หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายพันโท
หลวงพิสณฑ์ยุทธการ
(ปึก โรจนกุล)
ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
กรมยุทธนาธิการ
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ปรากฏ
แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
เสียชีวิตพ.ศ. 2477
แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
บุตร2 คน
1.พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล)
2. ร.อ.ต. โปรด โรจนกุล
บุพการี
อาชีพทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
กระทรวงกลาโหม
ประจำการพ.ศ. 2431 – พ.ศ. 2477
ยศ พันโท

นายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (พ.ศ. ไม่ปรากฏ – พ.ศ. 2477) มีนามเดิมว่า ปึก เป็นข้าหลวงทหารราบประจำกองพันตรีมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารบกราบที่ ๑ (มหาดเล็กรักษาพระองค์)[1]: 130  อดีตนายทหารสังกัดกรมยุทธนาธิการ[note 1] อดีต ผบ.ร.พัน 30 (ลำปาง)[note 2] ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 รัชสมัยวาระนายพลเอก สมเด็จฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ (พระยศในขณะนั้น) เป็นผู้บังคับบัญชา

ประวัติ[แก้]

หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) เกิดในกรุงเทพพระมหานครที่บ้านช่างหล่อ ราวสมัยรัชกาลที่ 3 บิดาชื่อ หลวงลิขิตปรีชา (คุ้ม โรจนกุล) รับราชการในกรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง (วังหน้า) บุตรชื่อ พระยาชำนาญอักษร (ปลอบ โรจนกุล)[3] และรองอำมาตย์ตรี โปรด โรจนกุล[4]

เดิมนายปึก รับราชการเป็น หุ้มแพรมหาดเล็ก (บ้างก็เรียกว่านายทหารแถว) ในกรมทหารมหาดเล็ก[1]: 10  ต่อมาจึงได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น นายพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) และเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ในช่วงไปรับราชการที่เมืองอุบลราชธานี หลังจากที่ ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) กลับราชการจากเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน จุลศักราช 1251 (ตรงกับ พ.ศ. 2432)[5]: 126 [6]: 133 

ในปี พ.ศ. 2431 นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ โปรดให้จัดตั้งกองทหารประจำการตามหัวเมืองต่างๆ อย่างแบบยุโรป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ว่าที่นายพันตรี หลวงพิพักษ์นรินทร์ (ผึ้ง) เป็นผู้บังคับกองทหารคนแรก นับว่าเป็นการการตั้งกองทหารแบบยุโรปเป็นครั้งแรก ซึ่งขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ได้รับพระราชทานพระกรุณาให้เข้าร่วมกองทหารแบบใหม่นี้ด้วย ในการนี้กรมมหาดไทยได้นำขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) และนายทหารอีก 7 นายเข้าเฝ้าถวายบังคมลา[7]: 101  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ไปประจำกองทหารประจำการ ณ เมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง กับกองทหารของ ว่าที่นายพันตรี หลวงพิทักษ์นรินทร์ (ผึ้ง) ที่บริเวณทุ่งศรีเมือง จุลศักราช 1251 ปีฉลู ตรงกับ พ.ศ. 2432

ปรากฏใน พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ ของหม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม) ว่า :-

โปรดเกล้า ฯ ให้กรมยุทธนาธิการส่งนายร้อยเอก ขุนพิศลยุทธการ (ปึก) ๑ นายร้อยตรีชื่น ๑ นายร้อยตรีคำ ๑ นายร้อยตรีพลับ ๑ นายร้อยตรีพึ่ง ๑ นายร้อยตรีวาด ๑ นายร้อยตรีพรหม ๑ กับพลแตรเดี่ยว ๑ ขึ้นไปรับราชการกับ ว่าที่นายพันตรี หลวงพิทักษ์นรินทร์ (ผึ้ง) ขุนพิศล ฯ กับนายร้อย ๗ นาย ได้ไปถึงเมืองอุบลเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม แล้วหลวงพิทักษ์นรินทร์จัดให้ ขุนพิศลฯ ๑ นายร้อยตรีพึ่ง ๑ นายร้อยตรีคล้าย ๑ นายร้อยตรีคำ ๑ ไปรับราชการอยู่กับหลวงพิทักษ์นรินทร์ (ผึ้ง) ณ ด่านเมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง แลจัดให้นายร้อยตรีวาด ๑ นายร้อยตรีชื่น ๑ นายร้อยตรีพลับ ๑ นายร้อยตรีพรหม ๑ ไปรักษาราชการหน้าด่านเมืองนครจำปาศักดิ์...[8]: 171 [5]: 115 [9]: 170 

