หมู่สิ่งปลูกสร้างบนจัตุรัสแอมีร์ แชฆมอฆ
หมู่สิ่งปลูกสร้างแอมีร์ แชฆมอฆ | |
---|---|
مجموعه میدان امیرچخماق | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | ที่พักคาราวาน, มัสยิด |
สถาปัตยกรรม | ตีมูริด |
ที่ตั้ง | แยซด์ แคว้นแยซด์ ประเทศอิหร่าน |
พิกัด | 31°53′38″N 54°22′10″E / 31.893812°N 54.369466°E |
เริ่มสร้าง | จักรวรรดิตีมูริด |
ลูกค้า | แจลอเลดดีน แอมีร์ แชฆมอฆ ชอมี |
หมู่สิ่งปลูกสร้างบนจัตุรัสแอมีร์ แชฆมอฆ (เปอร์เซีย: مجموعه میدان امیرچخماق, อักษรโรมัน: Majmūʿa Meydân Amir Čaqmaq) เป็นสิ่งปลูกสร้างในแยซด์ ประเทศอิหร่าน มีความโดดเด่นที่ส่วนโค้งย่อมุมรูปสมมาตร[1] ประกอบไปด้วยมัสยิด, ที่พักคาราวาน, เทคเยฮ์, โรงอาบน้ำ, บ่อน้ำเย็น และโรงผลิตของหวาน[2] ในสมัยสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน ชาวอิรักและอิหร่านจำนวนมากเข้ามาพักพิงในแอมีร์ แชฆมอฆ[2] สิ่งปลูกสร้างหลักของหมู่สิ่งปลูกสร้างนี้เป็นอาคารสูงสามชั้นที่มีฟาซาดทรงโค้งย่อมุมยุบ (sunken arched alcoves) รูปสมมาตร[3][4][1] ถือเป็นหนึ่งในโฮเซย์นีเยที่ใหญ่ที่สุดในอิหร่าน[5] และมี เตกเยฮ์ สูงสามชั้นที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงฮุซัยน์ อิบน์ อะลี[6]
จัตุรัสนี้ตั้งชื่อตามแอมีร์ แจลอเลดดีน แชฆมอฆ (Amir Jalaleddin Chakhmaq) ผู้ปกครองแคว้นแยซด์ในสมัยจักรวรรดิตีมูริด ปัจจุบันตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์น้ำแยซด์[4] มัสยิดในหมู่สิ่งปลูกสร้างนี้คือ มัสยิดแอมีร์ แชฆมอฆ (เปอร์เซีย: مسجد امیرچخماق) สร้างขึ้นในสมัยตีมูริดตามคำสั่งของชอฆมอฆ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1438
จัตุรัสแอมีร์ แชฆมอฆ ได้รับการปรับปรุงใหญ่ในสมัยของเรซอ ชอฮ์ ซึ่งดำรัสให้ตัดถนนปะฮ์ลาวี (Pahlavi Street) ในปี 1935 รวมถึงมีการกำลายทางเชื่อมต่อกับปสานทางเหนือของจัตุรัส และเชื่อว่าศาลาคาราวานเดิมน่าจะถูกรื้อถอนในยุคเดียวกันนี้เพื่อให้จัตุรัสมีแปลนรูปสี่เหลี่ยมมากขึ้น[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Amir Chakhmaq Complex". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.
- ↑ 2.0 2.1 Karber 2012, p. 385.
- ↑ Garrod 2010, p. 474.
- ↑ 4.0 4.1 Coote 2012, p. 289.
- ↑ Burke, Maxwell & Shearer 2012, p. 440.
- ↑ Lonely Planet 2006, p. 219.
- ↑ وحيد, وحدت زاد (January 1, 1386). "تاملي بر شهرسازي دوره پهلوي اول (مطالعه موردي: شهر يزد)" (31): 5–14 – โดยทาง www.sid.ir.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)
บรรณานุกรม
[แก้]- AARP (1979). Art and Archaeology Research Papers. AARP.
- Burke, Andrew; Maxwell, Virginia; Shearer, Iain (1 June 2012). Lonely Planet Iran. Lonely Planet Iran. ISBN 978-1-74321-320-9.
- Coote, Tom (2012). Tearing up the Silk Road. Garnet Publishing Ltd. ISBN 978-1-85964-302-0.
- Garrod, Pat (1 December 2010). Bearback: The World Overland. Troubador Publishing Ltd. ISBN 978-1-84876-514-6.
- Karber, Phil (18 June 2012). Fear and Faith in Paradise: Exploring Conflict and Religion in the Middle East. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-4422-1479-8.
- Lonely Planet (April 2006). Middle East. Lonely Planet Publications. ISBN 9781740599283.