หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล
หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 วังตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ |
สิ้นชีพิตักษัย | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (81 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พระราชทานเพลิง | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ชายา | หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ กิติยากร |
บุตร |
|
ราชสกุล | โสณกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา |
พระมารดา | หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา |
อาชีพ | ทหาร |
พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) พระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ท่านรับราชการทหารจนได้รับตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้ชำนาญการทหารบก รวมถึงเคยเป็นราชองครักษ์เวร[1]
พระประวัติ
[แก้]พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล มีพระนามลำลองว่า ท่านชายจิ๋ว เป็นพระโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และท้าววรจันทร์ (วาด)) และหม่อมเอม (กุณฑลจินดา) ประสูติปีขาล วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 ณ วังตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ มีเจ้าพี่เจ้าน้อง รวม 12 องค์คือ
- หม่อมเจ้าหญิงประวาศสวัสดี
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
- พลตรี หม่อมเจ้าฉัตรมงคล
- หม่อมเจ้าหญิงสุมนมาลย์
- หม่อมเจ้าวารเฉลิมฉัตร
- หม่อมเจ้านักขัตดารา
- หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก
- หม่อมเจ้าหญิงสิบพันพารเสนอ
- หม่อมเจ้าหญิงเสมอภาค
- หม่อมเจ้าทวีธาภิเศก
- พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก
- หม่อมเจ้าหญิงอภิสิตสมาคม
ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงกัลยาณสมบัติ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ และหม่อมเจ้าหญิงอัปษรสมาน (เทวกุล) มีบุตร 4 คน และหลาน 6 คนคือ
- หม่อมราชวงศ์ธีรา สมรสกับปีเตอร์ โคเมอร์ มีบุตร 2 คนคือ
- พีรวุฒิ โคเมอร์
- เมธิต โคเมอร์
- หม่อมราชวงศ์ชาย (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เกิด)
- หม่อมราชวงศ์ศรี สมรสกับประพจน์ ลิมปิชาติ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นท่านผู้หญิง ในปี พ.ศ. 2546 มีบุตร 4 คนคือ
- พจกร ลิมปิชาติ
- ณพสิริ ลิมปิชาติ
- กิติสรา ลิมปิชาติ
- จิราภัสร ลิมปิชาติ
การศึกษา
[แก้]- 2 มีนาคม พ.ศ. 2462 – สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุด โรงเรียนนายร้อยทหารบก
- 31 สิงหาคม พ.ศ. 2466 – สำเร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อย Royal Military Academy ที่ Woolwith ประเทศอังกฤษ
- 3 กันยายน พ.ศ. 2468 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายทหารช่าง School of Military Engineering ที่ Chatham ประเทศอังกฤษ
- 18 สิงหาคม พ.ศ. 2470 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนวิทยุของบริษัทมาร์โคนี (Marconi College) ที่ Chelmsford ประเทศอังกฤษ
- 23 กันยายน พ.ศ. 2471 – สำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนนายทหารสื่อสารทหารบก (Army School of Signals ที่ Catterick Camp ประเทศอังกฤษ
การทำงาน
[แก้]ตำแหน่ง
[แก้]- 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 – เข้าเป็นนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยทหารบก
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – เป็นนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารบก ช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- 28 มกราคม พ.ศ. 2470 – เป็นนายทหารนอกกอง สังกัดกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2473 – ประจำกองบังคับการ ช.1 รักษาพระองค์
- เมษายน พ.ศ. 2474 – ผู้บังคับการ ช.1 รอ.พัน.ส.1 ร้อย 2.
- 1 เมษายน พ.ศ. 2475 – ประจำกรมจเรทหารบก
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – ประจำกองบังคับการทหารช่างและสื่อสาร
- 1 เมษายน พ.ศ. 2476 – ประจำแผนกที่ 5 กรมจเรทหารบก
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – เป็นแม่กองรักษาการณ์ แผนกทหารสื่อสาร
- 31 มีนาคม พ.ศ. 2488 – ไปรักษาการผู้ช่วยแม่กอง รง.ส.ฝทบ. อีกตำแหน่งหนึ่ง
- 1 มกราคม พ.ศ. 2489 – เป็นหัวหน้าแผนกเทคนิค กรมจเร ส.
