หมวกกะปิเยาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมวกกะปิเยาะ

หมวกกะปิเยาะ (หรือสะกด กะปิเยาะห์) เดิมเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมในการสวมใส่หมวกของชาวอาหรับ ซึ่งในประเทศแถบมลายูรวมถึงจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสของประเทศไทยจะนิยมสวมใส่หมวกที่เรียกกันว่า "ซอเกาะ" มากกว่า หมวกกะปิเยาะเป็นหมวกที่ชาวชาวไทยมุสลิมสวมใส่ประกอบศาสนกิจ (การประกอบพิธีละหมาด) และสวมใส่ประจำวัน เกิดจากการนำผ้าหลายๆชนิดมาตัดเย็บซ้อนกัน 3 ชั้น เย็บด้วยผ้าหลายชนิดทับซ้อนกัน และจะมีลวดลายต่าง ๆ บนหมวก ฝีมือการผลิตประณีต มีลวดลายปักและฉลุหลายแบบ

ลักษณะรูปทรง[แก้]

รูปทรงของหมวกกะปิเยาะก็มีด้วยกันหลากหลาย อาทิ ทรงดาดา ทรงจาบา ทรงเมกกะ ทรงสูง ทรงลายรุ้ง ทรงซอเกาะดำ ทรงมัสยิด และทรงตริดจอแดน แต่ละทรงจะมีความงดงามแตกต่างกันไป ทรงที่ขายดีราคาย่อมเยาเป็นที่นิยมคือ "ทรงซูดาน" ขึ้นอยู่กับการออกแบบ มี 3 ขนาด คือ

  • ผู้ใหญ่
  • วัยรุ่น
  • เด็ก

ส่วนประกอบของกะปิเยาะ[แก้]

ส่วนประกอบของกะปิเยาะ ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือส่วนฐานและส่วนหัว

  • ส่วนฐานเรียกตามภาษาอาหรับว่า “จิดา” (Jida) ภาษามลายูเรียกว่า “อีบู”
  • ส่วนหัว เรียกตามภาษาอาหรับว่า “เฟาก์” (Fauk) ภาษามลายูเรียกว่า “ตาโป๊ะ”

ประวัติความเป็นมาของหมวกกะปิเยาะ[แก้]

ในอดีตการผลิตหมวกกะปิเยาะเป็นการผลิตงานในครัวเรือน มีจุดเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2517 ได้มีการเริ่มผลิตกะปิเยาะเป็นครั้งแรก ในตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยกลุ่มผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ไปรับจ้างเย็บกะปิเยาะอยู่ที่นั่นประมาณจนมีความชำนาญ จึงริเริ่มนำจักรเย็บผ้า ที่เรียกว่าจักร PAFF กลับมาเย็บกะปิเยาะที่จังหวัดปัตตานี ช่วงแรกกลุ่มลูกค้าคือชาวมุสลิมที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

ต่อมาในปีพ.ศ. 2537 การผลิตหมวกกะปิเยาะได้กลายเป็นการผลิตที่แพร่หลาย จนเกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มผู้ผลิตรายย่อย ขึ้นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีผู้ประกอบการลงทุนในการจัดหาเครื่องตัดผ้า เครื่องฉลุลาย และวัสดุ เช่น ผ้า และด้ายในการเย็บกะปิเยาะ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]