ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรีกร สุริยง
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด12 กันยายน พ.ศ. 2506 [1]
หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง
ประเทศไทย
เสียชีวิต25 กันยายน พ.ศ. 2565 (59 ปี)
โรงพยาบาลมิชชั่น กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสชนันธร บุญราย
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
ปีที่แสดงพ.ศ. 2525–2564
ผลงานเด่นเพชรตัดหยก (2525)
ลูกสาวนักเลง (2525)
ไอ้ผาง ร.ฟ.ท. (2525)
ปลุกมันขึ้นมาฆ่า (2530)
เกิดมาลุย 3 อัดเต็มพิกัด (2533)
รางวัล
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินดาวรุ่งหญิง
พ.ศ. 2525 – เพชรตัดหยก

หม่อมหลวงสุรีกร สุริยง เป็นที่รู้จักในนามเดิม หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง (12 กันยายน พ.ศ. 2506 – 25 กันยายน พ.ศ. 2565) ชื่อเล่น คุณปุ้ม เป็นอดีตที่ปรึกษาเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นพิธีกร และอดีตนักแสดงหญิงชาวไทย ในฐานะนักแสดงเธอได้รับฉายา ราชินีหนังบู๊ ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาเงินดาวรุ่งหญิง จากภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดหยก (2525)

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

หม่อมหลวงสุรีย์วัลเป็นบุตรคนที่ห้าจากทั้งหมดเจ็ดคน[2] ของหม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง กับอัมพร ประทีปะเสน ซึ่งเป็นนักร้อง ทั้งนี้หม่อมราชวงศ์ธิติสารเป็นโอรสในหม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง กับสุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต เป็นนางละครและนักแสดง หม่อมหลวงสุรีย์วัลเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส เป็นเหลนของเจอ บุรานนท์ นักร้องและครูเพลงประจำสำนักของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์[3] และเป็นหลานลุงของทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ซึ่งเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงเช่นกัน[4]

หม่อมหลวงสุรีย์วัลสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านสื่อสารมวลชนจาก New York Institute of Technology โดยในช่วงที่ศึกษาอยู่ในนิวยอร์ก สหรัฐ เธอได้คบหากับชนันธร บุญราย (นามเดิม ชนินทร์ บุญราย) ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 [5] และสมรสในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ที่แมนแฮตตัน นิวยอร์ก สหรัฐ

ล้มป่วยและเสียชีวิต

[แก้]

หม่อมหลวงสุรีย์วัลเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564 เนื่องจากไม่มีแรงเพราะเส้นเลือดในสมองแตก จึงเข้ารับการผ่าตัดสมองโดยด่วน แต่หลังจากนั้นก็พบว่าเป็นผลจากการป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ ส่งผลทำให้สมองเสียหายมากถึง 3 ใน 4 ส่วน[5] แพทย์ให้ความเห็นว่า ร่างกายและสมองไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวกลับมาสู่สภาพเดิมได้อีก จึงรักษาแบบประคองอาการ งดเยี่ยม และอยู่ในโรงพยาบาลมาตลอด[6] หลังการผ่าตัดหม่อมหลวงสุรีย์วัลพูดไม่ได้ ต้องสื่อสารด้วยการกระพริบตาหรือขยับปาก[5]

หม่อมหลวงสุรีย์วัลเสียชีวิตเมื่อเวลา 03.45 น. ของวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 ที่โรงพยาบาลมิชชั่น หลังรักษาอาการป่วยเป็นเวลานาน[7] มีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ก่อนได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 และลอยอังคารที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 2 ตุลาคมปีเดียวกัน[8]

การทำงาน

[แก้]

เข้าสู่วงการภาพยนตร์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2524 จากบทบู๊เรื่อง เพชรตัดหยก คู่กับสรพงศ์ ชาตรี ร่วมด้วยฉี เส้าเฉียน และนันทิดา แก้วบัวสาย กำกับการแสดงโดยคมน์ อรรฆเดช [9]และสามารถคว้ารางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิงมาครองเป็นที่รู้จักทั่วไป จึงแสดงแนวนี้เรื่อยมา จนได้ฉายา ราชินีหนังบู๊ หม่อมราชวงศ์ธิติสาร บิดา กล่าวว่า หม่อมหลวงสุรีย์วัลฝึกซ้อมการแสดงบทบู๊ผาดโผนอยู่เสมอ รวมทั้งแสดงโดยไม่ใช้นักแสดงแทน "...อย่างเล่นเรื่องหนึ่งกับสรพงศ์ ชาตรี ปีนบนหลังคารถไฟ แล้วรถไฟกำลังวิ่งด้วย เขากล้าเล่นได้ยังไง ไม่มีสแตนอินด้วย แล้วฟิล์มนี้ต้องส่งไปญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องซูมภาพเข้าไป ถามมาว่าสแตนอินหรือเปล่า ญี่ปุ่นไม่เชื่อว่าเล่นเอง แต่เขาเล่นเอง เขาเป็นคนกล้ามากจริง ๆ..."[5] ขณะที่หม่อมหลวงชัชฎาภา สุริยง พี่สาว กล่าวว่า "...ปุ้ม เป็นคนที่แข็งแรงที่สุด มีวินัยในการดูแลสุขภาพร่างกาย การออกกำลังกายและเรื่องโภชนาการ เธอจะเข้มงวดมาก..."[10]

