หมู่ถ้ำบาฆ

พิกัด: 22°19′21.63″N 74°48′22.36″E / 22.3226750°N 74.8062111°E / 22.3226750; 74.8062111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำบาฆ
ถ้ำบาฆส่วนถ้ำพุทธ หมายเลข 1 ถึง 7
หมู่ถ้ำบาฆตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
หมู่ถ้ำบาฆ
แสดงที่ตั้งภายในรัฐมัธยประเทศ
หมู่ถ้ำบาฆตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
หมู่ถ้ำบาฆ
หมู่ถ้ำบาฆ (ประเทศอินเดีย)
พิกัด22°19′21.63″N 74°48′22.36″E / 22.3226750°N 74.8062111°E / 22.3226750; 74.8062111
ประเภทถ้ำพุทธ

ถ้ำบาฆ (อังกฤษ: Bagh Caves) เป็นหมู่อนุสรณ์เจาะหินจำนวนเก้าถ้ำ ตั้งอยู่เชิงเขาทางใต้ของเทือกเขาวินธยาในเมืองบาฆ อำเภอธร รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย[1] หมู่ถ้ำบาฆตั้งอยู่ที่ 97 กิโลเมตรจากเมืองธร หมู่อนุสรณ์ของถ้ำบาฆเป็นที่รู้จักจากงานจิตรกรรมฝาผนัง และชื่อ "ถ้ำ" ก็ไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากไม่ใช่ถ้ำโดยธรรมชาติ แต่เป็นสถาปัตยกรรมเจาะหิน

เช่นเดียวกับถ้ำอชันตา ถ้ำบาฆสร้างขึ้นโดยเจาะเข้าไปในหน้าผาหินทราย ถ้ำจำนวนเก้าถ้ำ มีเพียงห้าถ้ำที่ยังหลงเหลือถึงปัจจุบัน ทั้งหมดล้วนใช้งานเป็นวิหารหรือที่พำนักของสงฆ์ มีแปลนพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม โถงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่อยู่ด้านหลัง กั้นขึ้นมาเป็นเจดีย์หรือโถงสวดภาวนา ในบรรดาถ้ำทั้งหมดมีถ้ำหมายเลข 4 ที่งดงามที่สุด และได้รับการขานนามว่าเป็น "รงคมหัล" หรือวังแห่งสีสัน

ถ้ำบาฆขุดขึ้นในศตวรรษที่ 5-6 ในช่วงปลายของยุครุ่งโรจน์ของพุทธศาสนาในอินเดีย หลายปีนับจากยุคทองของถ้ำพุทธเจาะหิน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างขึ้นใน 100-200 ปีก่อนคริสตกาล[2] ถ้ำได้รับการทำนุบำรุงขึ้นโดยกรมสำรวจโบราณคดีโดยใช้เวลารวม 17 ปีในการฟื้นฟู[3]

จิตรกรรม[แก้]

ถ้ำหมายเลข 2 หรือ "ถ้ำปาณฑวะ" ("Pandava Cave") เป็นถ้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ดีที่สุด ลักษณะของจิตรกรรมคล้ายคลึงมากกับรูปแบบที่พบในถ้ำอชันตา พื้นของภาพใช้ปูนเปียกหนาทำมาจากดินเหนียวและเม็ดกรวดสีแดงน้ำตาล จากนั้นใช้วิธี lime-priming ทับ แล้วจึงตกแต่งด้วยงานจิตรกรรม เพื่อป้องกันการสูญเสียของศิลปะเหล่านี้ ในปี 1982 งานจิตรกรรมฝาหนังส่วนใหญ่ถูกถอนออกไปเก็บรักษาที่อื่น ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โราณคดีควาลิยัร[4]

อายุ[แก้]

ในถ้ำหมายเลข 2 มีพบจารึกทองแดงของมหาราชาสุพันธุ (Maharaja Subandhu) บันทึกการบริจาคเพื่อซ่อมแซมวิหาร อายุราวปี 487 ในสมัยคุปตะ ซึ่งตีความได้ว่าถ้ำหมายเลข 2 มีการซ่อมแซมในศตวรรษที่ 5 ตอนปลาย[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Places to Visit: Official Website of District Administration Dhar". dhar.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-18.
  2. Dutt, Sukumar (1988). Buddhist Monks and Monasteries of India: Their History and Their Contribution to Indian Culture (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass. p. 162. ISBN 9788120804982.
  3. "Bagh Caves: Palace of Colours".
  4. "Bagh Caves – rock cut Buddhist temples". สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  5. Verma, Archana (2007). Cultural and Visual Flux at Early Historical Bagh in Central India, Oxford: Archaeopress, ISBN 978-1-4073-0151-8, p.19

ดูเพิ่ม[แก้]

  • Pande, Anuapa (2002). The Buddhist Cave Paintings of Bagh, New Delhi: Aryan Books International, ISBN 81-7305-218-2, sumit vyas