ในขณะที่ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ประจำกองทหารครั้งนั้นอยู่เกือบปี ปรากฏว่า นายร้อยตรีคำ ในกองทหาร ป่วยเป็นไข้พิศม์ หรือไข้อายพิศม์[note 3] ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2432 ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) จึงได้ประกอบพิธีศพตามธรรมเนียม ปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๓๓ ว่า "...บอกพระราชเสนาข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๐๘ ว่า นายร้อยตรี นายคำ ซึ่งไปราชการเมืองตะโปนป่วยเป็นไข้พิศม์ พอ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม นายร้อยตรี นายคำถึงแก่กรรม นายร้อยเอก ขุนพิสณฑ์ (ปึก) จัดการไหว้ศพตามธรรมเนียม..."[11]: 94  และได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่นั่นกระทั่งกลับราชการจากเมืองอุบลราชธานีมายังกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2434[9]: 183 

เมื่อ พ.ศ. 2435 ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ได้เป็นนายร้อยโทชั้นสัญญาบัตร เข้าประจำกองพันตรี กองทหารราบในมหาดเล็กรักษาพระองค์[12]: 258  กรมทหารบกราบที่ ๑ (มหาดเล็กรักษาพระองค์) โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช ทรงเป็นผู้บังคับการในขณะนั้น[1]: 41–42 

เมื่อ พ.ศ. 2436 ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ได้ไปเข้าร่วมราชการทหารกับกองทหารของพระพิเรนทรเทพ[13]: 258  เพื่อไปรักษาหัวเมืองลาวกาวมีหัวเมืองสำคัญ 7 เมือง[14]: 72  ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม และเมืองกาฬสินธุ์ โดยพระยาจ่าแสนบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย นำข้าราชการฝ่ายทหารเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมทูลลาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน

เมื่อ พ.ศ. 2441 ภายหลังมียศที่นายพันตรี ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ได้เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 30 (ผบ.ร.พัน 30) (ลำปาง) กรมยุทธนาธิการ และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ถือศักดินา 800[15]: 490  ระหว่างรับราชการเมื่อ พ.ศ. 2445 ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ 34 บาท[16]: 740  เพื่อก่อสร้างโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล มลฑลอุดร ในคราวเหตุการณ์เพลิงไหม้ของโรงเรียนสอนหนังสือไทยบ้านหมากแข้ง (ชื่อโรงเรียนเดิม) ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงสร้างไว้ กระทั่งปลดประจำการเป็นทหารกองหนุน กระทรวงกลาโหม มียศสุดท้ายเป็น นายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ถือศักดินา 2000[17]: 362 

เมื่อ พ.ศ. 2460 หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ได้เป็นทหารอาสาสมัครไปปฏิบัติภารกิจราชการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ไปจนถึงทวีปยุโรป[18]: 53  อันเนื่องมาจากประกาศเสนาบดีกระทรวงหลาโหมเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความประสงค์เต็มใจอาสาในการสงคราม เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2460[1]: 107 

หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2477 เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) คุณหญิงรามราฆพ (ประจวบ พึ่งบุญ) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และ พล.ต.ต.นิตย์ สุขุม บุตรเจ้าคุณยมราชได้กระทำฌาปนกิจศพเมื่อวันอาทิยต์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2477 เพลาบ่าย ณ วัดอมรินทรารามวรวิหาร[19]

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • หุ้มแพรมหาดเล็ก[1]: 10 
  • นายพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก) ศักดินา 500[20]: 8 
  • ขุนพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก)
  • หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก)[21]: 118  ศักดินา 2000[17]: 362 

ยศทหาร[แก้]