หม่อมหลวงสุรีย์วัลมีผลงานแสดงบทบู๊ตามมาอีกหลายเรื่อง โดยมีครูฝึกคิวฉากต่อสู้ คือ พันนา ฤทธิไกร ซึ่งต่อมาเป็นผู้กำกับหนังสายตามโรงชานเมืองและต่างจังหวัด ที่ยังคงร่วมงานด้วยในระยะหลัง ทั้งนี้ นักแสดงชายที่แสดงคู่กับหม่อมหลวงสุรีย์วัลมากที่สุดคือ สรพงศ์ ชาตรี และทูน หิรัญทรัพย์

หลังจบปริญญาตรีหม่อมหลวงสุรีย์วัลได้เข้าทำงานที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ช่อง 3 2 ปี ก่อนย้ายไปทำรายการสีสันบันเทิง [11] โดยเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง โปรดิวเซอร์ และพิธีกรคนแรกของรายการ จากนั้นลาออกจากช่องสามเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ

หลังจากกลับมาจากสหรัฐฯในปี พ.ศ. 2548 หม่อมหลวงสุรีย์วัลได้เป็นผู้บริหารฝ่ายข่าวบันเทิง โปรดิวเซอร์รายการผู้หญิงถึงผู้หญิงสวย โปรดิวเซอร์และผู้ประกาศข่าวกีฬา (รายการทันโลกกีฬา) ช่วง Have A Nice Day คู่กับชนันธรทางช่อง 3 และเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]
  • พ.ศ. 2525 - เพชรตัดหยก
  • พ.ศ. 2525 - ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.
  • พ.ศ. 2525 - เพลิงภูหลวง
  • พ.ศ. 2525 - วังผาเดือด
  • พ.ศ. 2525 - ลูกสาวนักเลง
  • พ.ศ. 2526 - แควมหาโหด
  • พ.ศ. 2526 - แหกนรกเวียตนาม
  • พ.ศ. 2526 - เจ้าสาวนักเลง
  • พ.ศ. 2526 - 7 พระกาฬ
  • พ.ศ. 2526 - พญายมพนมรุ้ง
  • พ.ศ. 2526 - ยอดพยัคฆ์นักเพลง
  • พ.ศ. 2526 - สิงห์ตีนสั่ง
  • พ.ศ. 2526 - เห่าดง
  • พ.ศ. 2526 - ลูกสาวเจ้าพ่อ
  • พ.ศ. 2526 - สิงห์ด่านเกวียน
  • พ.ศ. 2526 - ไอ้ ป.4 (ไม่มีเส้น)
  • พ.ศ. 2526 - พยัคฆ์ยี่เก
  • พ.ศ. 2526 - สาวแดดเดียว
  • พ.ศ. 2527 - สิงห์รถบรรทุก 2
  • พ.ศ. 2527 - หน่วย 123
  • พ.ศ. 2527 - เหล็กเพชร
  • พ.ศ. 2527 - คาดเชือก
  • พ.ศ. 2527 - ยันต์สู้ปืน
  • พ.ศ. 2527 - แตนป่าแตก
  • พ.ศ. 2527 - นักสู้หน้าเซ่อ
  • พ.ศ. 2527 - ผ่าโลก 2 แผ่นดิน
  • พ.ศ. 2528 - ปลัดเพชรบ่อพลอย
  • พ.ศ. 2528 - คนดีที่บ้านด่าน
  • พ.ศ. 2528 - ทับทิมโทน
  • พ.ศ. 2528 - มือปืนคาราบาว
  • พ.ศ. 2529 - สิงห์ต้องสู้
  • พ.ศ. 2529 - ซิ่งวิ่งลุย
  • พ.ศ. 2529 - มือปราบมหากาฬ
  • พ.ศ. 2530 - ปลุกมันขึ้นมาฆ่า
  • พ.ศ. 2531 - สู้กับผีหนีไม่ได้
  • พ.ศ. 2531 - คนหินจอมทรหด
  • พ.ศ. 2531 - นักรบดำ
  • พ.ศ. 2533 - เกิดมาลุย 3
  • พ.ศ. 2533 - โหดตามคิว
  • พ.ศ. 2533 - กองทัพเถื่อน
  • พ.ศ. 2534 - ตังเกเดือด
  • พ.ศ. 2535 - เพชฌฆาตดำ 2

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Genealogy database
  2. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  3. "ตอนที่ 108 ครูเจอ บุรานนท์ เพลงพม่ามังศรี". หอสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "อาลัยแด่นักร้องเสียงอ้อน "ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา"". ผู้จัดการออนไลน์. 23 พฤศจิกายน 2550. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "รดน้ำศพ "ม.ล.สุรีย์วัล สุริยง" พ่อขอให้ลูกไปอยู่กับปู่ - ย่า - พี่ - น้อง - แม่ สู่สุคติชั่วนิจนิรันดร์ สามีบอกลาสุดเศร้า". ผู้จัดการออนไลน์. 26 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "สามีเผย ม.ล.สุรีย์วัล ร่างกาย-สมอง คงไม่ฟื้นสภาพเดิม งดเยี่ยม ให้วิดีโอคอล". ไทยรัฐออนไลน์. 13 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ""หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง" เสียชีวิตแล้ว ปิดตำนาน "ราชินีนักบู๊" เมืองไทย". คมชัดลึก. 25 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "กำหนดการพิธีสวดพระอภิธรรม "ม.ล.สุรีย์วัล สุริยง"". TNN. 25 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "ราชินีนักบู๊ มล.สุรีย์วัล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-23.
  10. "เคลื่อนร่าง 'ม.ล.สุรีย์วัล' ถึงวัด พี่สาวเผยเป็นคนเข้มแข็งสมฉายาราชินีนักบู๊". มติชนออนไลน์. 26 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์, 16 ธันวาคม 2535, "บันทึกของกาลเวลา"
  12. เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสนตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิษณุโลกการพิมพ์, 2532, หน้า 85