หน้าผาการคลังสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐในช่วงปี 2483 ถึง 2565 ด้านขวาของแผนภาพแสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับหนี้หากรัฐสภาสหรัฐเลือก (ก) ผ่านกฎหมายให้ "หน้าผาการคลัง" มีผลบังคับใช้และลดการขาดดุล (พื้นฐาน) หรือ (ข) ขยายเวลาของนโยบายที่มีอยู่ เช่น การลดภาษี

ในสหรัฐอเมริกา "หน้าผาการคลัง" (อังกฤษ: fiscal cliff) หมายถึง ผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเพิ่มภาษี การตัดลดงบประมาณ และการลดการขาดดุลงบประมาณสหรัฐอเมริกาเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2556 หากกฎหมายเดิมที่มีอยู่ยังไม่เปลี่ยนแปลง การขาดดุลคาดว่าจะลดลงราวกลางปี พ.ศ. 2556 สำนักงานงบประมาณรัฐสภาประเมินว่าการขาดดุลที่ลดลงอย่างรุนแรง (หน้าผาการคลัง) นี้ มีแนวโน้มจะนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างอ่อนในต้นปี พ.ศ. 2556

กฎหมายซึ่งนำไปสู่หน้าผาการคลัง มีการหมดอายุของรัฐบัญญัติลดภาษี พ.ศ. 2553 และการตัดลดงบประมาณที่วางแผนไว้ภายใต้รัฐบัญญัติควบคุมงบประมาณ พ.ศ. 2554 แทบทุกข้อเสนอให้หลีกเลี่ยงหน้าผาการคลังเกี่ยวข้องกับการต่ออายุการตัดภาษีสมัยประธานาธิบดีบุชหรือเพิ่มงบประมาณ เนื่องจากผลกระทบตรงข้ามระยะสั้นต่อเศรษฐกิจ หน้าผาการคลังจึงปลุกกระแสวิจารณ์อย่างเข้มข้นทั้งในและนอกรัฐสภา และนำไปสู่การเรียกร้องให้ขยายการลดภาษีบางส่วนหรือทั้งหมด และให้แทนที่การประหยัด (cutback) ที่มีเป้าหมายกว่า การเจรจายืดเยื้อว่าด้วยประเด็นดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของนโยบายเพิ่มสูงขึ้นต่อภาษีที่จะกำหนดและรายจ่ายภาครัฐในสหรัฐอเมริกา

รัฐบัญญัติควบคุมงบประมาณเป็นการประนีประนอมโดยตั้งใจให้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเพดานหนี้สาธารณะ โครงการหลักบางโครงการ เช่น หลักประกันสังคม (Social Security) ประกันสุขภาพ (Medicaid [en]) การใช้จ่ายระดับสหรัฐ (รวมทั้งการใช้จ่ายทางทหารและบำนาญ) และสวัสดิการทหารผ่านศึก ถูกยกเว้นจากการตัดลดงบประมาณ สำหรับรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศ หน่วยงานรัฐบาลกลางและกระทรวงต่าง ๆ จะถูกลดผ่านการลดกว้าง ๆ ตื้น ๆ

หนี้สาธารณะของสหรัฐอเมริกาจะยังคงโตขึ้นแม้จะมีหน้าผาการคลังก็ตาม อย่างไรก็ดี ในอีกสิบปีข้างหน้า การขาดดุลที่น้อยลงจะลดการเพิ่มหนี้ที่คาดการณ์ไว้ลงได้มากถึง 7.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 70% ซึ่งส่งผลให้มีอัตราส่วนหนี้ต่อขนาดเศรษฐกิจลดลงอย่างมาก สำหรับปีแรก (จากปีงบประมาณ 2555 ถึง 2556) รายได้จากภาษีของรัฐบาลกลางคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 19.63% ขณะที่รายจ่ายคาดว่าจะลดลง 0.25%[1](table-1.6) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเพิ่มรายได้จากภาษีใน พ.ศ. 2556 เป็น 18.4% ของจีดีพี เหนือกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 18.0% ของจีดีพี ขณะที่การลดรายจ่ายลงเหลือประมาณ 22.4% ของจีดีพี ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยรายจ่ายในอดีตที่ 21.0% ของจีดีพี[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. CBO Staff (August 22, 2012). "An Update to the Budget and Economic Outlook: Fiscal Years 2012 to 2022". Congressional Budget Office. สืบค้นเมื่อ August 24, 2012.
  2. "An Analysis of the President's Budgetary Proposals for Fiscal Year 2012 | Figure 1-2". CBO. April 2011. สืบค้นเมื่อ December 7, 2012.

บทอ่านเพิ่มเติม[แก้]