หมู่กองทัพ
สัญลักษณ์แผนที่ของเนโท[1] |
---|
![]() ![]() |
หมู่กองทัพพันธมิตร |
![]() ![]() |
หมู่กองทัพศัตรู |
หมู่กองทัพ[2] (อังกฤษ: army group) คือการจัดหน่วยทหารที่ประกอบด้วยกองทัพสนามหลายกองทัพ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบของตนเองเป็นระยะเวลาไม่จำกัด โดยปกติแล้วกองทัพจะรับผิดชอบพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เฉพาะหมู่ หมู่กองทัพคือการจัดหน่วยสนามที่ใหญ่ที่สุดซึ่งดูแลโดยผู้บัญชาการคนเดียว ซึ่งโดยปกติจะเป็นพลเอกหรือจอมพล และโดยทั่วไปจะมีทหารระหว่าง 400,000 ถึง 1,000,000 นาย
ในกองทัพโปแลนด์และอดีตกองทัพแดงโซเวียต หมู่กองทัพเรียกว่า แนวรบ สิ่งที่เทียบเท่ากับหมู่กองทัพในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นก็คือ "กองทัพใหญ่" (ญี่ปุ่น: 総軍; โรมาจิ: Sō-gun)
หมู่กองทัพอาจเป็นหน่วยรบหลากชาติ ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่กองทัพฝ่ายใต้ (เรียกอีกอย่างว่าหมู่กองทัพที่ 6 สหรัฐ) ประกอบด้วยกองทัพที่ 7 ของสหรัฐและกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศส หมู่กองทัพที่ 21 ประกอบด้วยกองทัพที่ 2 ของอังกฤษ กองทัพที่ 1 ของแคนาดา และกองทัพที่ 9 ของสหรัฐ
ในการใช้งานทั้งในเครือจักรภพและสหรัฐอเมริกา จำนวนของหมู่กองทัพจะแสดงเป็นตัวเลขอารบิก เช่น "12th Army Group หมู่กองทัพที่ 12" ในขณะที่จำนวนกองทัพสนามจะแสดงเป็นตัวเลข เช่น "Third Army กองทัพที่ 3"
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ฝรั่งเศส
[แก้]กองทัพบกฝรั่งเศสได้จัดตั้ง หมู่กองทัพ groupes d'armées หลายหมู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง:
- หมู่กองทัพเหนือ ก่อตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2457
- หมู่กองทัพตะวันออก ก่อตั้งเมือปี พ.ศ. 2458
- หมู่กองทัพกลาง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2458
- หมู่กองทัพสำรอง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2460
- หมู่กองทัพแฟลนเดอร์ส ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2461 ภายใต้การบังคับบัญชาของอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม เพื่อดำเนินการในยุทธการที่เบลเยียมครั้งที่สอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรุกร้อยวัน
เยอรมนี
[แก้]กองทัพบกเยอรมันได้จัดตั้ง Heeresgruppen จำนวน 2 หน่วยแรกในปี พ.ศ. 2458 เพื่อควบคุมกองกำลังในแนวรบด้านตะวันออก[3] ในที่สุด จะมีการจัดตั้งหมู่กองทัพทั้งหมด 8 หมู่กองทัพ โดย 4 หมู่กองทัพทำหน้าที่ในแต่ละแนวรบ โดยหนึ่งในหมู่กองทัพในแนวรบด้านตะวันออกจะเป็นหน่วยทหารเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการีหลายชาติ เดิมที หมู่กองทัพจักรวรรดิเยอรมันไม่ได้แยกเป็นหน่วยทหาร แต่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มเติมที่มอบให้กับผู้บัญชาการกองทัพบางคน ตัวอย่างเช่น เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม มกุฎราชกุมาร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพที่ 5 และหมู่กองทัพมกุฎราชกุมารเยอรมันพร้อมกันตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2458 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2459
หมู่กองทัพบกเยอรมันทั้ง 8 หมู่กองทัพ ได้รับการตั้งชื่อตามผู้บัญชาการของพวกเขา[4]
- หมู่กองทัพแมคเคนเซน (โปแลนด์) (22 เมษายน พ.ศ. 2458 – 8 กันยายน พ.ศ. 2458)
