ข้ามไปเนื้อหา

หมอนรองเข่าฉีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมอนรองเข่าฉีก
(Tear of meniscus)
หัวกระดูกแข้งขวาที่มองจากด้านบน แสดงหมอนรองเข่าและจุดที่ยึดกับเอ็น
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์

หมอนรองเข่าฉีก (อังกฤษ: tear of a meniscus) คือการฉีกขาดของแถบกระดูกอ่อนเส้นใย (fibrocartilage) หนึ่งแถบหรือยิ่งกว่าในเข่าที่เรียกว่า กระดูกอ่อนเมนิสคัส (meniscus) เมื่อแพทย์และผู้ป่วยพูดถึง "กระดูกอ่อนฉีกขาด" ในหัวเข่า นี่อาจหมายถึงการบาดเจ็บที่กระดูกอ่อนเมนิสคัสด้านบนของกระดูกแข้งข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกอ่อนอาจฉีกขาดได้เมื่อทำกิจกรรมที่แม้ดูจะไม่อันตราย เช่น การเดินหรือการนั่งยอง ๆ แต่ก็อาจขาดได้เพราะแรงกระแทกรุนแรงในกีฬาหรือการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ การกระทำที่ก่อการบาดเจ็บมักเป็นการบิดหัวเข่าในขณะที่ขากำลังงอ ในผู้สูงอายุ เมนิสคัสอาจเสียหายจากการสึกหรอที่เป็นไปแล้วเป็นเวลานาน การบาดเจ็บที่เฉียบพลันมาก (มักพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่าและกระฉับกระเฉงกว่า) สามารถทำให้กระดูกฉีกแบบเคลื่อนที่ ซึ่งอาจก่ออาการทางกลต่าง ๆ เช่น รู้สึกคลิ๊กหรือมีเสียงคลิ๊ก ข้อติดหรือข้อล็อกเมื่อเคลื่อนไหวข้อต่อ[1] ข้อต่อจะเจ็บปวดเมื่อใช้งาน แต่เมื่อไม่รับน้ำหนักก็จะหายเจ็บ

การฉีกขาดของเมนิสคัสด้านใน (medial meniscus)[2] อาจเกิดโดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอาการบาดเจ็บสามอย่าง พร้อมกับการฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้า (anterior cruciate ligament) และเอ็นข้างเข่าด้านใน (medial collateral ligament)

อาการ

[แก้]

อาการสามัญของหมอนรองกระดูกเข่าฉีกก็คือ อาการปวดเข่าโดยเฉพาะตามแนวข้อต่อ และอาการบวม อาการจะแย่ลงเมื่อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น (เช่น เมื่อวิ่ง) อาการที่พบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งก็คือข้อต่อล็อก เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดขาให้ตรงได้อย่างเต็มที่ อาจมาพร้อมกับความรู้สึกเหมือนเข่าคลิ๊ก/เข่าติด บางครั้ง เมนิสคัสฉีกอาจก่อความรู้สึกว่าเข่าได้ทรุดลง

ผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเข่าฉีกบางครั้งอาจจำกิจกรรมที่ก่อการบาดเจ็บได้ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการหมุนเข่าในขณะที่งออยู่เล็กน้อย การเคลื่อนไหวเช่นเดียวกันยังทำให้เจ็บมากขึ้นหลังจากการบาดเจ็บด้วย ตัวอย่างเช่น การลงจากรถ

สาเหตุ

[แก้]

มีหมอนรองเข่า (เมนิสคัส) 2 ชิ้นในหัวเข่า ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกต้นขากับกระดูกแข้ง ปลายกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งมีกระดูกอ่อนโปร่งแสง (hyaline cartilage) บาง ๆ หุ้มอยู่แล้ว เมนิสคัสทำมาจากกระดูกอ่อนเส้นใย (fibrocartilage) ที่แข็งแรงโดยมีรูปทรงเข้ากันกับผิวกระดูกที่รองรับ ชิ้นหนึ่งตั้งอยู่บนแผ่นกระดูกหน้าแข้งด้านใน (tibial plateau) นี่คือ เมนิสคัสด้านใน (medial meniscus) อีกชิ้นหนึ่งตั้งอยู่บนแผ่นกระดูกหน้าแข้งด้านข้าง นี่คือ เมนิสคัสด้านข้าง (lateral meniscus)[3][4]

