ข้ามไปเนื้อหา

หมู่ถ้ำพราพร

พิกัด: 25°00′18″N 85°03′47″E / 25.005°N 85.063°E / 25.005; 85.063
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำบนเขาพราพร
ทางเข้าของถ้ำโลมัสฤษี (250 ปีก่อนคริสต์กาล) ซึ่งแกะสลักเข้าไปในหน้าผา
หมู่ถ้ำพราพรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หมู่ถ้ำพราพร
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอินเดีย
หมู่ถ้ำพราพรตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
หมู่ถ้ำพราพร
หมู่ถ้ำพราพร (รัฐพิหาร)
ชื่ออื่นพราพร, สตฆรรวะ
ที่ตั้งอำเภอเชหานาบาด รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
พิกัด25°00′18″N 85°03′47″E / 25.005°N 85.063°E / 25.005; 85.063
ประเภทถ้ำ
ส่วนหนึ่งของเขาพราพรและนาคารชุนี
ความเป็นมา
สร้าง322–185 ปีก่อนคริสต์กาล

หมู่ถ้พบนเขาพราพร (อังกฤษ: Barabar Hill Caves) เป็นหมู่ถ้ำสลักหินที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดีย สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิโมรยะ (322–185 ปีก่อนคริสต์กาล) บางส่วนปรากฏจารึกของพระเจ้าอโศก ตั้งอยู่ในมาฆทุมปุระในอำเภอเชหานาบาด รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างไป 24 km (15 mi) ทางเหนือของพุทธคยา[1]

ถ้ำเหล่านี้ตั้งอยู่ในเนินเขาคู่ คือ สี่ถ้ำในเขาพราพร (Barabar) และสามถ้ำในเขานาคารชุนี (Nagarjuni) ในบรรดาถ้ำเหล่านี้สามารถพบจารึกนามของกษัตริย์ "ปิยทาสี" ในสามถ้ำที่พราพร และ "เทวานัมปิยทศรถ" ในถ้ำที่นาคารชุนี คาดการณ์ว่าอ่ายุระหว่าง 300 ปีก่อนคริสต์กาล ในสมัยจักรวรรดิโมรยะ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศก (ครองราชย์ 273–232 ปีก่อนคริสต์กาล) และหลานชาย ทศรถโมรยะ[2][3][4]

งานแกะสลักซุ้มทางเข้าของถ้ำโลมัสฤษีถือเป็นตัวอย่างชิ้นเก่าแก่ที่สุดของจันทรศาลา ซึ่งคือซุ้มโค้งเจดีย์รูปโอจี รูปแบบดังกล่าวมีการนำไปสร้างเรื่อยมาในสถาปัตยกรรมของอินเดีย[2][3]

ถ้ำเหล่านี้แรกเริ่มถูกใช้งานเพื่อบำเพ็ญพรตโดยนักบวชจากสำนักอาชีวิกะ[2] ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยมักขลี โคสาลา ซึ่งมีชีวิตร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้าและพระมหาวีระ สำนักอาชีวิกะมีคำสอนและแนวปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันกับทั้งศาสนาพุทธและศาสนาเชน[5] นอกจากนี้ยังสามารถพบประติมากรรมและจารึกจากสมัยหลัง ๆ ของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธในหมู่ถ้ำเหล่านี้เช่นกัน[1]

ถ้ำส่วนใหญ่บนเขาพราพรมีสองคูหา แกะสลักมาจากหินแกรนิตทั้งหมด ภายในสามารถพบการขัดเงาที่เรียกว่า "การขัดเงาแบบโมรยะ" ตามประติมากรรมภายใน นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีปรากฏการณ์เสียงสะท้อนเช่นกัน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Sir Alexander Cunningham (1871). Four Reports Made During the Years, 1862-63-64-65. Government Central Press. pp. 43–52.
  2. 2.0 2.1 2.2 Harle 1994.
  3. 3.0 3.1 3.2 Michell 1989.
  4. "Sculptured doorway, Lomas Rishi cave, Barabar, Gya". www.bl.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 May 2017.
  5. "The Ajivikas—a contemporary religious order similar, in many ways, to both Buddhism and Jainism" in Fogelin, Lars (2015). An Archaeological History of Indian Buddhism (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 90. ISBN 978-0-19-026692-9.

บรรณานุกรม

[แก้]