อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

พิกัด: 9°25′N 97°52′E / 9.417°N 97.867°E / 9.417; 97.867
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หมู่เกาะสุรินทร์)
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
ที่ตั้งตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
(ที่ทำการฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลคุระ)
พิกัด9°25′N 97°52′E / 9.417°N 97.867°E / 9.417; 97.867
พื้นที่84,375 ไร่ (135 ตร.กม.)[1]
จัดตั้ง9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
ผู้เยี่ยมชม13,510[2] (2549)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน เป็นหมู่เกาะแรกแห่งน่านน้ำทะเลอันดามันของไทยที่ไม่อยู่ติดกับชายทะเลฝั่งไทย อยู่ติดกับชายแดนไทย–พม่า ทางเหนือติดกับหมู่เกาะคริสตีของประเทศพม่า หมู่เกาะสุรินทร์มีพื้นที่ประมาณ 84375 ไร่ ร้อยละ 76 ของพื้นที่เป็นทะเล ส่วนที่เหลือเป็นแผ่นดิน ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือ กองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 ของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์นับว่ามีธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งบนบกและในทะเล มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง แนวปะการังมีความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยกองหินริเชลิว เหมาะสำหรับดำน้ำลึก เป็นแหล่งสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายชนิด มีโอกาสพบฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน และหอยมือเสือ ปูเสฉวน นกกระแตผีชายหาด นกชาปีไหน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บ่าง[3]

หมู่เกาะสุรินทร์เป็นเกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงสามารถกำบังคลื่นลมได้ดีทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ "มอแกน" หรือ "ยิบซีแห่งท้องทะเล" ประมาณ 200 คนปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

อ้างอิง[แก้]

  1. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติ สู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 49
  2. สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
  3. วันนี้ในอดีต: 09 กรกฎาคม[ลิงก์เสีย] sarakadee.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]