เมนิสคัสได้สารอาหารจากหลอดเลือดขนาดเล็ก แต่ก็มีพื้นที่ขนาดใหญ่ตรงกลางที่ไม่มีเลือดมาเลี้ยง (avascular) ซึ่งเป็นปัญหาเมื่อเกิดบาดเจ็บ เพราะบริเวณที่ไม่มีหลอดเลือดมักไม่หาย คือ หากไม่มีสารอาหารจำเป็นจากหลอดเลือด ก็ไม่สามารถหายได้[ต้องการอ้างอิง]

สาเหตุสามัญที่สุดสองอย่างของหมอนรองเข่าฉีกก็คือ การบาดเจ็บจากการกระแทก (traumatic injury) ซึ่งมักพบในนักกีฬา และกระบวนการเสื่อมสภาพ (degenerative process) ซึ่งพบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยทุกวัย หมอนรองเข่าฉีกเกิดกับคนทุกวัย การฉีกขาดเหตุบาดเจ็บพบบ่อยที่สุดในคนกระฉับกระเฉงอายุ 10–45 ปี มักเกิดแบบเป็นแนวรัศมีหรือแนวตั้งในกระดูกอ่อน โดยมีแนวโน้มที่จะเกิดชิ้นส่วนที่เคลื่อนได้ซึ่งอาจติดในเข่า จึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด[ต้องการอ้างอิง]

เมนิสคัสอาจจะฉีกเนื่องจากการหมุนเข่าเข้าหรือออกเมื่องอเข่าอยู่โดยเท้าก็งออยู่ด้วย[5] การฉีกขาดของเมนิสคัสมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (ACL) และ medial collateral ligament ปัญหาสามอย่างที่เกิดพร้อมกันนี้เรียกว่า unhappy triad ซึ่งพบในกีฬาเช่น อเมริกันฟุตบอล เมื่อนักกีฬาถูกกระแทกที่ด้านนอกของเข่า

บุคคลที่หมอนรองเข่าฉีกมักมีเข่าเจ็บและบวมเป็นอาการหลัก อีกอย่างก็คือ ข้อต่อล็อก คือไม่สามารถเหยียดข้อให้ตรงได้ เพราะมีชิ้นส่วนหนึ่งของกระดูกฉีกที่ขัดขวางการทำงานปกติของข้อเข่า[ต้องการอ้างอิง]

การฉีกขาดเหตุเสื่อมสภาพสามัญที่สุดในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็พบได้ทุกวัย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคอ้วน หมอนรองเข่าฉีกเพราะเสื่อมเชื่อว่า เป็นส่วนของความชรา เมื่อเส้นใยคอลลาเจนในหมอนรองเข่าเริ่มแตกตัว จึงรองรับโครงสร้างได้น้อยลง การฉีกขาดเหตุเสื่อมสภาพมักเป็นไปในแนวนอน โดยหมอนรองเข่าแยกออกเป็นส่วนบนและส่วนล่าง แต่ก็ไม่เคลื่อนออกจากที่ ดังนั้นจึงไม่ค่อยก่ออาการทางกล เช่น ข้อติดหรือข้อล็อก[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจัยเสี่ยง

[แก้]

หมอนรองเข่าทำด้วยกระดูกอ่อน เป็นวัสดุที่ยืดหยุ่นและหนืด (viscoelastic) ทำให้เสี่ยงการบาดเจ็บเนื่องกับการรับน้ำหนักที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อนึ่ง การรับน้ำหนักซ้ำ ๆ ก็ทำให้บาดเจ็บได้ งานศึกษาจนถึงปี 2013 แสดงว่า ผู้มีอายุเกิน 60 ปี, ผู้ชาย, งานที่ต้องย่อตัวและคุกเข่าบ่อย ๆ และการขึ้นบันไดเกิน 30 ขั้นต่อวัน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อหมอนรองเข่าฉีกเหตุเสื่อม[6][7] นักกีฬาที่เปลี่ยนการรับน้ำหนักอย่างรวดเร็ว (เช่น ฟุตบอล รักบี้) ก็เสี่ยงต่อหมอนรองเข่าฉีกด้วย[6]

