หมอกทะเล
วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
Sea smoke and steam devil over the Sea of Japan on December 25, 2021, on the south of Primorsky Krai of Russia, from Yuzhno-Morskoy (near Nakhodka). |
หมอกทะเล (อังกฤษ: sea smoke), ควันน้ำค้างแข็ง, ควันอุณหภูมิใต้จุดเยือกแข็ง (อังกฤษ: frost smoke)[1] หรือ หมอกไอน้ำ (อังกฤษ: steam fog)[2][3] เป็นหมอกที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศเย็นจัดเคลื่อนตัวเหนือน้ำที่อุ่นกว่า หมอกทะเลอาร์กติก (arctic sea smoke)[4] เป็นหมอกทะเลที่ก่อตัวเหนือผืนน้ำเปิดขนาดเล็กในน้ำแข็งทะเล[5]
เกิดขึ้นเมื่อมีกระแสลมอ่อน ๆ ของอากาศเย็นจัดผสมกับชั้นบาง ๆ ของอากาศอุ่นที่อิ่มตัวอยู่เหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า อากาศอุ่นจะถูกทำให้เย็นเกินจุดน้ำค้างและไม่สามารถเก็บไอน้ำได้มากเท่าเดิม จึงเกิดการควบแน่นส่วนเกินออกมา ผลลัพธ์คล้ายกับ "ไอน้ำ" ที่เกิดขึ้นเหนืออ่างน้ำร้อนหรือเครื่องดื่มร้อน หรือแม้แต่บุคคลที่ออกกำลังกาย[3][4] หมอกทะเล มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ไม่แน่นอนและอาจเกิดเป็นแนวหมุนวนได้ โดยปกติแล้วจะไม่สูงมาก และการมองจากเรือมักจะมองข้ามมันได้ (แต่เรือเล็กอาจมีความมองเห็นต่ำ) เนื่องจากหมอกถูกจำกัดอยู่ในชั้นอากาศอุ่นที่อยู่เหนือผิวน้ำ อย่างไรก็ตาม มีการสังเกตเห็นแนวของหมอกทะเลที่สูงถึง 20–30 เมตร (70–100 ฟุต) เนื่องจากหมอกชนิดนี้ต้องการอุณหภูมิอากาศที่ต่ำมาก จึงไม่ค่อยพบในภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิปานกลาง แต่พบได้บ่อยในเขตอาร์กติกและแอนตาร์กติกา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bowditch (1962). The American Practical Navigator. U.S. Navy Hydrographic Office. p. 614.
- ↑ "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 11 September 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 MacDonald, Edwin A., Captain, USN (Retired) (1969). Polar Operations. Annapolis: United States Naval Institute. p. 31.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Ministry of Defense (Navy) (1973). Admiralty Manual of Navigation, Volume II. London: Her Majesty's Stationery Office. p. 188.
- ↑ Nuttall, Mark, บ.ก. (2005). Encyclopedia of the Arctic. New York: Routledge. ISBN 978-1-57958-436-8. OCLC 56012002.
อ่านหนังสือเพิ่ม
[แก้]- Sea Smoke and Steam Fog, by P. M. Saunders (Woods Hole Oceanographic Institution, Massachusetts (Manuscript received 9 July 1963: in revised form 29 January 1964), 551.551.8:551.575.1