  • นายร้อยตรี
  • นายร้อยโท[22]: 258 
  • นายร้อยเอก
  • นายพันตรี[23]: 442 
  • นายพันโท[24]: 110 

หมายเหตุ: ชื่อบรรดาศักดิ์จากหลักฐานบ้างก็ปรากฏว่า พิสณฑ์ยุทธการ พิศลยุทธการ หรือ พิสันฑ์ยุทธการ[25]: 153  ทว่าหลักฐานต่างๆ กล่าวว่าข้าราชการผู้นี้มีนามเดิมชื่อ ปึก ตรงกัน

ตำแหน่งราชการ[แก้]

  • หุ้มแพร กรมทหารมหาดเล็ก
  • พ.ศ. 2435 นายร้อยโทประจำกองพันตรีทหารราบ กองทหารราบในมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารบกราบที่ ๑ (มหาดเล็กรักษาพระองค์) กรมยุทธนาธิการ[22]: 258 
  • พ.ศ. 2441 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 30 (ผบ.ร.พัน 30) (ลำปาง) กรมยุทธนาธิการ
  • พ.ศ. 2443 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 มณฑลฝ่ายเหนือ (ผบ.ร.7)[23]
  • พ.ศ. 2451 ข้าหลวงทหารบกประจำมณฑลกรุงเทพ (สัสดีมณฑล)[26]: 43 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