- หมู่กองทัพลินซิงเกน (8 กันยายน พ.ศ. 2458 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพไอชฮอร์น-เคียฟ (31 มีนาคม พ.ศ. 2461 – 30 เมษายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพไอชฮอร์น (30 เมษายน พ.ศ. 2461 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพเคียฟ (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462)
- หมู่กองทัพแมคเคนเซน (เซอร์เบีย) (18 กันยายน พ.ศ. 2458 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)
- หมู่กองทัพบีโลว (11 ตุลาคม พ.ศ. 2459 – 21 เมษายน พ.ศ. 2460)
- หมู่กองทัพชอลซ์ (23 เมษายน พ.ศ. 2460 – 6 ต.ค. 2461)
- หมู่กองทัพแมคเคนเซน (โรมาเนีย) (28 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพเจ้าชายเลโอโปลด์แห่งบาวาเรีย (5 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2459)
- หมู่กองทัพวอยร์ช (29 สิงหาคม พ.ศ. 2459 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2460)
- หมู่กองทัพกัลวิทซ์ (พ.ศ. 2459) (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2459)
- หมู่กองทัพรุปเพรชต์แห่งบาวาเรีย (A) (28 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพมกุฏราชกุมารแห่งเยอรมัน (B) (1 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพกัลวิทซ์ (พ.ศ. 2461) (C) (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพดยุกอัลเบรชท์แห่งเวือร์ทเทมแบร์ก (D) (7 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพฮินเดนเบิร์ก (5 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)
- หมู่กองทัพไอค์ฮอร์น (30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพริกา (31 มีนาคม พ.ศ. 2461 – 30 เมษายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพโบน (12 สิงหาคม พ.ศ. 2461 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2461)
จักรวรรดิออตโตมัน
[แก้]กองทัพบกออตโตมันมี 3 หมู่กองทัพ:
- หมู่กองทัพคอเคซัส (8 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2460)
- หมู่กองทัพยิลดิริม (F): นอกจากนี้ยังบรรจุกองทัพน้อยเอเชียของเยอรมันด้วย (กรกฎาคม พ.ศ. 2460 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461)
- หมู่กองทัพภาคตะวันออก (7 มิถุนายน พ.ศ. 2461 – 21 ตุลาคม พ.ศ. 2461)
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]จีน
[แก้]โดยทั่วไป "หมู่กองทัพ" ของจีนจะเทียบเท่ากับกองทัพสนามในคำศัพท์ของประเทศอื่น ๆ เนื่องจากบางครั้งมีการละเว้นการจัดกำลังระดับกรม
เยอรมนี
[แก้]กองทัพบกเยอรมันได้รับการจัดเป็นหมู่กองทัพ (Heeresgruppen) หมู่กองทัพบางหมู่ประกอบด้วยกองทัพจากประเทศฝ่ายอักษะหลายประเทศ ตัวอย่างเช่น หมู่กองทัพแอฟริกาประกอบด้วยกองทัพน้อยทั้งของเยอรมันและอิตาลี
หน่วยทหารเยอรมันที่แยกจากกันและเด่นชัด (Armeegruppe) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า army group หมู่กองทัพ อธิบายถึงการจัดกลุ่มชั่วคราวของหน่วยระดับกองทัพ โดยที่ผู้บังคับบัญชาของหน่วยผสมหน่วยหนึ่งจะจัดตั้งโครงสร้างการบังคับบัญชาของหมู่ หมู่เหล่านี้มักได้รับการตั้งชื่อตามผู้บัญชาการของหน่วยนั้น ๆ เช่น Armeegruppe Weichs ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่กองทัพบี ในปฏิบัติการบลู ในปี พ.ศ. 2485
ญี่ปุ่น
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีกองทัพใหญ่อยู่ 6 กองทัพ ได้แก่:
- คันโต (มักเรียกกันว่า “กองทัพกวันตง”) ก่อตั้งขึ้นเป็นกองทหารรักษาการณ์ระดับกองพลในอาณานิคมของญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนในปี พ.ศ. 2451 และยังคงอยู่ในจีนตอนเหนือจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพคันโต มีกำลังพลสูงสุดถึง 700,000 นาย ในปี พ.ศ. 2484 และถูกกองทัพโซเวียตเข้าโจมตีและทำลายล้างในปี พ.ศ. 2488
