หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438
สิ้นชีพตักษัย11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (95 ปี)
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา
ลายพระอภิไธย

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย)

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 ที่วังสามยอด เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ได้ทรงศึกษาภาษาไทยชั้นต้นกับคุณหญิงวิทยาปรีชามาตย์ (อ่อง) และข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิอีกบางท่าน และทรงศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสกับครูสตรีชาวต่างประเทศเจ้าของภาษานั้น ๆ นอกจากทรงศึกษาความรู้รอบตัวจากพระบิดา และจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แล้ว ยังทรงศึกษาวิชาสำหรับกุลสตรีจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีด้วย

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ไทย และพระพุทธศาสนาจนทรงรอบรู้แตกฉาน นิพนธ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเรื่อง ศาสนคุณ ที่นิพนธ์ประกวดในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา พ.ศ. 2472 และได้รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ 1 นิพนธ์เรื่องอื่น ๆ ยังมีอีกหลายเรื่อง เช่น ชีวิตและงานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประเพณีไทย สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ฯลฯ และสารคดีอีกหลายเรื่อง นอกจากนี้ยังมีนิพนธ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบำเพ็ญกรณียกิจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดมาเป็นระยะเวลานานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 สิริชันษา 95 ปี

ผลงาน[แก้]

ผลงานสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล คือ ได้ทรงร่วมก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) และทรงดำรงตำแหน่งประธานขององค์การนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 จนถึง พ.ศ. 2527 กิจการขององค์การ พ.ส.ล. ให้ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นการถาวรอยู่ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยทงกุก โซล ประเทศเกาหลี ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางปรัชญา เมื่อ พ.ศ. 2510 ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์เพื่อศานติของมวลมนุษยชาติ และได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย : สารัตถะทักษสัมพันธ์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2546
  • กระดานข่าวสนทนาเกี่ยวกับหลักสูตรพระพุทธศาสนา เก็บถาวร 2004-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, พ.ศ. 2547. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9527-87-9
  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2523" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 97 (ตอนที่ 188): ฉบับพิเศษ หน้า 36. 5 ธันวาคม 2523. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2558. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2513" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 87 (ตอนที่ 45 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 46. 20 พฤษภาคม 2513. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "หม่อมเฉื่อย ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยมาภัย)". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระมหามนตรี (ทรัพย์ ยมาภัย)". นามานุกรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)