หมู่ภูตนาถมนเทียร (พทามี)

พิกัด: 15°55′15″N 75°41′16″E / 15.92083°N 75.68778°E / 15.92083; 75.68778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่มนเทียรภูตนาถ
ภูตนาถมนเทียรหมายเลข 1 ริมทะเลสาบ มีมณฑปเปิดยื่นเข้าไปในทะเลสาบ
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพภูตนาถ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งพทามี
รัฐรัฐกรณาฏกะ
ประเทศอินเดีย
หมู่ภูตนาถมนเทียร (พทามี)ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
หมู่ภูตนาถมนเทียร (พทามี)
ที่ตั้งในรัฐกรณาฏกะ
พิกัดภูมิศาสตร์15°55′15″N 75°41′16″E / 15.92083°N 75.68778°E / 15.92083; 75.68778
สถาปัตยกรรม
ประเภทจลุกยะ
ผู้สร้างพทามีจาลุกยะ, กัลยาณีจาลุกยะ
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 7 - 11

หมู่ภูตนาถมนเทียร (กันนาดา: ಭೂತನಾಥ ಗುಚ್ ದೇವಸ್ಥಾನ; Bhutanatha group) เป็นหมู่มนเทียรหินทรายบูาเทพเจ้าพระนามว่า ภูตนาถ ตั้งอยู่ในเมืองพทามี รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย โดยประกอบด้วยภูตนาถมนเทียร หรือหมู่มนเทียรหมายเลข 1 ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบอินเดียเหนือและใต้ยุคแรกผสมผสาน มณฑปเปิดยื่นเข้าไปในทะเลสาบ และมัลลิกราชุนมนเทียร (Mallikarjuna) หรือหมู่มนเทียรหมายเลข 2 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลสาบ มีสถาปัตยกรรมแบบสูงชันเป็นขั้นดังที่พบทั่วไปในสถาปัตยกรรมแบบกัลยาณีจาลุกยะ[1] มนเทียรส่วนในของหมู่มนเทียรหมายเลข 1 สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 7 ตอนปลาย สมัยพทามีจาลุกยะ ส่วนมณฑปเปิดเข้าทะเลสาบนั้นสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 สมัยกัลยาณีจาลุกยะ หมู่ภูตนาถมนเทียรแห่งพทามีจึงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลายอยู่รวมกัน[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kamiya, Takeo (1996-09-20). "Architecture of the Indian Subcontinent". Gerard da Cunha-Architecture Autonomous, Bardez, Goa, India. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  2. Michael D. Gunther. "Monuments of India". Site Index, Part II: Deccan before 1000. webmaster@art-and-archaeology.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-22.
  3. Cousens (1926), p. 55
  4. Hardy (1995), p. 321

บรรณานุกรม[แก้]

  • Cousens, Henry (1996) [1926]. The Chalukyan Architecture of Kanarese Districts. New Delhi: Archaeological Survey of India. OCLC 37526233.
  • Hardy, Adam (1995). Indian Temple Architecture: Form and Transformation-The Karnata Dravida Tradition 7th to 13th Centuries. Abhinav Publications. ISBN 81-7017-312-4.