งานศึกษายังแสดงว่า การผ่าตัดซ่อมแซมการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (ACL) ยิ่งช้าเท่าไร หมอรองเข่าก็มีโอกาสฉีกมากขึ้นเท่านั้น คืองานศึกษาปี 2007 แสดงว่า หมอนรองเข่าจะฉีกในอัตรา 50–70% ขึ้นอยู่กับว่าการผ่าตัดซ่อมแซม ACL เกิดช้าเท่าไรหลังการบาดเจ็บ[8]

หมอนรองเข่าที่บาดเจ็บแบบ ramp lesions (การฉีกขาดของเมนิสคัสด้านในที่ posterior horn ณ จุดเชื่อมต่อระหว่างเมนิสคัสกับแคปซูล [menisco-capsular junction]) เกิดขึ้นในประมาณ 25% ของผู้ที่ ACL บาดเจ็บ[9] หมอนรองเข่าด้านข้างฉีกที่รากประมาณ 7% ของผู้ที่ ACL บาดเจ็บ[10]

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]

การวินิจฉัย

[แก้]

การป้องกัน

[แก้]

หมอนรองเข่าฉีกพบบ่อยในกีฬาหลายประเภท หมอนรองเข่ารับน้ำหนักของร่างกาย 30–55% ในท่ายืน[11] กีฬาที่มักพบปัญหานี้รวมทั้ง อเมริกันฟุตบอล ฟุตบอล ฮอกกี้น้ำแข็ง และเทนนิส ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องใช้มาตรการป้องกันที่ถูกต้องเพื่อป้องกันหมอนรองเข่าฉีก

มีวิธีหลัก 3 วิธีเพื่อป้องกันหมอนรองเข่าฉีก ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกฉีกได้อย่างมีนัยสำคัญ

รองเท้า

[แก้]

วิธีแรกคือการสวมรองเท้าที่เหมาะสมกับชนิดกีฬาและพื้นผิวที่ใช้ทำกิจกรรม หากกีฬาที่เล่นคือฟุตบอล รองเท้าสตั๊ดเป็นอุปกรณ์สำคัญในการลดความเสี่ยงหมอนรองเข่าฉีก[12] เพราะการก้าวที่เสียสมดุลเพียงก้าวเดียวอาจทำให้หมอนรองเข่าฉีกได้[13] จึงแนะนำว่า รองเท้าควรมีพื้นรองเท้าสังเคราะห์แบบหล่อขึ้นรูป, มีปุ่มสตั๊ดไม่น้อยกว่า 14 ปุ่มต่อข้าง, ปลายปุ่มสตั๊ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่าครึ่งนิ้ว และปุ่มสตั๊ดไม่ยาวเกิน ⅜ นิ้ว[14]

การยืดกล้ามเนื้อ

[แก้]

วิธีป้องกันหมอนรองเข่าฉีกที่สองคือการเพิ่มความแข็งแรงและการยืดกล้ามเนื้อขาหลัก [15] กล้ามเนื้อรวมทั้งกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstrings) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps) และกล้ามเนื้อน่อง (calf muscles) วิธียอดนิยมที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังคือการงอขาโดยรับน้ำหนัก (leg curl) อนึ่ง การยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังให้ดีก็สำคัญด้วย ทำโดยก้มแตะปลายเท้าขณะยืน การเหยียดขาขึ้นในท่านั่ง (seated leg extension) ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และการยืดกล้ามเนื้อก็จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ การเขย่งปลายเท้าช่วยเพิ่มความแข็งแรงและช่วยยืดน่อง[15] กล้ามเนื้อที่มีมวลและแข็งแรงเพียงพอ อาจช่วยรักษาเข่าให้มีสุขภาพดี

การย่อเข่าให้ต้นขาขนานกับพื้น (parallel squat) จะเพิ่มความเสถียรของเข่าหากทำอย่างถูกต้อง ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อส่วนล่างของร่างกายซึ่งเสริมความแข็งแรงให้กับสะโพก เข่า และข้อเท้า โดยแนะนำให้นักกีฬาย่อเข่าไม่ลึกเกินเส้นขนานกับพื้นเพราะจะเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บมากขึ้น[16]

ท่าย่อเข่าให้ต้นขาขนานกับพื้น (parallel squat) ที่ช่วยเสริมความเสถียรของเข่า

เทคนิค

[แก้]

