หมูตั้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมูตั้ง
แหล่งกำเนิดจีน
ส่วนผสมหลักหัวหมูและหูหมูผัดกับซีอิ๊วและพะโล้ อัดเป็นแท่ง
รูปแบบอื่นแบบจีนและแบบไทย

หมูตั้ง เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากจีน หมูตั้งแบบจีนหรือตือเถาจั่ง (จีนตัวย่อ: 猪头粽; จีนตัวเต็ม: 豬頭粽; พินอิน: Zhūtóu Zòng; แต้จิ๋ว: de1 tao5 zang3) กินกับข้าวต้ม ไม่ปรุงรสมากสีน้ำตาลอ่อน เป็นอาหารที่เป็นผลพลอยได้จากการทำหัวหมูพะโล้ มีต้นกำเนิดที่เมืองเถ่งไฮ่ ประเทศจีน โดยนำหัวหมูพะโล้มาเลาะมันออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ อัดลงในพิมพ์สี่เหลี่ยมที่บุด้วยฟองเต้าหู้ ทับด้วยของหนักให้น้ำมันและน้ำพะโล้ซึมออกมา เมื่อได้ที่จะติดกันเป็นแท่งหนา นำมาหั่นเป็นชิ้น กินกับซีอิ๊วขาว[1]

หมูตั้งแบบไทยจะปรุงรสหวานเค็ม สีออกดำทำจากหัวหมู หูหมูหั่นชิ้นบางแล้วผัดกับซีอิ๊วและผงพะโล้ ตักใส่พิมพ์ใช้ของหนักทับไว้ 1 คืน นำมากินกับน้ำจิ้มที่ทำจากพริกชี้ฟ้า กระเทียม น้ำส้มสายชู กินกับแตงกวาและสับปะรด[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี (2013). สืบสานตำนาน อาหารแต้จิ๋ว. กรุงเทพฯ: ตู้กับข้าว. ISBN 978-616-91-4182-2.
  2. สุมล ว่องวงศ์ศรี (2014). จานอร่อยจากปู่ย่า สูตรโบราณ ๑๐๐ ปี. กรุงเทพฯ: สารคดี. pp. 21–22. ISBN 978-616-7767-30-7.