หมิงรุ่ย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมิงรุ่ย
จีน: 明瑞
เสียชีวิตมีนาคม พ.ศ. 2311
รับใช้ราชวงศ์ชิง
ชั้นยศขั้น "กง" สูงที่สุดในตำแหน่งขุนนาง
เสนาบดีกรมกลาโหม
ผู้ช่วยเสนาบดีกรมคลัง
ผู้บัญชาการแห่งอีหลี
ข้าหลวงใหญ่แห่งยูนนาน และกุ้ยโจว
หน่วยกองธงเหลือง ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้
บังคับบัญชาสงครามต้าชิง-มองโกล
สงครามต้าชิง-ซินเจียง(พ.ศ. 2299–2302)
สงครามต้าชิง-พม่า (พ.ศ. 2310–2311)

หมิงรุ่ย (จีน: 明瑞, พม่า: မင်းယွီ) เป็นทหารที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของราชวงค์ชิงในยุคนั้น ตลอดเวลาที่เขาทำสงคราม เขามักจะมองหาจุดอ่อนในกองทัพของศัตรูก่อนเสมอ เมื่อเจอแล้วก็จะทำการโจมตีอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้ตลอดเวลาที่เขาเป็นผู้บัญชาการทหารนั้น แทบไม่เคยพ่ายแพ้แก่ผู้ใดเลย ไม่ว่าจะมองโกลหรือพวกอุยเกอร์ในซินเจียง หมิงรุ่ยนับได้ว่าเป็นขุนศึกคู่พระทัยคนหนึ่งของจักรพรรดิเฉียนหลง ซึ่งพระองค์โปรดปรานเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องความสามารถและอายุที่ยังไม่มากนัก นับได้ว่าเป็นตัวเต็งเสาหลักอีกคนหนึ่งของราชวงค์ชิง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึงเมื่อครั้งจักรพรรดิเฉียนหลงตัดสินใจ ทำสงครามกับพระเจ้ามังระ ซึ่งก็พ่ายแพ้ถึงสองครั้ง พระองค์จึงตัดสินใจส่งหมิงรุ่ย ขุนพลเอกของราชวงค์ชิงลงมาเพื่อหวังจะปราบปรามอาณาจักรทางใต้ให้ราบคาบ โดยได้ส่งกองทหารที่ดีที่สุดของราชวงค์ชิงในยุคนั้นอย่างกองทัพแปดกองธง 50,000 นาย ลงมาทำศึก แต่การณ์ก็ไม่ได้เป็นดังนั้นเมื่อหมิงรุ่ยต้องมาพบกับ นักการทหารที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของพม่าอย่างอะแซหวุ่นกี้

เส้นทางการบุกของหมิงรุ่ย แบ่งทัพเป็น 2 ทาง

การศึกกับอะแซหวุ่นกี้[แก้]

หมิงรุ่ยได้ทำการแบ่งทหารออกเป็นสองส่วน

  • ทัพแรกมีกำลังพล 20000 นายบุกเข้าโจมตีเมืองกองตนซึ่งมีทหารรักษาเมือง 7,000 นาย มีบาลามินดินเป็นแม่ทัพ เพื่อไม่ให้พม่านำทัพกลับมาตลบหลังกองทัพหลักของหมิงรุ่ย เมื่อพิชิตได้แล้วให้มาบรรจบกันที่กรุงอังวะคอยเป็นกำลังเสริม
  • ส่วนทัพหลักของหมิงรุ่ย 30000 นาย ยกมาเผชิญหน้ากับอะแซหวุ่นกี้ซึ่งคุมทหาร 20,000 นาย การรบเป็นไปอย่างรุนแรงทั้ง 2 ฝ่ายต่างใช้กลยุทธ์รบพุ่งใส่กัน สุดท้ายหมิงรุ่ยสามารถขับไล่อะแซหวุ่นกี้จนถอยร่นออกไปได้ จากนั้นหมิงรุ่ยจึงค่อยๆพิชิตไปทีละเมืองอย่างรอบคอบเพื่อรักษาเส้นทางเสบียงและเส้นทางกองหนุนเอาไว้ โดยตลอดทางหมิงรุ่ยไม่พ่ายแพ้แก่ผู้ใดเลยจนลึกเข้ามาถึงชานเมืองอังวะห่างออกไปไม่ถึง 50 กิโลเมตร ในขณะนั้นพระเจ้ามังระ ยกกองทัพออกไปรับศึกด้วยพระองค์เอง แต่ยังไม่ทันได้รบพุ่งถึงขั้นแตกหักข่าวก็แจ้งมาถึงหมิงรุ่ยว่า อะแซหวุ่นกี้ได้นำทัพที่ซุ่มเอาไว้ย้อนกลับไปตีเมืองต่างๆคืนได้หมดแล้วและกำลังใกล้บุกมาถึงที่นี่แล้ว ส่วนกองทัพอีกเส้นหนึ่งก็พ่ายแพ้ไม่สามารถตีเมืองกองตนได้และถอนกำลังกลับต้าชิงไปแล้ว
  • ในตอนนี้ทัพรองแตกพ่าย ทัพหนุนถูกทำลาย เส้นทางเสบียงถูกตัดขาด หมิงรุ่ยรู้ถึงจุดจบของศึกครั้งนี้ทันที แต่เขาก็เลือกที่จะตายอย่างสมศักดิ์ศรีในฐานะนักรบ ดีกว่าถูกจับในฐานะเชลย รวมถึงกองทัพแปดกองธงที่พร้อมจะติดตามเขา หมิงรุ่ยตัดสินใจทำศึกสุดท้ายแต่แล้วกองทัพของพระเจ้ามังระและอะแซหวุ่นกี้ ก็สามารถพิชิตกองทัพของหมิงรุ่ยลงได้ในยุทธการณ์เมเมียว โดยหมิงรุ่ยได้สั่งให้ทหารที่เหลือไม่ถึง 1000 คนยอมแพ้ ส่วนตัวเองเลือกจะผูกคอตายเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ เป็นการจบสงครามจีน-พม่าครั้งที่ 3 ลงอย่างสิ้นเชิง[1][2][3]

หมิงรุ่ยยังมีศักดิ์เป็นพระญาติกับเสี้ยวเสียนฮองเฮา และเป็นหลานของฟู่เหิงองค์มนตรีแห่งจักรพรรดิเฉียนหลงอีกด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thant Myint-U (2006). The River of Lost Footsteps--Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. pp. 103–104. ISBN 978-0-374-16342-6.
  2. Charles Patterson Giersch (2006). Asian borderlands: the transformation of Qing China's Yunnan frontier. Harvard University Press. pp. 100–110. ISBN 0674021711.
  3. Htin Aung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press. pp. 178–179.