วิธีสำคัญสุดท้ายในการป้องกันหมอนรองเข่าฉีกก็คือเทคนิคที่เหมาะสมกับท่าเคลื่อนไหวที่ต้องทำ[17] สำหรับกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและทรงพลัง ต้องเรียนรู้วิธีการหลบหลีก การเลี้ยว การลงถึงพื้นเมื่อกระโดด และการหยุดอย่างถูกต้อง เมื่อต้องเคลื่อนไหวเช่นนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ได้ฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี

การรักษา

[แก้]
หมอนรองกระดูกด้านใน (medial) ฉีก

ปัจจุบัน การรักษาอาจทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากการฉีกขาดไม่รุนแรง การทำกายภาพบำบัด การพันผ้า การยกขาให้สูง และการประคบน้ำแข็งที่เข่าสามารถรักษาหมอนรองเข่าได้[18] หมอนรองเข่าฉีกมีโอกาสหายได้เองมากขึ้นหากเกิดในบริเวณที่แพทย์เรียกว่า "โซนสีแดง" หรือขอบด้านนอกของหมอนรองเข่าซึ่งมีเลือดมาเลี้ยง[19][20] การฉีกขาดที่หนักกว่าอาจต้องผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดดูเหมือนจะไม่ดีกว่าแบบไม่ผ่าตัด[21] ในระยะยาว หมอนรองกระดูกฉีกเหตุเสื่อมสภาพมักจะสัมพันธ์โรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีผลลัพธ์ที่ไม่ดีไม่ว่าจะเลือกวิธีการรักษาแบบใด ส่วนในระยะสั้น การศึกษาแสดงว่าการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดหมอนรองกระดูกบางส่วนออก (arthroscopic partial meniscectomy) มีประสิทธิภาพดีกว่าในด้านการใช้งานเข่าและการจัดการความเจ็บปวด[22]

การรักษาแบบอนุรักษนิยม

[แก้]

การรักษาเบื้องต้นอาจรวมถึงกายภาพบำบัด การใส่อุปกรณ์พยุง การใช้ยาแก้อักเสบ หรือการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ความทนทาน และความแข็งแรง[23]

ยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดที่แพทย์มักจ่ายรวมถึงยาพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ และคอร์ติโคสเตียรอยด์[24][25]

การออกกำลังกายสามารถเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า กล้ามเนื้อที่แข็งแรงและใหญ่จะช่วยปกป้องกระดูกอ่อนหมอนรองเข่าเพราะรับน้ำหนักไปส่วนหนึ่ง แพทย์อาจจะให้ยาพาราเซตามอลหรือยาแก้อักเสบ

สำหรับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยลดอาการปวดและบวมได้ การฟื้นฟูประเภทนี้มุ่งเน้นการดำรงช่วงการเคลื่อนไหวให้ได้เต็มรูปแบบและการใช้งานให้ได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ทำให้อาการแย่ลง[26] นักกายภาพบำบัดอาจใช้วิธีกระตุ้นด้วยไฟฟ้า บำบัดด้วยความเย็น และรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง/อัลตราซาวนด์

โปรแกรมการฟื้นฟูแบบเร่งรัดอาจดีเท่ากับโปรแกรมแบบอนุรักษนิยม[27] ลดเวลาที่ผู้ป่วยต้องใช้ไม้ค้ำยัน และให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมที่ต้องรับน้ำหนักได้ วิธีการที่อนุรักษนิยมน้อยกว่าเช่นนี้ให้ผู้ป่วยใช้แรงกดได้เล็กน้อยในขณะที่ยังปกป้องช่วงการเคลื่อนไหว[27] หมอนรองเข่าฉีกที่บริเวณรอบ ๆ สามารถรักษาด้วยโปรแกรมแบบเร่งรัดเช่นนี้ ส่วนผู้ที่มีการฉีกขนาดใหญ่กว่าควรเลือกโปรแกรมแบบอนุรักษนิยม

การใช้น้ำเลือดที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้น (platelet-rich plasma) เพื่อช่วยรักษาได้การยอมรับอย่างแพร่หลายในหมู่นักกีฬาสหรัฐอเมริกา แต่การศึกษาที่ประเมินประสิทธิภาพของการรักษาด้วย PRP ก็ให้ผลที่ขัดแย้งกัน[28]

