หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์
หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ | |
---|---|
![]() | |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์ภัทรสุข ศุขสวัสดิ หม่อมดวงแข จักรพันธุ์ ณ อยุธยา |
โอรสธิดา | หม่อมราชวงศ์อรชา จักรพันธุ์ หม่อมราชวงศ์ภัทรกัลยา จักรพันธุ์ หม่อมราชวงศ์ธีรภัทร์ จักรพันธุ์ หม่อมราชวงศ์รณจักร์ จักรพันธุ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ |
พระมารดา | หม่อมลำไย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา |
ประสูติ | 17 กันยายน พ.ศ. 2459 |
ชีพิตักษัย | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (82 ปี) |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์ (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์) และหม่อมลำไย จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ประสูติเมื่อ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ที่วังจักรพันธุ์ ถนนหลานหลวง
ประวัติ[แก้]
เมื่อมีชันษาได้ ๗ ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ พระปิตุลา ซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำหม่อมเจ้าอัชฌาขึ้นถวายตัวให้อยู่ในพระราชอุปการะ และได้ย้ายไปพำนักในพระราชวังดุสิตเพื่อถวายการรับใช้ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดห้องนอนสำหรับเจ้านายรุ่นเล็กที่ทรงอุปการะเป็นห้องในพระที่นั่งอัมพรสถาน ใกล้กับองค์พระที่นั่งด้านศาลาทรงกีฬา โดยพักอยู่ห้องละ ๒-๓ องค์ ในการตามเสด็จไปยังที่ต่างๆก็ใช้วิธีผลัดเวรกันให้ไม่ตรงกับเวลาเรียน และนอกจากตามเสด็จในพระราชพิธี แต่งเครื่องแบบเพื่อเชิญพระมาลา เชิญพระแสง และตามเสด็จส่วนพระองค์อื่นๆเช่นทรงกีฬาหรือเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆในประเทศแล้ว ยังได้ตามไปถวายการรับใช้ในการเสด็จเยือนภาคพื้นยุโรปอย่างเป็นทางการในหลายประเทศ เช่น เยอรมนี เบลเยี่ยม เชกโกสโลวาเกีย ฮังการี สวิสเซอร์แลนด์ รวมถึงฝรั่งเศสอีกด้วย
ขณะมีชันษาได้ ๑๓ ปี หม่อมเจ้าอัชฌาได้ทรงร่วมแสดงในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องแหวนวิเศษ โดยทรงรับบทเป็น อ้ายขี้เกียจ ระหว่างการตามเสด็จประพาสเกาะพงันโดยเรือพระที่นั่งจักรี โดยใช้พระนามแฝงว่า เด็กชายไหน ปีปนนท์
หลังจากนั้นเมื่อเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติแล้วเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้าอัชฌาก็ได้ติดตามไปถวายการรับใช้ในต่างประเทศด้วย และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าอัชฌาซึ่งกำลังทรงศึกษาใกล้จบมหาวิทยาลัยปีสุดท้ายที่ราชวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรเข้าเฝ้าที่พระตำหนักเวนคอร์ต ในมณฑลเคนต์ ทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน แล้วมีรับสั่งว่า "ถ้าอยากอยู่ก็อยู่ต่อ ถ้าอยากจะกลับบ้านก็ให้กลับไปเสียเดี๋ยวนี้ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วอาจไม่ได้กลับเลย" หม่อมเจ้าอัชฌาจึงตัดพระทัยกราบถวายบังคมลากลับประเทศไทยพร้อมกับนายแพทย์กษาน จาติกวนิชและหม่อมราชวงศ์มรุต เทวกุล ซึ่งเป็นนักเรียนไทยในอังกฤษรุ่นสุดท้ายที่ได้กลับบ้านในช่วงนั้น
การศึกษา[แก้]
ทรงเริ่มต้นการเรียนที่โรงเรียนสตรีจุลนาค โดยร่วมเรียนกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต หม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์ เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง และหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ซึ่งเป็นพระญาติผู้น้อง หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ประมาณหนึ่งปี แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนราชกุมาร (เยาวกุมาร) ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต เมื่อทรงมีชันษาได้ ๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมต้นที่ Saint Hill Academy และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียน Phillips Andover Academy ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จปริญญาตรีสาขามานุษยวิทยา (Anthropology)จากราชวิทยาลัยแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยทรงเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ ทั้งยังทรงเป็นนักวิ่งแข่ง และนักยูโดสายดำ และยังโปรดการเล่นกีตาร์ไฟฟ้ากับการถ่ายภาพยนตร์อีกด้วย
