏในวงการดนตรีไทย ได้แก่

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) สมรสครั้งแรกกับ นวม มัธยมจันทร์ มีบุตรธิดา 8 คน คือ

  • อนันต์
  • อนุ
  • อนงค์
  • เอนก
  • ดวงเนตร
  • อนนต์
  • อณัต
  • อำนาย

ต่อมาสมรสกับ หม่อมเจ้ากริณานฤมล สุริยง มีบุตรธิดา 5 คน คือ

  • ผกากน
  • พิมลชัย
  • พิไลพรรณ
  • จันทราภรณ์
  • สุริยพันธ์

[4]

บรรดาศักดิ์และยศ[แก้]

  • พ.ศ. 2448 ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร สังกัดกองดนตรี ยศชั้น 2 ตรี ชั้น 3
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ปรับตำแหน่งตามทำเนียบมหาดเล็กประจำ เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เถลิงถวัลยราชสมบัติ
  • พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานยศเป็น มหาดเล็กวิเศษ
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 ได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพร และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนดนตรีบรรเลง ถือศักดินา 300[1]
  • 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงไพเราะเสียงซอ ถือศักดินา 400[2]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2465 ได้รับพระราชทานยศเป็น หุ้มแพร[18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 พระราชทานบรรดาศักดิ์.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 32 ตอน ง (2458, 30 พฤษภาคม): หน้าที่ 441. [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/441.PDF [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565]
  2. 2.0 2.1 พระราชทานบรรดาศักดิ์.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 34 ตอน ง (2460, 16 ธันวาคม): หน้าที่ 2,587-2,592.  [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/2587.PDF [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2565]
  3. พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา.  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 33 ตอน 0 ง (2459, 29 ตุลาคม): หน้าที่ 1,931.  [ออนไลน์] แหล่งที่มาจาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/D/1931.PDF เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์2565]
  4. 4.0 4.1 4.2 ธนิต อยู่โพธิ์. 2520. ประวัติเครื่องดนตรีไทย และตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพมหานคร: จันวาณิชย์. [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) 19 กุมภาพันธ์ 2520]
  5. เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ [บรรณาธิการ]. 2555. ดนตรี-นาฏศิลป์แผ่นดินพระปกเกล้า. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบวันพระบรมราชสมภพ 119 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และครบรอบ 34 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 27 มิถุนายน 2555 ]
  6. เฉลิมเขตรมงคล, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. 2500. บทละครเรื่อง ปันหยีมิสาหรัง และรุ่งฟ้าดอยสิงห์. กรุงเทพมหานคร: อักษรประเสริฐ. [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล 26 มิถุนายน 2500]
  7. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. 2513. หลวงไพเราะเสียงซอ. วิทยาสารปริทัศน์ 9 (5 พฤษภาคม 2513)
  8. อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา.  2491.  ศิลปกับมนุษยชาติและร้องรำทำเพลง.  (ม.ป.ท.).  [ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ ไปล่ วรรณเขจร 2 ตุลาคม 2491]
  9. เจริญใจ สุนทรวาทิน.  2530.  ข้าพเจ้าภูมิใจที่เกิดเป็นนักดนตรีไทย.  กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้ว.  [เนื่องในโอกาสครบรอบวันเกิด 6 รอบ เจริญใจ สุนทรวาทิน 16 กันยายน 2530]
  10. ไพศาล อินทวงศ์ และคนอื่น ๆ.  25413.  ประเวช กุมุท สุดวิเศษ ประเวช กุมุท สุดจักหา.  กรุงเทพมหานคร: บริษัทเลิฟแอนด์ลิพเพรส จำกัด.  [ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ประเวช กุมุท ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) 22 มิถุนายน 2543]
  11. 72 ฝนคนดนตรี ศิลปี ตราโมท. 2550. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).
  12. ไพศาล ซอลออเอกละองค์สลัก.  2557.  (ม.ป.ท.).  [อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ ไพศาล อินทวงศ์ 22 มิถุนายนพ.ศ. 2557]
  13. ชนัสถ์นันท์ ประกายสันติสุข.  2552.  อาศรมศึกษา : รองศาสตราจารย์บุญเสริม ภู่สาลี. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  14. ผานิต บุญมาก.  2560.  สี่สายไวโอลิน : ชีวิต-ผลงาน โกวิทย์ ขันธศิริ.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  15. พูนพิศ อมาตยกุล และคนอื่น ๆ. 2550.  จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล : งานวิจัยเอกสารและลำดับเหตุการณ์ พุทธศักราช 2411-2549. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). [จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ครองราชสมบัติครบ 60 ปี]
  16. วราภรณ์ เชิดชู.  2557.  อาศรมศึกษาอาจารย์เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  17. ชาคริต เฉลิมสุข.  2551.  อาศรมศึกษาอาจารย์จีรพล เพชรสม. อาศรมศึกษาในวิชาเฉพาะ, สาขาวิชาดุริยางค์ไทยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  18. พระราชทานยศ
  19. "พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.