- ชินะฮะเค็งกุน หรือ "กองทัพรบนอกประเทศจีน" ก่อตั้งขึ้นที่เมืองหนานจิงในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 เพื่อควบคุมการปฏิบัติการในภาคกลางของจีน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพนี้ประกอบด้วยกำลังพล 620,000 นาย ในกองพลทหารราบ 25 กองพล และกองพลยานเกราะ 1 กองพล
- นันโปกุน หรือ "กองทัพภาคใต้" หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "กองทัพรบนอกประเทศภาคใต้" ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2484 สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกดูเหมือนจะเกิดขึ้นได้ จึงมีการจัดตั้งกองทัพนันโปกันขึ้นในไซง่อน อินโดจีนของฝรั่งเศส เพื่อควบคุมการปฏิบัติการของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในจีนตอนใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกใต้
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2488 โบเออิ โซ-ชิเรบุ (แปลว่า "กองบัญชาการใหญ่ป้องกันประเทศ" หรือ "หน่วยบัญชาการป้องกันดินแดน" และชื่ออื่นๆ ที่คล้ายกัน) ได้ถูกแบ่งออกเป็นสามกองทัพใหญ่ ได้แก่:
- ไดอิจิ โซกุน ("กองทัพใหญ่ที่ 1" กองบัญชาการตั้งอยู่ในโตเกียว)
- ไดนิ โซกุน ("กองทัพใหญ่ที่ 2" กองบัญชาการตั้งอยู่ในฮิโรชิมา)
- โคกุ โซกุน ("กองทัพใหญ่อากาศ" กองบัญชาการตั้งอยู่ในโตเกียว)
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองพลเหล่านี้มีกำลังพลสองล้านนายใน 55 กองพล และหน่วยอิสระขนาดเล็กจำนวนมาก หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ถูกยุบลง ยกเว้น ไดอิจิโซกุน ซึ่งตั้งอยู่จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ในฐานะ กองบัญชาการเลิกการระดมสรรพกำลังที่ 1
สหภาพโซเวียต
[แก้]กองทัพโซเวียตได้รับการจัดเป็นแนวรบ (фронт, พหูพจน์ фронты) ซึ่งมักมีขนาดใหญ่เท่ากับหมู่กองทัพ (ดูรายชื่อแนวรบของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง) แนวรบบางแนวประกอบด้วยกองกำลังพันธมิตรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อลี้ภัย ตัวอย่างเช่น กองทัพโปแลนด์ที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของแนวรบเบลารุสที่ 1
พันธมิตรตะวันตก
[แก้]ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกได้จัดตั้งหมู่กองทัพแยกกัน 6 หมู่กองทัพ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าจะมีไม่เกิน 5 หมู่กองทัพที่มีอยู่พร้อมกัน หมู่กองทัพเหล่านี้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการสูงสุดในสนามรบของฝ่ายพันธมิตร ภายใต้การนำของนายทหารอังกฤษและอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยทหารจากประเทศพันธมิตรจำนวนมาก หมู่กองทัพที่ 15 ของอังกฤษและอเมริกันยังประกอบด้วย กองทัพน้อยแคนาดาและโปแลนด์ กองพลจากบราซิล อินเดีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ และกองพลน้อยกรีก ในฐานะส่วนหนึ่งของปฏิบัติการควิกซิลเวอร์ ฝ่ายพันธมิตรได้จัดตั้งหมู่กองทัพที่ 7 ของสหรัฐขึ้นมาซึ่งเป็นหมู่กองทัพลวงที่ไม่มีอยู่จริง
- หมู่กองทัพที่ 18: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล ฮาโรลด์ อเล็กซานเดอร์ สำหรับปฏิบัติการทัพตูนิเซีย กองกำลังนี้ประกอบด้วยกองทัพอังกฤษที่ 1 และกองทัพที่ 8 แต่รวมถึงกองทัพน้อยพลฝรั่งเศสและอเมริกา หลังจากยึดตูนิเซียได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2486 กองกำลังนี้ได้รับการจัดกำลังใหม่เป็นหมู่กองทัพที่ 15
