ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมอกควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นปัญหามลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ซึ่งเกิดเป็นประจำ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทย ซึ่งสองประเทศหลังมีขอบเขตปัญหาน้อยกว่าสี่ประเทศข้างต้น[1][2] ปัญหาดังกล่าวปะทุขึ้นทุกฤดูแล้งโดยมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน[3] มีบันทึกหมอกควันข้ามแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2515[4]

หมอกควันดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากไฟเกษตรกรรมมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอย (slash-and-burn) ในขนาดอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจังหวัดสุมาตราใต้และรีเยาบนเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียวส่วนของอินโดนีเซีย[5][6][7] ที่ดินซึ่งถูกเผานั้นสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าอย่างผิดกฎหมาย และมีการนำไปใช้สำหรับกิจกรรมอย่างการปลูกน้ำมันปาล์มและไม้ทำเยื่อกระดาษ (pulpwood) การเผามีราคาถูกกว่าและเร็วกว่าการตัดและการเก็บกวาดโดยใช้รถขุดหรือเครื่องจักรอื่น[5][8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Regional Haze Action Plan". ASEAN.org. Haze Action Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014.
  2. Ramakreshnan, Logaraj; Aghamohammadi, Nasrin; Fong, Chng Saun; Awang, Bulgiba; Ahmad Zaki, Rafdzah; Wong, Li Ping; Sulaiman, Nik Meriam (2017-12-05). "Haze and health impacts in ASEAN countries: a systematic review". Environmental Science and Pollution Research (ภาษาอังกฤษ). 25 (3): 2096–2111. doi:10.1007/s11356-017-0860-y. ISSN 1614-7499. PMID 29209970.
  3. "Why is South-East Asia's annual haze so hard to deal with?". The Economist. 2013-07-07. สืบค้นเมื่อ 28 June 2014.
  4. Lee, Min Kok (2015-10-02). "Haze in Singapore: A problem dating back 40 years". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2015.
  5. 5.0 5.1 Soeriaatmadja, Wahyudi (2015-10-12). "Minister blasts execs of firm that denied burning forest". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2015. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
  6. "What causes South East Asia's haze?". BBC News. 16 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  7. "Southeast Asia's haze: what's behind the annual outbreaks?". Agence France-Presse. 17 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  8. Fogarty, David (2015-09-27). "Lucrative illegal market for crop land a key cause of fires: Researcher". The Straits Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2015. สืบค้นเมื่อ 27 September 2015.