หมาจิ้งจอกหลังดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หมาจิ้งจอกหลังเงิน)
หมาจิ้งจอกหลังดำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลโอซีน - ปัจจุบัน[1]
ใน Etosha National Park, นามิเบีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
สกุล: Lupulella
สปีชีส์: L.  mesomelas
ชื่อทวินาม
Lupulella mesomelas
(Schreber, 1775)
ชนิดย่อย
2 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมาจิ้งจอกหลังดำ ประกอบด้วยสีน้ำเงิน (L. m. mesomelas) และ สีแดง (L. m. schmidti)
ชื่อพ้อง

Canis mesomelas[3]

หมาจิ้งจอกหลังดำ หรือ หมาจิ้งจอกหลังเงิน (อังกฤษ: black-backed jackal, silver-backed jackal, red jackal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lupulella mesomelas) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่งในวงศ์สุนัข (Canidae)

เป็นหมาจำพวกแจ็กคัลชนิดหนึ่ง มีใบหูใหญ่ ปลายหางมีสีดำ ช่วงขาสั้นกว่าหมาจิ้งจอกข้างลาย (L. adusta) ตัวผู้กับตัวเมียมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันแต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย

มีความสูงจากหัวไหล่ถึงปลายเท้า 40–45 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 70–80 เซนติเมตร ความยาวหาง 28–35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 6–13.5 กิโลกรัม อายุโดยเฉลี่ย 8–10 ปี

พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปแอฟริกา โดยเป็นแจ็กคัลชนิดที่หาได้ง่ายที่สุด พบเห็นได้บ่อยที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยจะอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่กึ่งทะเลทราย จะจับคู่เพียงคู่เดียวไปตลอดทั้งชีวิตและช่วยกันปกป้องถิ่นอาศัยและถิ่นหากิน หมาจิ้งจอกหลังดำเป็นนักฉกฉวยโอกาสแย่งกินซากสัตว์จากสัตว์นักล่าชนิดอื่น ๆ แต่เมื่อมีโอกาสก็จะล่าลูกแอนทีโลป หรือลูกกวางขนาดเล็ก เป็นอาหารได้ รวมถึงหนู, นกที่หากินตามพื้นดิน ลูกหมาขนาดเล็กที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น เสือดาว, อินทรีขนาดใหญ่, งูเหลือม[4]

ชนิดย่อย[แก้]

หมาจิ้งจอกเคป
หมาจิ้งจอกแอฟริกาตะวันออก

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

  • L. m. mesomelas Schreber, 1775 – หมาจิ้งจอกเคป พบได้ตั้งแต่แหลมกูดโฮป, ทางตอนเหนือของแองโกลา, ซิมบับเว และภาคใต้ของโมซัมบิก
  • L. m. schmidti Noack, 1897 – หมาจิ้งจอกแอฟริกาตะวันออก มีความแตกต่างจากชนิดแรกตรงที่มีขนาดใหญ่กว่า, ไม่หอน[5] และมีรูปแบบของฟันที่แตกต่างกันเนื่องจากสภาพอาหารที่กินที่แตกต่างกัน พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของเอธิโอเปีย, ภาคใต้ของซูดาน, จิบูตี, โซมาเลีย, เคนยา, ยูกันดา และภาคเหนือของแทนซาเนีย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Macdonald, David (1992). The Velvet Claw. p. 256. ISBN 0-563-20844-9.
  2. Loveridge & Nel (2008). Canis mesomelas. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 11 May 2008. Database entry includes justification for why this species is of least concern
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Wozencraft2005
  4. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 139. ISBN 978-616-90508-0-3
  5. The behavior guide to African mammals: including hoofed mammals, carnivores, primates by Richard Estes, published by University of California Press, 1992, ISBN 0-520-08085-8
  6. MAMMALIAN SPECIES No. 715, pp. 1–9, 3 figs. Canis mesomelas. By Lyle R. Walton and Damien O. Joly, Published 30 July 2003 by the American Society of Mammalogists

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Canis mesomelas ที่วิกิสปีชีส์