เชิงอรรถ
  1. กรมยุทธนาธิการ คือ กรมรวมระหว่างทหารบกกับทหารเรือ ตามพระราชบัญญัติจัดการทหาร เมื่อวันศุกร์เดือน ๕ แรมค่ำ ๑ ปีกุน อัฐศกจุลศักราช ๑๒๔๘ (คือ พ.ศ. ๒๔๓๐)[1]: 37 
  2. หนังสือกรมพระราชวังหลัง เขียนว่า ร.พัน ๓๐ (ลำปาง) ผบ.พัน พ.ต.ขุนพิสณฑ์ยุทธการ[2]
  3. หมอบรัดเล ให้คำจำกัดความว่า หมายถึง โรคลมมีพิศม์ เสมือนพิศม์งู[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 วรการบัญชา, พันเอก นาย. (2496). ตำนานทหารมหาดเล็ก. พันเอก นายวรการบัญชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ พิมพ์ถวายสนองพระคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตร วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๖. พระนคร: ประชาช่าง. 302 หน้า.
  2. ยิ้ม บัณฑยางกูร. (2534). กรมพระราชวังหลัง อนุสรณ์ พลตรี ม.ล.จวง เสนีวงศ์ (หลวงเสนียุทธกาจ). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศก พลตรี ม.ล. จวง เสนีวงศ์ ท.ช., ท.ม. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยราม วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรโปรดัดส์ จำกัด. 167 หน้า. ISBN 974-417-187-1
  3. ข่าวตาย. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๐, ๑๑ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๔. หน้า ๒,๙๕๙ – ๒,๙๖๐.
  4. ข่าวตาย. เก็บถาวร 2023-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (๒๔๗๒, ๕ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๔๖. หน้า ๓,๕๑๒.
  5. 5.0 5.1 อมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร), หม่อม. (2516). เมืองในภาคอิสาน. พระนคร: กรมศิลปากร. 269 หน้า.
  6. อมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร), หม่อม. ประชุมพงศาวดารภาค ๔ และประวัติท้องที่จังหวัดมหาสารคาม.
  7. ข้าราชการถวายบังคมลา. (ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. 2432), ๑๗ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๖.
  8. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2459). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 4. 222 หน้า.
  9. 9.0 9.1 อมรวงษ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร), หม่อม. (2458). "พงษาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ", ใน ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๔. อำมาตย์เอก พระยาศรีสำรวจ (ชื่น ภัทรนาวิก) ม.ม,ท.ช,รัตน ว,ป,ร.๔ พิมพ์แจกในงานศพพัน ภัทรนาวิก ผู้มารดา เมื่อปีเถาะ สัปตศก พ.ศ. ๒๔๕๘. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร.
  10. แดน บีช บรัดเลย์. (2514). หนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมดบลัดเล (Dictionary of the SIAMESE LANGUAGE by D.B.Bradley) 1873. พระนคร: คุรุสภา.
  11. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๓๓. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, 2514. 424 หน้า.
  12. ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ เก็บถาวร 2019-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ร.ศ. ๑๑๑ (พ.ศ. 2435), ๓๐ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๙. ตอนที่ ๓๑.
  13. ข้าราชการถวายบังคมลา. (ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. 2436), ๑๑ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๐. ตอนที่ ๓๑.
  14. ภูเดช แสนสา (ปริวรรต) (แต่ง), หออัตลักษณ์นครน่าน (เผยแพร่). ชาติพันธุ์ในเมืองน่าน.
  15. ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน. (ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. 2441), ๕ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๕.
  16. แจ้งความกระทรวงธรรมการ พแนกกรมศึกษาธิการ. (ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. 2445), 14 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๙.
  17. 17.0 17.1 สำนักราชเลขาธิการ. (2540). "ศักดินาทหารบก", พระราชบัญญัติศักดินาทหาร จุลศักราช ๑๒๕๐. กฎหมายในรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ นายจิตติ ติงศภัทิย์ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 857 หน้า. ISBN 974-827-469-1
  18. 18.0 18.1 กฤตภาส โรจนกุล. (2554). โรจนกุล ชีวประวัติและเชื้อสายสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท.].
  19. เรื่องเล่าจากอดีต. (2564, 30 มีนาคม). บ้านนรสิงห์ ตอนที่ ๖๕ จากสมุดบันทึกประจำวัน เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เขียนถึงบุคคลที่มาพบที่บ้านนรสิงห์... [โพสต์และรูปประกอบ]. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567 จาก Facebook @เรื่องเล่าจากอดีต.
  20. ก.ศ.ร. กุหลาบ ตฤษณานนท์. (2448). มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ว่าด้วยลำดับวงศ์ตระกูลขุนนางไทยทั้งสิ้นในแผ่นดินสยาม เล่มที่ 1. พระนคร: สยามประเภท.
  21. 21.0 21.1 21.2 อักขรานุกรมขุนนาง. โรงเรียนมหาดเล็ก, 2462.
  22. 22.0 22.1 ตำแหน่งนายทหารสัญญาบัตร กรมยุทธนาธิการ ในรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ : กองพันตรีทหารราบใน “มหาดเล็ก”. (๒๔๓๖, ๓๐ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๐ . หน้า ๒๕๘.
  23. 23.0 23.1 ตำแหน่งข้าราชการกรมทหารบก รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๘. (๒๔๔๓, ๒๒ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๖ หน้า ๔๔๒.
  24. เทพชู ทับทอง. (2528). ต้นตระกูลไทย: ราชสกุล–นามสกุลพระราชทาน. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์การพิมพ์. 186 หน้า.
  25. รุ่ม, มหาดเล็ก. (2459). หนังสืออุไภยพจน์วิภาค. พระนคร: หนังสือพิมพ์ไทย. 235 หน้า.
  26. 26.0 26.1 26.2 กรมเสนาธิการทหารบก. (2450). สมุดคู่มือสำหรับข้าราชการประจำปี ร.ศ. ๑๒๖. พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ. 357 หน้า.
  27. ประวัติกรมการสารวัตรทหารบก. หน้า 2. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2567.
  28. "เหล่าทหารสารวัตร", วิชากองทัพบกและเหล่าทหาร. นครนายก: กองวิชาเหล่าสนับสนุนการช่วยรบ ส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 328 หน้า.
  29. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ ๑๕ ธันวาม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๐ เก็บถาวร 2020-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 18. วันที่ 22 ธันวาคม ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444).
  30. พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. 2436), ๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๐.
บรรณานุกรม
  • บันทึกคำให้การของครอบครัวผู้สืบลงมาทางหลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก).
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2513). "เรื่องล้านช้าง", ใน นิทานโบราณคดี. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร. หน้า 304–306.
  • เติม สิงหัษฐิต. (2499). ฝั่งขวาแม่น้ำโขง. กรุงเทพฯ: ไทยสัมพันธ์. หน้า 120.
  • มหาสิลา วีรวงส์. (2544). ประวัติศาสตร์ชาติลาวตั้งแต่โบราณถึงปี 1946. เวียงจันทร์: มันตาตุลาด.