การผ่าตัด

[แก้]

การผ่าตัดส่องกล้อง (อังกฤษ: arthroscopy) เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ใช้กล้องส่องสอดเข้าไปในข้อต่อแทนการผ่าตัดแบบเปิด โดยแพทย์อาจจะซ่อมหรือตัดหมอนรองเข่าออกทั้งหมด[18] การผ่าตัดไม่เหมาะสำหรับหมอนรองกระดูกฉีกเหตุเสื่อมสภาพที่ไม่มีอาการข้อเข่าติดหรือล็อก ไม่มีน้ำในข้อเข่าเกิดซ้ำ ๆ หรือไม่ปวดอย่างต่อเนื่อง[23] หลักฐานชี้ว่าการผ่าตัดไม่ได้ดีไปกว่าการรักษาแบบอนุรักษนิยมในผู้ป่วยทั้งที่มีและไม่มีโรคข้อเข่าเสื่อม[29][30] การผ่าตัดดูเหมือนจะไม่ประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่ที่มีอาการข้ออักเสบเล็กน้อย[30]

คณะผู้เชี่ยวชาญด้านแนวทางปฏิบัติสากลอิสระแนะนำไม่ให้ผ่าตัดส่องกล้องสำหรับหมอนรองเข่าฉีกเพราะเสื่อมสภาพ ข้อสรุปนี้มาจากหลักฐานที่แสดงว่าไม่มีประโยชน์ในระยะยาวและมีผู้ป่วยน้อยกว่า 15% ที่ได้รับประโยชน์แม้แต่ในระยะสั้น[29] ข้อเสียรวมถึงระยะเวลาการฟื้นตัวถึง 2–6 สัปดาห์และผลข้างเคียงร้ายแรงที่พบน้อยแต่อาจเกิดได้ เช่น ลิ่มเลือดในขา (venous thromboembolism) การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และความเสียหายของเส้นประสาท[31][32][33] วารสารการแพทย์สหราชอาณาจักร เดอะบีเอ็มเจ มีอินโฟกราฟิกและเครื่องมือการตัดสินใจร่วมกัน เพื่ออำนวยการสนทนากันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการผ่าตัดส่องกล้อง[29]

หากเป็นการบาดเจ็บเฉพาะหมอนรองเข่า เข่าก็จะค่อนข้างเสถียร แต่ถ้าเกิดร่วมกับการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (anterior cruciate ligament) ก็จะแนะนำให้ผ่าตัดส่องกล้อง การซ่อมหมอนรองเข่ามีอัตราความสำเร็จสูงขึ้นถ้าการบาดเจ็บเกิดในบริเวณที่มีเลือดไปเลี้ยงพอ ส่วนในของหมอนรองกระดูกจะไม่มีเส้นเลือด โดยเลือดสามารถเข้าไปได้ลึกประมาณ 6 มิลลิเมตร ดังนั้น หมอนรองเข่าฉีกที่เกิดขึ้นใกล้กับขอบนอกสามารถหายได้หลังการซ่อมแซม[1]

การศึกษาหนึ่งพบว่าการซ่อมแซมดีกว่าการตัดออก (meniscectomy) ระยะการฟื้นฟูเมื่อซ่อมจะนานกว่า แต่การตัดออกอาจก่อโรคข้อเข่าเสื่อมได้ การฟื้นฟูหลังการตัดหมอนรองเข่าจะใช้เวลา 4–6 สัปดาห์ การซ่อมแซมต้องใช้เวลา 4–6 เดือน หากการรักษาแบบอนุรักษนิยมไม่ได้ผล ก็อาจต้องผ่าตัด ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่ามักจะฟื้นตัวได้ดีกว่าและตอบสนองได้ดีต่อการรักษานี้ ในขณะที่ผู้ป่วยที่อายุมากกว่าและเคลื่อนไหวน้อยกว่าจะไม่ได้ผลดีหลังการซ่อมแซม[34]

การปลูกถ่าย

[แก้]

วัสดุปลูกฝัง

[แก้]

การฟื้นสภาพหลังผ่าตัด

[แก้]

วิทยาการระบาด

[แก้]