- 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – ประจำกรมเสนาธิการทหารบก
- 17 เมษายน พ.ศ. 2490 – เป็นหัวหน้าแผนกเทคนิค กรมจเรทหารสื่อสาร
- 8 ธันวาคม พ.ศ. 2490 – เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์ และราชองครักษ์ประจำพระองค์[2]
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2494 – เป็นนายทหารฝ่ายเทคนิค กรมจเรทหารสื่อสาร
- 8 กันยายน พ.ศ. 2494 – เป็นรองจเรทหารสื่อสาร
- ตุลาคม พ.ศ. 2495 – รองเจ้ากรมทหารสื่อสาร
- 13 ตุลาคม พ.ศ. 2498 – ผู้ชำนาญการกองทัพบก[3]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 – ครบเกษียณอายุ
ตำแหน่งพิเศษ
[แก้]- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2500 จนเกษียณอายุ – ราชองครักษ์เวร[4]
ราชการทัพ
[แก้]- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2483 – 28 เมษายน พ.ศ. 2484 – ไปราชการในคราวพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศสในกรณีเรียกร้องขอดินแดนคืน
- 9 มีนาคม พ.ศ. 2488 – 1 มกราคม พ.ศก 2489 – กรณีฉุกเฉินคราวสงครามมหาเอเชียบูรพา
- 30 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – ในกรณีจราจล 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494
- 17 กันยายน พ.ศ. 2500 – 9 มกราคม พ.ศ. 2501 – ในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก 16 กันยายน พ.ศ. 2500[5][6]
- 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 – 30 กันยายน พ.ศ. 2505 – ในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึก 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501[7]
สิ้นชีพิตักษัย
[แก้]พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงนํ้าดี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 สิริพระชนมายุ 81 ปี 1 เดือนพอดี
ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานเพลิงพระศพ ใน เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[8]
พระเกียรติยศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2504 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[11]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[12]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[13]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[14]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[16]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พระยศ
[แก้]พระยศทางทหาร
[แก้]- 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2453: นักเรียนนายร้อยทหารบก
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2468: นายร้อยตรี[18]
- 28 มกราคม พ.ศ. 2470: นายร้อยโท[19]
- 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473: นายร้อยเอก[20]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2482: นายพันตรี[21]
- 15 กันยายน พ.ศ. 2486: พันโท[22]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491: พันเอก[23]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2498: พลจัตวา[24]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2501: พลตรี[25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนารายงานคณะราชทูตไทยไปสหรัฐอเมริกา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส" (PDF). finearts.go.th. กรมศิลปากร. 22 ธันวาคม 2526. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๒ ง หน้า ๓๔๗๖, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๘๔ ง หน้า ๒๕๗๘, ๒๕ ตุลาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๒๐๖๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๗๖ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลิกใช้กฎอัยการศึก, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๔ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๐ มกราคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศใช้กฎอัยการศึก, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๘๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก พระบรมมหาราชวัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษหน้า ๕, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๘๕, ๓๐ กันยายน ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๖๓ ง หน้า ๓๗๐๕, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๕๔๓๓, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๕๕, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศทหารบก, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๖๖, ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๘๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๒, ๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร เก็บถาวร 2020-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๓๑๕๙, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๓๕ ง หน้า ๑๙๒๔, ๒๒ มิถุนายน ๒๔๙๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๒ มกราคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๐๒๐, ๘ เมษายน ๒๕๐๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2445
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2526
- หม่อมเจ้าชาย
- ราชสกุลโสณกุล
- ทหารบกชาวไทย
- ราชองครักษ์เวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.4
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3