หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา
เสียชีวิตพ.ศ. 2477
คู่สมรสพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
บุตรหม่อมเจ้าชายธำรงวรวัฒน์
หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์
บิดามารดาหม่อมหลวงชื่น อภัยกุล
หม่อมหลวงตาด เจษฎางกูร

หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา หรือ หม่อมครูนุ่ม (สกุลเดิม: อภัยกุล; ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2477) เป็นหม่อมใน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ เป็นนางละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม หม่อมครูนุ่มเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวนาง ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ[1]

ประวัติ[แก้]

หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา เป็นธิดาของหม่อมหลวงชื่น อภัยกุล กับหม่อมหลวงตาด (สกุลเดิม: เจษฎางกูร)[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้เข้ามาเป็นตัวละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม ซึ่งคณะละครนั้นได้ตกทอดไปถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญพระราชโอรสในเจ้าคุณจอมมารดาเอม

ต่อมาได้เป็นหม่อมในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ พระอนุชาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ต้นราชสกุลนวรัตน มีพระโอรสธิดาคือ

  1. หม่อมเจ้าชายธำรงวรวัฒน์ นวรัตน (พ.ศ. 2424 — พ.ศ. 2489)
  2. หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์ นวรัตน (พ.ศ. 2427 — ?) เสกสมรสกับพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์

ภายหลังได้เข้ามาเป็นครูละครวังสวนกุหลาบ เป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวนาง ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหลาบ ท่ารำเฉพาะบทบาท และท่ารำเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญของตัวละครนางเอก และนางรอง

หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา ได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2477 และได้ทำการฌาปนกิจศพเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2477[2]

ผลงาน[แก้]

วิชาความรู้จากหม่อมครูนุ่ม และใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาลัยนาฏศิลป 12 แห่งทั่วประเทศ มีดังนี้

  1. รำเชิดฉิ่งของตัวนาง อาทิ นางเบญกาย นางเมขลา (เรื่อง รามเกียรติ์) นางศุภลักษณ์ (เรื่อง อุณรุฑ)
  2. ท่ารำเพลงหน้าพาทย์สำคัญๆ ของตัวละครนาง เช่น เพลงโลม เพลงตระนอน เพลงตระนิมิต เพลงตระบองกัน
  3. ท่ารำกริชดรสา (เรื่อง อิเหนา)
  4. ท่ารำบุษบาชมศาล (เรื่อง อิเหนา)
  5. ท่ารำชุดศุภลักาณ์วาดรูป (เรื่อง อุณรุฑ)
  6. ท่ารำชุดศุภลักษณ์อุ้มสม (เรื่อง อุณรุฑ)
  7. รำฝรั่งคู่ (ตัวละครนาง)
  8. ท่ารำฉุยฉายชุดต่างๆ ที่เป็นบทบาทของตัวละครนาง เช่น ฉุยฉายเบญกาย ฉุยฉายยอพระกลิ่น ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายศูรปนขา วิยะดาทรงเครื่อง รจนาเลือกคู่
  9. บทบาทของตัวละครนางในเรื่องต่างๆ นางมะเดหวี นางดรสา (เรื่อง อิเหนา) นางศุภลักษณ์ (เรื่อง อุณรุฑ) นางมณฑา นางจันทร์ (เรื่อง สังข์ทอง) นางเกสรสุมณฑา (เรื่องสังข์ศิลป์ชัย) นางเฒ่าทัศประสาท นางคันธมาลี (เรื่อง คาวี) นางวารี นางสุวรรณมาลี (เรื่อง พระอภัยมณี) นางออยเงาะ (เรื่อง เงาะป่า)

หม่อมนุ่ม มีลูกศิษย์คนสำคัญอาทิ ครูเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง พ.ศ. 2530[3] และครูลมุล ยมะคุปต์

อ้างอิง[แก้]

  1. "หม่อมครูนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา". ช่างรำ. 13 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "การสืบทอดท่ารำ". บ้านจอมยุทธ์. 13 มีนาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. นางเฉลย ศุขะวณิช