- หมู่กองทัพที่ 15: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล ฮาโรลด์ อเล็กซานเดอร์ ในการบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรสำหรับการบุกครองเกาะซิซิลี หมู่กองทัพนี้ประกอบด้วยกองทัพที่ 8 ของอังกฤษและกองทัพที่ 7 ของสหรัฐ ต่อมา กองทัพที่ 7 ถูกแทนที่ด้วยกองทัพที่ 5 ของสหรัฐ และพลโท มาร์ค ดับเบิลยู. คลาร์ก เข้ามาสืบทอดตำแหน่งต่อจาก อเล็กซานเดอร์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2487
- หมู่กองทัพที่ 21: ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2486 ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายพล เบอร์นาร์ด เพจเจต ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2487 เพจเจตถูกแทนที่โดยนายพล เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ซึ่งเป็นผู้นำหมู่กองทัพนี้ตลอดปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดและการทัพยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือที่ตามมา หมู่กองทัพที่ 21 ประกอบด้วยกองทัพแคนาดาที่ 1 และกองทัพอังกฤษที่ 2 แต่ยังทำหน้าที่บัญชาการกองทัพพลร่มพันธมิตรที่ 1 กองทัพสหรัฐที่ 1 และกองทัพสหรัฐที่ 9 สำหรับปฏิบัติการบางส่วน หลังจากฝ่าวงล้อมจากนอร์มังดี หมู่กองทัพนี้ได้ก่อตั้งกองกำลังทางเหนือของกองกำลังรบนอกประเทศพันธมิตร และบางครั้งเรียกกันว่า หมู่กองทัพภาคเหนือ
- หมู่กองทัพที่ 12: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 หมู่กองทัพที่ 12 ได้ดำเนินงานอย่างเป็นทางการในตอนเที่ยงของวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลโท โอมาร์ แบรดลีย์ โดยมี พลโท คอร์ทนีย์ ฮอดจ์ส และ จอร์จ แพตตัน เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพที่ 1 และกองทัพที่ 3 ตามลำดับ ในที่สุด หมู่กองทัพที่ 12 ประกอบด้วยกองทัพที่ 9 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลโท วิลเลียม ซิมป์สัน และกองทัพที่ 15 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท "จี" เจอโรว์ นับเป็นหมู่กองทัพที่ใหญ่ที่สุดของฝ่ายพันธมิตรตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่กองทัพที่ 12 ยึดครองกลางแนวรบของฝ่ายพันธมิตร ระหว่างหมู่กองทัพที่ 21 และ 6 และบางครั้งเรียกว่าหมู่กองทัพภาคกลาง นี่เป็นหมู่กองทัพเดียวในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ประกอบด้วยทหารสหรัฐทั้งหมด เมื่อถึงจุดสูงสุดในช่วงปลายสงคราม หมู่กองทัพที่ 12 ประกอบไปด้วยกองทัพภาคสนาม 4 กองทัพที่กล่าวถึงข้างต้น กองทัพน้อย 12 กองทัพ และกองพลมากกว่า 40 กองพล นายพล แบรดลีย์ ผู้เป็นนายพลสี่ดาวนั้นบังคับบัญชาทหารในหมู่กองทัพของเขามากกว่า 1.3 ล้านคน ซึ่งนับเป็นจำนวนทหารอเมริกันที่มากที่สุดที่นายทหารคนเดียวเคยบังคับบัญชามาในประวัติศาสตร์กองทัพสหรัฐ
- หมู่กองทัพที่ 6: ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลโท จาค็อบ แอล. เดเวอร์ส ในปฏิบัติการดรากูน ประกอบไปด้วยกองทัพที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาและกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศส หมู่กองทัพนี้ยึดครองพื้นที่ปีกทางใต้ของกองกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตรในยุโรปตะวันตก และบางครั้งเรียกกันว่าหมู่กองทัพภาคใต้