ในปี 2008 กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐรายงานยอดผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาล 2,295 รายที่ได้วินิจฉัยหลักเป็นหมอนรองเข่าฉีก เป็นหญิง 53.49% และชาย 45.72% คนอายุระหว่าง 45–68 ปีในอัตรา 31.73%, 65–84 ปีในอัตรา 28.82% ระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7 วันสำหรับชายและ 3.7 วันสำหรับหญิง

มีผู้ป่วย 6,941 รายที่ได้ซ่อมแซมเข่า คนอายุระหว่าง 18–44 มีอัตราสูงสุดที่ 37.37% ตามด้วยคนอายุ 45–64 ปีที่ 36.34% เป็นชาย 50.78% และหญิง 48.66% ระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 3.1 วัน[35]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Meniscus Injuries จาก eMedicine
  2. Shelbourne, KD; Nitz, PA (1991). "The O'Donoghue triad revisited. Combined knee injuries involving anterior cruciate and medial collateral ligament tears". Am J Sports Med. 19 (5): 474–7. doi:10.1177/036354659101900509. PMID 1962712. S2CID 45964892.
  3. Themes, U. F. O. (2017-03-25). "Meniscal Anatomy". Musculoskeletal Key (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  4. Kim, Jun-Ho; Ahn, Jin Hwan; Kim, Joo-Hwan; Wang, Joon Ho (2020-10-12). "Discoid lateral meniscus: importance, diagnosis, and treatment". Journal of Experimental Orthopaedics. 7 (1): 81. doi:10.1186/s40634-020-00294-y. ISSN 2197-1153. PMC 7550551. PMID 33044686.
  5. Poulsen, MR; Johnson, DL (February 2011). "Meniscal injuries in the young, athletically active patient". Phys Sportsmed. 39 (1): 123–30. doi:10.3810/psm.2011.02.1870. PMID 21378495. S2CID 26777411.
  6. 6.0 6.1 Snoeker, BA.; Bakker, EW.; Kegel, CA.; Lucas, C. (Jun 2013). "Risk factors for meniscal tears: a systematic review including meta-analysis". J Orthop Sports Phys Ther. 43 (6): 352–67. doi:10.2519/jospt.2013.4295. PMID 23628788. Results showed strong evidence that age (older than 60 years), gender (male), work-related kneeling and squatting, and climbing stairs (greater than 30 flights) were risk factors for degenerative meniscal tears. We also found strong evidence that playing soccer and playing rugby were strong risk factors for acute meniscal tears. Waiting longer than 12 months between the anterior cruciate ligament injury and reconstructive surgery was a strong risk factor for a medial meniscal tear but not for a lateral meniscal tear.
  7. Smoak, Jason B.; Matthews, John R.; Vinod, Amrit V.; Kluczynski, Melissa A.; Bisson, Leslie J. (2020-09-01). "An Up-to-Date Review of the Meniscus Literature: A Systematic Summary of Systematic Reviews and Meta-analyses". Orthopaedic Journal of Sports Medicine. SAGE Publications. 8 (9). doi:10.1177/2325967120950306. ISSN 2325-9671. A meta-analysis by Snoeker et al identified several risk factors for degenerative meniscal tears, including increased age, male sex, work-related kneeling and squatting, standing or walking >2 hours per day, walking >2 miles per day, climbing > 30 flights of stairs per day, and lifting or carrying >10 kg >10 times per week.
  8. Papastergiou, SG.; Koukoulias, NE.; Mikalef, P.; Ziogas, E.; Voulgaropoulos, H. (Dec 2007). "Meniscal tears in the ACL-deficient knee: correlation between meniscal tears and the timing of ACL reconstruction". Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc. 15 (12): 1438–44. doi:10.1007/s00167-007-0414-9. PMID 17899001. S2CID 21495974.
