หญ้าน้ำค้าง
หญ้าน้ำค้าง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Core eudicots |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Droseraceae |
สกุล: | Drosera |
สปีชีส์: | D. indica |
ชื่อทวินาม | |
Drosera indica L. (1753) |
หญ้าน้ำค้าง หรือ หยาดน้ำค้าง เป็นพืชกินแมลงในสกุลหยาดน้ำค้าง กระจายพันธุ์ในเขตร้อน พบได้ในประเทศออสเตรเลียและทวีปเอเชียจนถึงทวีปแอฟริกาแต่ไม่พบในเขตนีโอทรอปิค
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]หญ้าน้ำค้างเป็นพืชล้มลุก มีระบบรากเป็นเส้น ลำต้นสูงได้ถึง 30 ซม. ไม่มีหูใบ ใบเรียวยาวได้กว่า 10 ซม. กว้างประมาณ 1-2 มม. ปลายใบม้วนงอมีขน ใบมีสีเขียวเหลืองจนถึงแดงเข้ม ปลายขนมีต่อมเมือกใสเหนียว ช่อดอกออกที่ซอกใบทางตอนปลาย ยาวได้กว่า 10 ซม. มีได้ถึง 20 ดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปใบหอก ยาว 3-5 มม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาวเกือบ 1 ซม. มีสีขาว สีชมพู หรือสีม่วง[1] ก้านดอกยาว 0.5-1.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน แยกกัน ยาวประมาณ 4 มม. อับเรณูรูปขอบขนาน เกสรเพศเมียมี 3 อัน แยกเป็น 2 แฉกเกือบถึงโคนก้าน แคปซูลมี 3 ซีก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 3 มม.[2]
การกระจายพันธุ์
[แก้]หญ้าน้ำค้างมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในแถบทวีปเอเชียเขตร้อน จนถึงแอฟริกาและออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์[2] พบมากที่ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lowrie, Alan. 1998. Carnivorous plants of Australia, volume 3. University of Western Australia Press. 288 pp. illus. (p. 180)
- ↑ 2.0 2.1 หญ้าน้ำค้าง สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้
- ↑ หยาดน้ำค้าง Neofarm
- Larsen, K. (1987). Droseraceae. In T. Smitinand & K. Larsen (eds.), Flora of Thailand Vol. 2 part 1: 67-69.
- Smith, A.W. (1997). A Gardener's Handbook of Plant Names Their Meaning and Origin. Dover Publication, Inc. Mineola, New York: 136.