การทรงงาน[แก้]
หลังเสด็จกลับประเทศไทย ตั้งพระทัยว่าจะสมัครเป็นทหาร แต่ไม่มีใครรับใบสมัคร จึงเบนเข็มไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการป่าของบริษัททำไม้ Bombay Burma ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อบริษัทปิดตัวลง จึงย้ายไปเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการเหมืองแม่เมาะที่ลำปาง และผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโรงงานกระดาษที่อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรีจนเกษียณอายุ หลังจากนั้น ทรงทำงานที่ศูนย์การแปลนานาชาติเพลินจิต พร้อมกับสอนวิชาการแปลในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญการแปลอาวุโสของกระทรวงยุติธรรม
หม่อมเจ้าอัชฌาทรงประสบมรสุมทางการเมืองมาตลอดพระชนม์ชีพ เนื่องจากทรงอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มาตั้งแต่ทรงเยาว์ หลังจากเกษียณอายุจึงทรงงานด้านการแปลและสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว
ครอบครัว[แก้]
เสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์ภัทรสุข ศุขสวัสดิ มีบุตร ธิดา คือ
๑. หม่อมราชวงศ์อรชา จักรพันธุ์ สมรสกับนายเฉลิมเกียรติ ณ ปั่น มีธิดา ๒ คนคือ
๑.๑. นางสาวดิศนัดดา ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา
๑.๒. นางสาวณปภัช จักรพันธุ์
๒. หม่อมราชวงศ์ภัทรกัลยา จักรพันธุ์ สมรสกับนายปริญญา โชติวิศรุต มีบุตรธิดา ๒ คนคือ
๒.๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์น้ำมนต์ โชติวิศรุต
๒.๒. นางฝนทิพ ราชเวียง
๓. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์ธีรภัทร์ จักรพันธุ์ สมรสกับนางพวงแก้ว จักรพันธุ์ ณ อยุธยา มีบุตร ๒ คนคือ
๓.๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงพันธุ์ภัทร์ จักรพันธุ์
๓.๒. หม่อมหลวงธนภัทร์ จักรพันธุ์
ต่อมาทรงหย่ากับหม่อมราชวงศ์ภัทรสุข ศุขสวัสดิ และเสกสมรสกับหม่อมดวงแข จักรพันธุ์ ณ อยุธยา มี บุตร 1 คน คือ
๑. หม่อมราชวงศ์รณจักร์ จักรพันธุ์ มีบุตรธิดา ๒ คนคือ
๑.๑. หม่อมหลวงอรณิชา จักรพันธุ์
๑.๒. หม่อมหลวงปารณัท จักรพันธุ์
หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ เริ่มประชวรเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ ทำให้อ่อนกำลังลงไปเรื่อย ๆ แม้ครอบครัวจะได้ถวายการรักษาเป็นอย่างดี ท้ายที่สุดสิ้นชีพิตักษัยด้วยพระโรคมะเร็งตับ สิริพระชนมายุ ๘๒ ชันษา ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบพระศพในวันอังคารที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๑ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ ศาลาสุภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพ ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เวลากลางคืน กำหนด ๗ คืน ตั้งแต่วันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๑ ถึงวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2470 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[1]
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของหม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- หนังสือ ๑๕๐ ปีสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์
- ใต้ร่มฉัตร เปิดเรื่องราวชีวประวัติหม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
- “ชีวิตเหมือนฝัน คุณหญิงมณี”จากเด็กไร้บ้าน มาเป็นสะใภ้หลวง
- รายงานวิจัย การสังเคราะห์ประวัติศาสตร์บอกเล่า ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ โดย รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล
- ๑๒๐ ปี ผ่านฟ้า ประชาธิปก. ผู้จัดพิมพ์ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เก็บถาวร 2020-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บทสัมภาษณ์เรื่อง "อดีตที่ยังไม่เลือนหาย หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์" โดยวนิดา-นรุตม์ จากนิตยสารแพรวฉบับที่ ๓๘๗ วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘
- หนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าอัชฌา จักรพันธุ์ ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 44 หน้า 1274 วันที่ 24 กรกฎาคม 2470