  9. Sonnery-Cottet, Bertrand; Praz, Cesar; Rosenstiel, Nikolaus; Blakeney, William G.; Ouanezar, Herve; Kandhari, Vikram; Vieira, Thais Dutra; Saithna, Adnan (November 2018). "Epidemiological Evaluation of Meniscal Ramp Lesions in 3214 Anterior Cruciate Ligament–Injured Knees From the SANTI Study Group Database: A Risk Factor Analysis and Study of Secondary Meniscectomy Rates Following 769 Ramp Repairs" (PDF). The American Journal of Sports Medicine. 46 (13): 3189–3197. doi:10.1177/0363546518800717. ISSN 0363-5465. PMID 30307740. S2CID 52965559.
  10. Praz, Cesar; Vieira, Thais Dutra; Saithna, Adnan; Rosentiel, Nikolaus; Kandhari, Vikram; Nogueira, Helder; Sonnery-Cottet, Bertrand (March 2019). "Risk Factors for Lateral Meniscus Posterior Root Tears in the Anterior Cruciate Ligament–Injured Knee: An Epidemiological Analysis of 3956 Patients From the SANTI Study Group" (PDF). The American Journal of Sports Medicine. 47 (3): 598–605. doi:10.1177/0363546518818820. ISSN 0363-5465. PMID 30649904. S2CID 58619840.
  11. Rath, E.; Richmond, JC. (Aug 2000). "The menisci: basic science and advances in treatment". Br J Sports Med. 34 (4): 252–7. doi:10.1136/bjsm.34.4.252. PMC 1724227. PMID 10953895.
  12. Papalia, R.; Del Buono, A.; Osti, L.; Denaro, V.; Maffulli, N. (2011). "Meniscectomy as a risk factor for knee osteoarthritis: a systematic review". Br Med Bull. 99 (1): 89–106. doi:10.1093/bmb/ldq043. PMID 21247936.
  13. Peña, E.; Calvo, B.; Martínez, MA.; Palanca, D.; Doblaré, M. (Jun 2005). "Finite element analysis of the effect of meniscal tears and meniscectomies on human knee biomechanics". Clin Biomech (Bristol, Avon). 20 (5): 498–507. doi:10.1016/j.clinbiomech.2005.01.009. PMID 15836937.
  14. Torg, J; Quesdenfeld, T (1971). "Effect of shoe type and cleat length on incidence and severity of knee injuries among high school football players". Research Quarterly. 42 (2): 203–211. doi:10.1080/10671188.1971.10615058. PMID 5282789.
  15. 15.0 15.1 Fithian, DC.; Kelly, MA.; Mow, VC. (March 1990). "Material properties and structure-function relationships in the menisci". Clin Orthop Relat Res. 252 (252): 19–31. doi:10.1097/00003086-199003000-00004. PMID 2406069.
  16. Escamilla, RF (2001). "Knee biomechanics of the dynamic squat exercise". Med Sci Sports Exerc. 33 (1): 127–41. doi:10.1097/00005768-200101000-00020. PMID 11194098.
  17. Rodkey, WG. (2000). "Basic biology of the meniscus and response to injury". Instr Course Lect. 49: 189–93. PMID 10829174.
  18. 18.0 18.1 Shelbourne, KD; Patel, DV; Adsit, WS; Porter, DA (1996). "Rehabilitation after meniscal repair". Clin Sports Med. 15 (3): 595–612. doi:10.1016/S0278-5919(20)30114-9. PMID 8800538.
  19. "Meniscus Repair". wa.kaiserpermanente.org. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  20. "What Happens If You Leave A Torn Meniscus Untreated?" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  21. Monk, P; Garfjeld Roberts, P; Palmer, AJ; Bayliss, L; Mafi, R; Beard, D; Hopewell, S; Price, A (March 2017). "The Urgent Need for Evidence in Arthroscopic Meniscal Surgery". The American Journal of Sports Medicine. 45 (4): 965–973. doi:10.1177/0363546516650180. PMID 27432053. S2CID 6035282.
  22. Li, Juntan; Zhu, Wannan; Gao, Xiang; Li, Xu (2020). "Comparison of Arthroscopic Partial Meniscectomy to Physical Therapy following Degenerative Meniscus Tears: A Systematic Review and Meta-analysis". BioMed Research International. 2020: 1709415. doi:10.1155/2020/1709415. ISSN 2314-6141. PMC 7073498. PMID 32190650.
  23. 23.0 23.1 American Medical Society for Sports Medicine (2014-04-24), "Five Things Physicians and Patients Should Question", Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Medical Society for Sports Medicine, สืบค้นเมื่อ 2014-07-29 , which cites
