ข้ามไปเนื้อหา

หมู่ถ้ำโกลวี

พิกัด: 24°00′43″N 75°50′53″E / 24.0118137°N 75.8480568°E / 24.0118137; 75.8480568
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำโกลวี
หมู่ถ้ำโขลวี
หมู่ถ้ำโกลวีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หมู่ถ้ำโกลวี
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอินเดีย
ชื่ออื่นหมู่ถ้ำโขลวี
พิกัด24°00′43″N 75°50′53″E / 24.0118137°N 75.8480568°E / 24.0118137; 75.8480568

หมู่ถ้ำโกลวี (อังกฤษ: Kolvi Caves) หรือ หมู่ถ้ำโขลวี (อังกฤษ: Kholvi Caves) เป็นหมู่ถ้ำสลักหินพุทธในอำเภอฌาลวาร รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย แกะสลักเข้าไปในเนินผาหินลาเทอไรต์ ภายในประกอบด้วยสถูป, เจดีย์ และพระพุทธรูป มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบมหายาน สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 8-9 ถ้ำมีจำนวนรวมแล้วประมาณ 50 ถ้ำ[1] บรรดาสถูปและพระพุทธรูปขนาดมหึมาที่พบในโกลวีถือว่ามีความสำคัญทางโราณคดีอย่างมาก[2] นอกจากนี้ยังพบถ้ำคล้ายกันใหม่หมู่บ้านโกลวีเช่นกัน อันบ่งบ่อกถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในแถบนี้ในอดีต[3] ลักษณะของถ้ำมีความคล้ายคลึงกันกับหมู่ถ้ำบาฆซึ่งอยู่ใกล้กัน[4]

ถ้ำโกลวีมีบันทึกถึงครั้งแรกโดย ดร. อี. อิมเปย์ (Dr. Impey) ซึ่งเดินทางเยือนถ้ำนี้ในปี 1854[5] เซอร์อาเล็กซันเดอร์ คันนิงแฮม เดินทางมายังถ้ำนี้และได้ตีพิมพ์รายงานหลัง ดร. อิมเปย์[6] ถ้ำจำนวนกว่า 50 ถ้ำนี้มีจำนวนหนึ่งที่พังทลายและเสียหายไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะหมู่ถ้ำบนฝั่งเหนือและตะวันออก[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jaipur Circle, ASI. "Buddhist Caves, Pillars, and Idols". Archaeological Survey of India. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  2. "A new dot on the tourism map". The Financial Express. 20 November 2005. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  3. "Buddhist Caves, Kolvi". Jhalawar District, Government of Rajasthan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.
  4. Chaturvedi, Neekee (2012). "EVOLUTION OF BUDDHISM IN RAJASTHAN". Proceedings of the Indian History Congress. 73: 155–162. ISSN 2249-1937.
  5. Impey, E. "Buudhist caves in Central India". Journal of the BombayBranch of Royal Asiatic Society. V (1854): 336.
  6. "Archaeological Survey of India: Four Reports Made During the Years 1862-63-64-65, Vol. I". INDIAN CULTURE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  7. Kumar, Arjun (22 April 2012). "Rajasthan's best kept secret: 3 Buddhist cave complexes". The Economic Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2013. สืบค้นเมื่อ 30 November 2013.