- หมู่กองทัพที่ 11: ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล จอร์จ กิฟฟาร์ด สำหรับปฏิบัติการทัพพม่า หมู่กองทัพที่ 11 ประกอบด้วยกองทัพที่ 14 ของอังกฤษและกองทัพบกศรีลังกา โดยมีอำนาจควบคุมกองบัญชาการพื้นที่รบภาคเหนือของจีน-อเมริกาในระดับหนึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 พลโท โอลิเวอร์ ลีส ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน กิฟฟาร์ด และจัดตั้งกองบัญชาการพื้นที่รบภาคเหนือขึ้นอย่างเป็นทางการ นายพล วิลเลียม สลิม เข้ามาแทนที่ ลีส ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2488 ไม่นานก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488
หมู่กองทัพเนโท
[แก้]
ในช่วงสงครามเย็น กองกำลังภาคพื้นดินของเนโทในพื้นที่ที่เรียกว่าภาคกลาง (ส่วนใหญ่ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี) จะถูกบังคับบัญชาในช่วงสงครามโดยหมู่กองทัพ 2 หมู่ ภายใต้กองกำลังพันธมิตรยุโรปกลางและร่วมกับส่วนกองทัพอากาศ กองทัพทั้งสองหมู่จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันเยอรมนีจากการรุกรานของสหภาพโซเวียต/สนธิสัญญาวอร์ซอ รองผู้บัญชาการสองนายนี้มีอำนาจในยามสงบเพียงเล็กน้อย และประเด็นต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม หลักนิยม การส่งกำลังบำรุง และกฎการปะทะ ส่วนใหญ่เป็นความรับผิดชอบของชาติมากกว่าของเนโท[5]
รูปขบวนหมู่กองทัพทั้ง 2 นี้ได้แก่ หมู่กองทัพภาคเหนือ (NORTHAG) และหมู่กองทัพภาคกลาง (CENTAG) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมาตรฐานก่อนหน้า หมู่กองทัพทั้งสองนี้เป็นเพียงกองทัพ เนื่องจากแต่ละกองทัพมีกองกำลัง 4 กองทัพน้อย[6] หมู่กองทัพภาคเหนือ (NORTHAG) รับผิดชอบพื้นที่จากจรดใต้สุด ประกอบด้วยกองทัพน้อยที่ 1 (เนเธอร์แลนด์), กองทัพน้อยที่ 1 (เยอรมนี), กองทัพน้อยที่ 1 (สหราชอาณาจักร) และกองทัพน้อยที่ 1 (เบลเยียม) ผู้บัญชาการคือผู้บัญชาการกองทัพไรน์อังกฤษ (BAOR) ขนะที่หมู่กองทัพภาคกลาง (CENTAG) ประกอบด้วย กองทัพน้อยที่ 3 (GE), กองทัพน้อยที่ 5 (สหรัฐ), กองทัพน้อยที่ 7 (สหรัฐ) และกองทัพน้อยที่ 2 (GE) รับผิดชอบจากเหนือจรดใต้สุดของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีผู้บัญชาการกองทัพที่ 7 ของสหรัฐ เป็นผู้บัญชาการหมู่กองทัพภาคกลาง (CENTAG)
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 ผู้นำประเทศและรัฐบาลของเนโทได้นำ "แนวคิดเชิงกลยุทธ์ใหม่" มาใช้ในการประชุมสุดยอดเนโทที่กรุงโรม แนวคิดใหม่นี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทั้งในกองกำลังและโครงสร้างการบังคับบัญชาแบบบูรณาการ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2536 เมื่อกองบัญชาการหมู่กองทัพภาคกลาง (CENTAG) ที่ไฮเดิลแบร์คและกองบัญชาการหมู่กองทัพภาคเหนือ (NORTHAG) ที่เมินเชินกลัทบัคถูกยุติบทบาทลงและแทนที่ด้วยกองบัญชาการกองทัพภาคพื้นดินพันธมิตรยุโรปกลาง (LANDCENT) ซึ่งเริ่มดำเนินงานที่ไฮเดิลแบร์คเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อ้างอิง
[แก้]- ↑ APP-6C Joint Military Symbology (PDF). NATO. May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-21.
- ↑ "คู่มือคำศัพท์ และ คำย่อทางทหาร" (PDF). mtb16.rta.mi.th. p. 3-183.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""German Army Groups"".
- ↑ Die Deutschen Heeresgruppen im Ersten Weltkrieg, [1], accessed 4 december 20150
- ↑ Globalsecurity.org, Cold War NATO Army Groups, accessed 20 June 2010
- ↑ David C Isby & Charles Kamps Jr, Armies of NATO's Central Front, Jane's Publishing Company Limited, 1985
หน่วยทางทหาร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||