    • Herrlin, SV; Wange, PO; Lapidus, G; Hållander, M; Werner, S; Weidenhielm, L (Feb 2013). "Is arthroscopic surgery beneficial in treating non-traumatic, degenerative medial meniscal tears? A five year follow-up". Knee Surgery, Sports Traumatology, Arthroscopy. 21 (2): 358–64. doi:10.1007/s00167-012-1960-3. PMID 22437659. S2CID 20181472.
  24. Jones, Brandon Q.; Covey, Carlton; Marvin Sineath, Jr (2015-11-15). "Nonsurgical Management of Knee Pain in Adults". American Family Physician. 92 (10): 875–883. ISSN 0002-838X. PMID 26554281.
  25. "How To Heal A Torn Meniscus Naturally | Exercises & Remedies" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
  26. Goldblatt, JP; LaFrance, RM; Smith, JS (2009). "Managing meniscal injuries: The treatment". Journal of Musculoskeletal Medicine. 26 (12): 471–7.
  27. 27.0 27.1 Barber, FA; Click, SD (1997). "Meniscus repair rehabilitation with concurrent anterior cruciate reconstruction". Arthroscopy. 13 (4): 433–7. doi:10.1016/s0749-8063(97)90120-1. PMID 9276048.
  28. Twomey-Kozak, John; Jayasuriya, Chathuraka T. (January 2020). "Meniscus Repair and Regeneration: A Systematic Review from a Basic and Translational Science Perspective". Clinics in Sports Medicine. 39 (1): 125–163. doi:10.1016/j.csm.2019.08.003. ISSN 1556-228X. PMC 6884076. PMID 31767102.
  29. 29.0 29.1 29.2 Siemieniuk, RA; Harris, IA; Agoritsas, T; Poolman, RW; Brignardello-Petersen, R; Van de Velde, S; Buchbinder, R; Englund, M; Lytvyn, L; Quinlan, C; Helsingen, L; Knutsen, G; Olsen, NR; Macdonald, H; Hailey, L; Wilson, HM; Lydiatt, A; Kristiansen, A; และคณะ (May 2017). "Arthroscopic surgery for degenerative knee arthritis and meniscal tears: a clinical practice guideline". BMJ. 357: j1982. doi:10.1136/bmj.j1982. PMC 5426368. PMID 28490431.
  30. 30.0 30.1 Khan, M.; Evaniew, N.; Bedi, A.; Ayeni, O. R.; Bhandari, M. (2014-08-25). "Arthroscopic surgery for degenerative tears of the meniscus: a systematic review and meta-analysis". Canadian Medical Association Journal. 186 (14): 1057–64. doi:10.1503/cmaj.140433. PMC 4188648. PMID 25157057.
  31. Friberger Pajalic, Katarina; Turkiewicz, Aleksandra; Englund, Martin (2018-06-01). "Update on the risks of complications after knee arthroscopy". BMC Musculoskeletal Disorders. 19 (1): 179. doi:10.1186/s12891-018-2102-y. PMC 5984803. PMID 29859074.
  32. Abram, SGF; Judge, A; Beard, DJ; Price, AJ (2018-09-24). "Adverse outcomes after arthroscopic partial meniscectomy: a study of 700 000 procedures in the national Hospital Episode Statistics database for England". Lancet. 392 (10160): 2194–2202. doi:10.1016/S0140-6736(18)31771-9. PMC 6238020. PMID 30262336.
  33. Hame, Sharon L.; Nguyen, Virginia; Ellerman, Jessica; Ngo, Stephanie S.; Wang, Jeffrey C.; Gamradt, Seth C. (2012-04-10). "Complications of Arthroscopic Meniscectomy in the Older Population". The American Journal of Sports Medicine. 40 (6): 1402–1405. doi:10.1177/0363546512443043. PMID 22495145. S2CID 25464984.
  34. Sohn, DH; Toth, AP (April 2008). "Meniscus transplantation: current concepts". J Knee Surg. 21 (2): 163–72. doi:10.1055/s-0030-1247813.
  35. Clayton, Robert A. E.; Court-Brown, Charles M. (2008-12-01). "The epidemiology of musculoskeletal tendinous and ligamentous injuries". Injury. 39 (12): 1338–1344. doi:10.1016/j.injury.2008.06.021. PMID 19036362 – โดยทาง www.injuryjournal.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก