สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฉายาปีศาจแดง
ผีแดง (ในภาษาไทย)
ก่อตั้ง1878; 146 ปีที่แล้ว (1878) ในชื่อ สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีตแอลวายอาร์
1902; 122 ปีที่แล้ว (1902) ในชื่อ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด
Ground ความจุ74,879[1]
เจ้าของบริษัท แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (เอ็นวายเอสอีMANU)
ประธานร่วมโจเอล และ อัฟราม เกลเซอร์
ผู้จัดการอูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์
ลีกพรีเมียร์ลีก
2018−19พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 6
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Manchester United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ มีที่ตั้งอยู่ที่โอลด์แทรฟฟอร์ดในเมืองแมนเชสเตอร์ ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดในระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งในชื่อ สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีตแอลวายอาร์ เมื่อปี ค.ศ. 1878 จากนั้นเปลี่ยนชื่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เมื่อปี ค.ศ. 1902 และย้ายไปเล่นในสนามปัจจุบันคือโอลด์แทรฟฟอร์ด เมื่อปี ค.ศ. 1910

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในหลายสโมสรในอังกฤษ[2][3] โดยเป็นแชมป์ลีก 20 สมัย เอฟเอคัพ 12 สมัย ลีกคัพ 5 สมัย และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 21 สมัย อีกทั้งพวกเขายังได้ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 3 สมัย ยูฟ่ายูโรปาลีก 1 สมัย ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 1 สมัย ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ 1 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 1 สมัย ในฤดูกาล 1998–99 สโมสรกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลอังกฤษที่คว้าแชมป์เทรเบิล[4] โดยการคว้าแชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีกในฤดูกาล 2016–17 พวกเขากลายเป็นหนึ่งในหน้าสโมสรที่คว้าแชมป์ทั้งสามรายการการแข่งขันของยูฟ่า

ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิกเมื่อปี ค.ศ. 1958 ได้คร่าชีวิตผู้เล่นแปดคน ในปี ค.ศ. 1968 ภายใต้การจัดการทีมของแมตต์ บัสบี แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรกของอังกฤษที่ได้แชมป์ยูโรเปียนคัพ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน พาทีมคว้าแชมป์ 38 ถ้วยตลอดการเป็นผู้จัดการทีม ไม่ว่าจะเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก 13 สมัย เอฟเอคัพ 5 สมัย และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2 สมัยในระหว่างปี ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 2013[5][6][7] จากนั้นเขาได้ประกาศเกษียณตัวเองไป

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคือสโมสรที่มีรายได้สูงที่สุดในโลกสำหรับฤดูกาล 2016–17 ด้วยรายได้ต่อปีเป็นจำนวน 676.3 ล้านปอนด์[8] และเป็นสโมสรที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2018 เป็นมูลค่า 3.1 พันล้านปอนด์[9] ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 สโมสรมีมูลค่าแบรนด์ฟุตบอลที่สูงที่สุดในโลก คาดว่ามีมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10][11] หลังจากเกิดการลอยตัวในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในปี ค.ศ. 1991 สโมสรถูกซื้อโดยมัลคอม เกลเซอร์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ในข้อตกลงมูลเกือบ 800 ล้านปอนด์ หลังจากนั้นบริษัทกลับมาเป็นบริษัทเอกชน ก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทมหาชนอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 เมื่อพวกเขาได้ทำการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก[12][13] และมีทีมคู่แข่งคือลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ซิตี, อาร์เซนอล และลีดส์ยูไนเต็ด

ประวัติของสโมสร

ช่วงปีแรก (1878–1945)

แผนภูมิแสดงความก้าวหน้าของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ตั้งแต่เป็นนิวตันฮีตในฤดูกาล1892–93 จนถึงปัจจุบัน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเดิมใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลนิวตันฮีตแอลวายอาร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1878 โดยพนักงานแผนกขนส่งและเกวียนของสถานีรถไฟแลงคาเชียร์และยอร์กเชียร์ ที่สถานีในนิวตันฮีต[14] เป็นการตั้งทีมขึ้นเพื่อเล่นกับแผนกอื่น ๆ และ บริษัทการรถไฟ แต่เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 พวกเขาแข่งขันกันในนัดแรกที่มีการบันทึกไว้ โดยใส่เสื้อสีประจำบริษัท – เขียนและทอง – พวกเขาบุกพ่ายทีมสำรองของโบลตันวอนเดอเรอส์ ด้วยคะแนน 6–0[15] โดยปี ค.ศ. 1888 สโมสรได้กลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของเดอะคอมบิเนชัน ลีกฟุตบอลระดับภูมิภาค หลังจากการสลายตัวของลีกเพียงฤดูกาลเดียวนิวตันฮีทเข้าร่วมการจัดตั้ง ฟุตบอลอัลไลแอนซ์ ซึ่งดำเนินมาสามฤดูกาลก่อนที่จะถูกรวมเข้ากับฟุตบอลลีก ส่งผลให้สโมสรเริ่มฤดูกาล 1892–93 ในเฟิสต์ดิวิชัน ตามมาด้วยการแยกตัวเป็นอิสระจากบริษัทการรถไฟและนำชื่อ "แอลวายอาร์" ออก[14] หลังผ่านไปสองฤดูกาล สโมสรตกชั้นสู่เซคันด์ดิวิชัน[14]

ทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1905–06 ซึ่งพวกเขาจบอันดับด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศในเซคันด์ดิวิชัน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1902 สโมสรติดหนี้เป็นจำนวน 2,670 ปอนด์ หรือเท่ากับ 280,000 ปอนด์ในปี ค.ศ. 2019 จนมีคำสั่งให้เลิกกิจการ[16] กัปตันทีม แฮร์รี สแตฟเฟิร์ด จึงไปพบกับนักธุรกิจสี่คน รวมถึงจอห์น เฮนรี เดวีส์ (ซึ่งต่อมากลายเป็นประธานสโมสร) แต่ละคนยินดีที่จะลงทุน 500 ปอนด์เพื่อแลกกับผลประโยชน์โดยตรงในการบริหารสโมสร พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อสโมสรในภายหลัง[17] ทำให้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1920 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถือกำเนิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ[18][nb 1] ภายใต้การเป็นผู้จัดการทีมในปี ค.ศ. 1903 ของเออร์เนสต์ มังแนล ทีมจบอันดับด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศในเซคันด์ดิวิชันได้ในปี ค.ศ. 1906 และได้เลื่อนชั้นสู่เฟิสต์ดิวิชัน ซึ่งพวกเขาชนะเลิศและได้แชมป์ลีกสมัยแรกของสโมสรในปี ค.ศ. 1908 และเริ่มต้นฤดูกาลต่อมาด้วยแชมป์แชริตีชีลด์สมัยแรกของสโมสร[19] และจบฤดูกาลด้วยการเป็นแชมป์เอฟเอคัพสมัยแรกของสโมสรเช่นเดียวกัน ต่อมาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้แชมป์เฟิสต์ดิวิชันสมัยที่สองได้ในปี ค.ศ. 1991 แต่เมื่อฤดูกาลต่อมาได้สิ้นสุดลง มังแนลออกจากสโมสร และเข้าร่วมแมนเชสเตอร์ซิตีแทน[20]

ในปี ค.ศ. 1993 สามปีหลังการเริ่มต้นใหม่ของฟุตบอลหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง สโมสรตกชั้นสู่เซคันด์ดิวิชัน และได้เลื่อนชั้นอีกทีในปี ค.ศ. 1925 จากนั้นตกชั้นอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1931 สโมสรจึงกลายเป็นโยโย่คลับ และจบด้วยอันดับที่ 20 ในเซคันด์ดิวิชันปี ค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำสุดในตลอดกาล หลังจากการเสียชีวิตของจอห์น เฮนรี เดวีส์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1927 สถานะการเงินของสโมสรแย่ลงจนดูเหมือนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอาจล้มละลายหากไม่ได้ เจมส์ ดับเบิลยู. กิบสัน ลงทุน 2,000 ปอนด์และเข้าควบคุมกิจการสโมสรในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1931[21]ในฤดูกาล 1938–39 ปีสุดท้ายของฟุตบอลก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง สโมสรจบอันดับที่ 14 ในเฟิสต์ดิวิชัน[21]

ปีของบัสบี (1945-1969)

เดอะบัสบีเบปส์ในเดนมาร์กปี ค.ศ. 1955

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 การกลับมาแข่งฟุตบอลอีกครั้งกำลังจะเกิดขึ้นจนนำไปสู่การแต่งตั้งแมตต์ บัสบี เป็นผู้จัดการทีม ผู้ปฏิวัติสโมสรครั้งใหญ่ทั้งการเลือกตัว ซื้อขายนักเตะ และการฝึกซ้อม[22] บัสบีนำทีมจบอันดับสองในลีก ปี ค.ศ. 1947, 1948 และ 1949 และชนะเลิศเอฟเอคัพในปี ค.ศ. 1948 ปี ค.ศ. 1952 สโมสรชนะเลิศในเฟิสต์ลีกดิวิชันได้ครั้งแรกในรอบ 41 ปี[23]ด้วยนักเตะอายุเฉลี่ยแค่ 22 ปี และสามารถครองแชมป์ได้ติดต่อกันในปี ค.ศ. 1956 และ 1957 สื่อมวลชนได้ขนานนามทีมว่า "เดอะบัสบีเบปส์"[24] ในปี ค.ศ. 1957 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรแรกของอังกฤษที่สามารถคว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพได้ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าปีนั้นเชลซี มีโอกาสก่อนจากการเข้าชิงเมื่อฤดูกาลที่แล้ว[25] ซึ่งพวกเขาพ่ายให้กับเรอัลมาดริด ทีมที่สามารถเอาชนะอันเดอร์เลคต์ แชมป์ลีกของเบลเยียมได้ด้วยคะแนน ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในการชนะคู่แข่งของสโมสร[26]

แผ่นหินสลักเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเตะที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่มิวนิก

ฤดูกาลถัดมา ระหว่างการเดินทางกลับจากการแข่งขันรายการยูโรเปียนคัพที่เอาชนะเรดสตาร์ เบลเกรด เครื่องบินโดยสารที่มีนักเตะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หน้าที่ และนักข่าว ได้เกิดอุบัติเหตุระหว่างแวะเติมเชื้อเพลิงที่มิวนิก ประเทศเยอรมนี จนเกิดภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 ได้คร่าชีวิตผู้โดยสารทั้งหมด 23 คน โดยมีนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแปดคน ได้แก่ เจฟฟ์ เบนต์, โรเจอร์ ไบร์น, เอ็ดดี โคลแมน, ดังคัน เอดเวิดส์, มาร์ก โจนส์, เดวิด เพ็กก์, ทอมมี เทย์เลอร์ และ บิลลี วีลัน และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก[27][28]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ค.ศ. 1963)

ช่วงระยะเวลาที่บัสบีกำลังรักษาตัวอยู่ จิมมี เมอร์ฟี ผู้ช่วยผู้จัดการทีม รับหน้าที่คุมทีมแทนชั่วคราว และสามารถพาทีมเข้าสู่เอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศ แม้พวกเขาต้องพ่ายให้กับโบลตันวอนเดอเรอส์ ในช่วงเหตุการณ์ร้ายแรงนี้เอง ทางยูฟ่าได้เชิญให้สโมสรเข้าร่วมการแข่งขันยูโรเปียนคัพ ฤดูกาล 1958–59 พร้อมกับวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ แชมป์ลีกสูงสุดในเวลานั้น แม้ว่าทางเอฟเอ จะไม่เห็นด้วยในการเข้าแข่งขันในครั้งนี้เพราะไม่ผ่านเงื่อนไขในการเข้าแข่งขัน[29][30] บัสบี้สร้างทีมขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ. 1960 โดยการซื้อผู้เล่นอย่าง เดนิส ลอว์ และแพต เครแรนด์ รวมทั้งผู้เล่นดาวรุ่งอย่าง จอร์จ เบสต์ จนสามารถพาคว้าแชมป์เอฟเอคัพ ได้ในปี ค.ศ. 1963 ฤดูกาลถัดมาพวกเขาจบอันดับที่สองในลีก จากนั้นชนะเลิศในลีกปี ค.ศ. 1965 และ ค.ศ. 1967 โดยในปี ค.ศ. 1968 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกลายเป็นสโมสรอังกฤษทีมแรก (และทีมที่สองของบริติช) ที่คว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพหลังจากเอาชนะไบฟีกา ด้วยคะแนน 4–1 ในนัดชิงชนะเลิศ[31] สามนักเตะของทีมยังได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นแห่งปีของยุโรป อันประกอบด้วย บ็อบบี ชาร์ลตัน, เดนิส ลอว์ และ จอร์จ เบสต์[32] พวกเขาได้เป็นตัวแทนสโมสรจากยุโรปในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ 1968พบกับเอสตูเดียนเตส แต่ต้องพ่ายเลกแรกในบัวโนสไอเรส ก่อนที่จะเอาเสมอด้วยคะแนน 1–1 ที่โอล์ดแทรฟฟอร์ดได้ในสามสัปดาห์ต่อมา บัสบีลาออกจากผู้จัดการทีมในปี ค.ศ. 1969 และถูกแทนที่โดยผู้ฝึกสอนทีมสำรอง วิล์ฟ์ แมคควินเนสส์ ซึ่งเขายังเป็นอดีตนักเตะของสโมสรด้วย[33]

1969–1986

ไบรอัน ร็อบสัน ผู้เป็นกัปตันทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 12 ปี มากกว่าผู้เล่นคนไหน ๆ[34]

หลังจากจบอันดับที่แปดในฤดูกาล 1969–70 และออกสตาร์ทได้ย่ำแย่ในฤดูกาล 1970–71 บัสบีถูกดึงตัวกลับมารับงานคุมทีมอีกครั้ง และแม็กกินเนสส์ก็กลับไปคุมทีมสำรองอีกครั้ง ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1971 แฟรงก์ โอแฟร์เรลล์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีม แต่อยู่ได้เพียง 18 เดือน ก็ถูกแทนที่โดยทอมมี ดอเชอร์ตี ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1972[35] ดอเชอร์ตีช่วยให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรอดพ้นจากการตกชั้นได้ในฤดูกาลนั้น ซึ่งมีเพียงแค่ปี ค.ศ. 1974 เท่านั้นที่ทีมตกชั้นไป โดยสามประสานก็ได้ย้ายออกจากทีมไปทั้งเบสต์, ลอว์ และชาร์ลตัน[31] ภายในปีเดียวพวกเขาก็ได้เลื่อนชั้นกลับมาสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง รวมถึงยังสามารถเข้ารอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพในปี ค.ศ. 1976 แต่ก็พ่ายกับเซาแทมป์ตัน พวกเขายังได้เข้าชิงอีกครั้งในปี ค.ศ. 1997 และคว้าแชมป์ได้ด้วยการเอาชนะ ลิเวอร์พูล ด้วยคะแนน 2–1 หลังจากนั้นไม่นานดอเชอร์ตีถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังมีการเปิดเผยข่าวเชิงชู้สาวกับภรรยาของนักกายภาพสโมสร[33][36]

เดฟ เซ็กตัน เข้าคุมทีมแทนดอเชอร์ตีในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ.1977 รวมถึงการเซ็นสัญญานักเตะ ได้แก่ โจ จอร์แดน, กอร์ดอน แม็กควีน, แกรี เบลีย์, และ เรย์ วิลกินส์ อย่างไรก็ดีทีมก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนแปลงทีมในครั้งนี้ พวกเขาจบอันดับสองในฤดูกาล 1979–80 และพ่ายให้กับอาร์เซนอลในเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1979 เซ็กตันถูกไล่ออกในปี ค.ศ. 1981 แม้ว่าการคุมทีมเจ็ดนัดสุดท้ายของฤดูกาล ทีมจะเก็บชัยชนะรวดทุกนัดก็ตาม[37] จากนั้นเขาถูกแทนที่โดยรอน แอตกินสัน ผู้ซึ่งทำลายสถิติการซื้อตัวผู้เล่นในอังกฤษด้วยการเซ็นสัญญากับไบรอัน ร็อบสันจากเวสต์บรอมมิชอัลเบียน ภายใต้การคุมทีมของแอตกินสัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลเอฟเอคัพ ได้ติดต่อกันสองปี คือปี ค.ศ. 1983 และ 1985 ในฤดูกาล1985–86 หลังจากชนะ 13 เสมอ 2 ในช่วงออกสตาร์ท 15 เกมแรก ทีมมีหวังใกล้เคียงที่จะชนะเลิศในลีกอีกครั้ง แต่ท้ายสุดต้องจบเพียงอันดับสี่เท่านั้น ฤดูกาลถัดมาสโมสรอยู่ในอันดับที่สุ่มเสี่ยงต่อการตกชั้นอย่างมาก จนแอตกินสันถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน[38]

ปีของเฟอร์กูสัน (1986–2013)

อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เป็นผู้จัดการทีมในระหว่างปี ค.ศ. 1986 ถึง 2013

อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และผู้ช่วยของเขา อาร์ชี น็อกซ์ จากแอเบอร์ดีน เข้ารับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมในวันเดียวกันกับที่แอตกินสันถูกเลิกจ้าง[39] และพาสโมสรจบอันดับที่ 11 ในลีก[40] แม้ในฤดูกาล 1987–88 แต่ในฤดูกาลต่อมาสโมสรกลับจบอันดับที่ 11 เหมือนเดิม[41] มีรายงานว่าเขาจะถูกไล่ออก แต่ชัยชนะในการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1990 กับคริสตัลพาเลซ รอบรีเพลย์ (หลังจบด้วยการเสมอ 3–3) ช่วยให้เฟอร์กูสันได้อยู่ต่อ[42][43] ฤดูกาลต่อมา แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพเป็นสมัยและ และเข้าแข่งขันในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 1991 เอาชนะเรดสตาร์ เบลเกรด แชมป์ยูโรเปียนคัพ ด้วยคะแนน 1–0 ในรอบชิงชนะเลิศที่จัดขึ้นที่โอลด์แทรฟฟอร์ด และได้แชมป์ลีกคัพสมัยที่สองติดต่อกันในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งทีมเอาชนะน็อตติงแฮมฟอเรสต์ด้วยคะแนน 1-0 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์[38] ในปี ค.ศ. 1993 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ลีกครั้งแรกนับแต่ตั้งปี ค.ศ. 1967 ได้สำเร็จ และในปีต่อมา เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 ที่สามารถคว้าแชมป์ได้สองสมัยติดต่อกันรวมไปถึงเอฟเอคัพ ซึ่งนับว่าเป็น "ดับเบิลแชมป์" ครั้งแรกที่สามารถทำได้ในประวัติศาสตร์สโมสร[38] แมนเชสเตอรืยูไนเต็ดเป็นสโมสรแรกที่สามารถทำดับเบิลได้สองครั้งหลังจากที่พวกเขาชนะการแข่งขันทั้งสองรายการในฤดูกาล 1995–96,[44] ก่อนที่จะรักษาตำแหน่งแชมป์อีกครั้งในฤดูกาล 1996–97[45]

ไรอัน กิกส์ นักเตะที่ลงเล่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ[46]

ในฤดูกาล 1998–99 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีก, เอฟเอคัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก หรือ "เดอะเทรเบิล" ได้ในฤดูกาลเดียวกัน[47]ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 1999 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตามอยู่ 1–0 เมื่อเข้าสู่ช่วงทดเวลาบาดเจ็บ เท็ดดี เชอริงงัม และอูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์ ยิงประตูได้ในท้ายเกม เอาชนะบาเยิร์นมิวนิกได้อย่างปาฏิหาริย์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในการกลับมาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[48] อีกทั้งยังได้แชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ หลังเอาชนะPalmeirasด้วยคะแนน 1–0 ที่โตเกียว[49] จากนั้นเฟอร์กูสันได้รับยศอัศวินจากการทำคุณประโยชน์ให้กับฟุตบอล[50]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะในลีกอีกครั้งในฤดูกาล 1999–2000 และฤดูกาล 2000–01 ทีมจบอันดับที่สามในฤดูกาล 2001–02 ก่อนที่จะกลับมาได้แชมป์อีกครั้งในฤดูกาล 2002–03[51] พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพ ฤดูกาล 2003–04 โดยชนะมิลล์วอลล์ ด้วยคะแนน 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศที่จัดที่มิลเลนเนียมสเตเดียม ในคาร์ดิฟฟ์ เป็นสมัยที่ 11[52] ในฤดูกาล2005–06 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ กว่าทศวรรษ[53] แต่สามารถกลับมาด้วยการจบอันดับที่สองในลีกและเอาชนะวีแกนแอทเลติก ได้ในฟุตบอลลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ 2006 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาล 2006–07 ก่อนที่จะได้ยูโรเปียนดับเบิล ในฤดูกาล 2007–08 ด้วยการดวลจุดโทษเอาชนะเชลซีด้วยคะแนน 6–5 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2008 ในมอสโกว พร้อมกับแชมป์ลีกอังกฤษสมัยที่ 17 โดยไรอัน กิกส์ ลงเล่นเป็นนัดที่ 759 ให้กับสโมสร ทำลายสถิติสโมสรเดิมที่เคยทำไว้โดยบ็อบบี ชาร์ลตัน[54]ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 สโมสรคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2008 ตามด้วยฟุตบอลลีกคัพ ฤดูกาล 2008–09 และแชมป์พรีเมียร์ลีกสมัยที่สามติดต่อกัน[55][56] ในช่วงฤดูร้อน คริสเตียโน โรนัลโด ถูกขายให้กับเรอัลมาดริดด้วยค่าตัวสถิติโลก 80 ล้านปอนด์[57] ในปี ค.ศ. 2010 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเอาชนะแอสตันวิลลาในลีพคัพที่เวมบลีย์ด้วยคะแนน 2–1 นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกในการป้องกันแชมป์ฟุตบอลถ้วย[58]

หลังจากจบอันดับที่สองรองจากเชลซีในฤดูกาล 2009–10 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถกลับมาคว้าแชมป์สมัยที่ 19 ได้ในฤดูกาล 2010–11 จากการไปเยือนและเสมอกับแบล็กเบิร์นโรเวอส์ด้วยคะแนน 1–1 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[59] จากนั้นคว้าแชมป์สมัยที่ 20 ได้ในฤดูกาล 2012–13 จากการเปิดบ้านเอาชนะแอสตันวิลลาด้วยคะแนน 3–0 เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2013[60]

2013–ปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เฟอร์กูสันประกาศว่าเขาจะเกษียณในฐานะผู้จัดการทีมหลังจบฤดูกาล แต่ยังคงเป็นผู้อำนวยการและทูตของสโมสร[61][62] จากนั้นสโมสรได้ประกาศในวันต่อมาว่า เดวิด มอยส์ ผู้จัดการทีมของเอฟเวอร์ตัน จะรับหน้าที่ต่อจากเขาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ด้วยระยะสัญญาหกปี[63][64][65] จากนั้นไรอัน กิกส์ รับหน้าที่เป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีมชั่วคราวใน 10 เดือนต่อมา หลังจากที่มอยส์ถูกไล่ออก เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2014 จากผลงานที่ย่ำแย่โดยสโมสรไม่สามารถป้องกันแชมป์ลีกและไม่สามารถผ่านเข้าสู่ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ฤดูกาล 1995–96[66] ทั้งยังไม่สามารถผ่านเข้าสู่ยูโรปาลีก นั่นหมายความว่าเป็นครั้งแรกที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่ผ่านเข้าร่วมการแข่งขันยุโรปนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990[67] เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ได้รับการยืนยันว่าลูวี ฟัน คาล จะเข้ารับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดแทนมอยส์ ด้วยระยะสัญญาสามปี โดยมีกิกส์เป็นผู้ช่วย[68] มัลคอล เกลเซอร์ ผู้เป็นเจ้าของสโมสรได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2014[69]

แม้ว่าฤดูกาลแรกของฟัน คาล จะสามารถพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดผ่านเข้าสู่ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอีกครั้ง และจบอันดับในลีกที่สี่ในลีก แต่ในฤดูกาลที่สองแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดตกรอบในรอบแบ่งกลุ่ม[70] อีกทั้งยังไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ของการคว้าแชมป์ลีกสามฤดูกาลติดต่อกัน โดยจบอันดับที่ห้า อย่างไรก็ตามในฤดูกาลเดียวกัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์เอฟเอคัพ เป็นสมัยที่ 12 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013[71] แม้จะมีชัยชนะนี้ แต่ฟัน คาลก็ถูกไล่ออกจากผู้จัดการทีมเพียงสองวันต่อมา[72] โดยโชเซ มูรีนโย เข้ารับตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 27 ด้วยระยะสัญญาสามปี[73] ในฤดูกาลนั้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจบอันดับที่หกพร้อมกับคว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพ เป็นสมัยที่ห้า และยูฟ่ายูโรปาลีก เป็นสมัยแรก เช่นเดียวกับเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ สมัยที่ 21 ในการแข่งขันนัดแรกของมูรีนโย[74] แม้จะไม่สามารถจบในสี่อันดับแรก แต่ยูไนเต็ดยังคงผ่านเข้าสู่แชมเปียนส์ลีกได้ จากการเป็นผู้ชนะยูโรปาลีก เวย์น รูนีย์ ยิงประตูที่ 250 ให้กับยูไนเต็ด ซึ่งเหนือกว่าเซอร์ บ็อบบี ชาร์ลตัน ที่ทำประตูให้กับสโมสรได้สูงสุดตลอดกาล ก่อนที่จะออกจากทีมหลังจบฤดูกาลและย้ายกลับไปยังเอฟเวอร์ตัน มูรีนโยถูกไล่ออกเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โดยขณะนั้นยูไนเต็ดอยู่อันดับที่หก ตามหลังจ่าฝูงอย่างลิเวอร์พูล 19 คะแนน และอยู่นอกพื้นที่แชมป์เปียนส์ลีก 11 คะแนน[75] จากนั้นอูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์ อดีตนักเตะของยูไนเต็ดและผู้จัดการทีมของม็อลเดอ เข้ารับตำแหน่งรักษาการผู้จัดการทีมในวันต่อมา[76] หลังจากชนะ 14 นัดในการแข่งขัน 19 นัด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2019 ซูลแชร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมถาวรด้วยระยะสัญญาสามปี[77]

ตราสัญลักษณ์และสี

ไฟล์:Manchester United Badge 1960s-1973.png
ตราสัญลักษณ์ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในช่วงปี ค.ศ. 1960

ชุดแต่งกายของนิวตันฮีตเมื่อปี ค.ศ. 1879 สี่ปีก่อนที่สโมสรจะลงแข่งครั้งแรก ได้มีบันทึกว่าเป็น 'สีขาวและสีน้ำเงิน'[78] ภาพถ่ายของทีมนิวตันฮีตที่ถ่ายไว้เมื่อปี ค.ศ. 1892 แสดงให้เห็นว่าผู้เล่นสวมเสื้อแดงและขาว และนิกเกอร์บอกเกอส์สีน้ำเงิน[79] ระหว่างปี ค.ศ. 1894 และ 1896 ผู้เล่นสวมเสื้อยืดสีเขียวและสีทองอันโดดเด่น[79] ซึ่งถูกแทนที่ในปี ค.ศ. 1896 ด้วยเสื้อสีขาว และกางเกงขาสั้นสีกรมท่า[79]

ภายหลังการเปลี่ยนชื่อสโมสรในปี ค.ศ. 1920 สีของสโมสรเปลี่ยนไปเป็นเสื้อสีแดง กางเกงสีขาว และถุงเท้าสีน้ำเงิน ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานชุดเหย้าของทีมในเวลาต่อมา[79] มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในชุดจนถึงปี ค.ศ. 1922 เมื่อสโมสรนำเสื้อสีขาวที่มีสีแดงเข้มรูปตัว "V" รอบคอ คล้ายกับเสื้อที่สวมใส่ใน เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1909 พวกเขาคงไว้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเหย้าจนถึงปี ค.ศ. 1927[79] สำหรับช่วงเวลาในปี ค.ศ. 1934 เสื้อสีเชอร์รีสลับขาวกลายมาเป็นชุดเหย้า แต่ในฤดูกาลต่อมาเสื้อสีแดงกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากที่สโมสรจบอันดับที่ 20 ในเซคันด์ดิวิชัน[79] ถุงเท้าสีดำเปลี่ยนไปเป็นสีขาวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 จนถึง 1965 และเปลี่ยนเป็นสีแดงจนถึงปี ค.ศ. 1971 โดยสีขาวใช้ในบางโอกาส เมื่อสโมสรกลับไปใช้สีดำ ซึ่งเป็นกางเกงสีดำ และ/หรือ ถุงเท้าสีขาวบางครั้งจะสวมใส่กับเกมเหย้า ส่วนใหญ่มักใส่ในเกมเยือนถ้าชุดตรงกับฝ่ายตรงข้าม สำหรับฤดูกาล 2018–19 กางเกงสีดำและถุงเท้าสีแดงกลายเป็นตัวเลือกหลักสำหรับชุดเหย้า[80] ตั้งแต่ฤดูกาล 1997–98 ถุงเท้าสีขาวเป็นทางเลือกที่นิยมสำหรับเกมยุโรป ซึ่งมักเล่นในคืนวันอาทิตย์ เพื่อช่วยในการมองเห็นของผู้เล่น[81] ชุดเหย้าปัจจุบันของทีมเป็นเสื้อสีแดงพร้อมกับเครื่องหมายสามแถบของอาดิดาสบนไหล่ กางเกงสีขาว และถุงเท้าสีดำ[82]

ชุดเยือนของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มักจะเป็นเสื้อสีขาว กางเกงสีดำและถุงเท้าสีขาว แต่ก็มีข้อยกเว้นหลายประการ ซึ่งรวมถึงชุดสีดำล้วนที่มีการตัดด้วยสีน้ำเงินและสีทองระหว่างปี ค.ศ. 1993 และ 1995 เสื้อสีกรมท่าที่มีแถบสีเงินแนวนอนสวมใส่ในช่วงฤดูกาล 1999–2000[83] และชุดเยือนฤดูกาล 2011–12 ซึ่งมีลำตัวสีฟ้าและแขนเสื้อแถบลายเส้นสีกรมท่าและสีดำ พร้อมกับกางเกงสีดำ และถุงเท้าสีน้ำเงิน[84] ชุดสีเทาล้วนสวมใส่ในช่วงฤดูกาล 1995–96 ถูกทิ้งหลังจากใส่เพียงห้าเกม เรื่องที่ฉาวโฉ่ที่สุด คือเกมที่พบกับเซาแทมป์ตันโดยที่อเล็กซ์ เฟอร์กูสันบังคับให้ทีมเปลี่ยนชุดที่สามในช่วงครึ่งหลัง เหตุผลเพียงเพราะผู้เล่นอ้างว่ามีปัญหาในการมองเพื่อนร่วมทีม โดยยูไนเต็ดแพ้ในเกมที่สวมชุดนี้[85] ในปี ค.ศ. 2001 ฉลองครบรอบ 100 ปี ในนาม "แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด" ออกจำหน่ายชุดเยือนสีทอง/ขาวแบบกลับด้านได้ แม้ว่าจริง ๆ แล้วในวันแข่ง เสื้อไม่สามารถกลับด้านได้[86]

ชุดที่สามของสโมสรมักเป็นสีน้ำเงินล้วน ซึ่งเป็นกรณีล่าสุดระหว่างฤดูล 2014–15[87] ข้อยกเว้นนี้รวมไปถึงเสื้อครึ่งสีเขียวและสีทองที่สวมใส่ระหว่างปี ค.ศ. 1992 และ 1994 เสื้อลายทางสีน้ำเงินและสีขาวที่ใส่ในช่วงฤดูกาล 1994–95 และ 1995–96 และอีกครั้งใน 1996–97 ชุดสีดำล้วนใส่ในช่วงฤดูกาล 1998–99 ที่ได้เทรเบิลแชมป์ และเสื้อสีขาวที่มีแถบแนวนอนสีดำและสีแดงใส่ในช่วงฤดูกาล 2003–04 และ 2005–06[88] ตั้งแต่ฤดูกาล 2006–07 จนถึง 2013–14 ชุดที่สามจะเป็นชุดเยือนฤดูกาลที่ผ่านมา แม้ว่าจะเปลี่ยนผู้สนับสนุนใหม่ของสโมสรในฤดูกาล 2006–07 และ 2010–11 นอกเหนือจากฤดูกาล 2008–09 ชุดสีฟ้าล้วนทำเพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีของความสำเร็จในยูโรเปียนคัพ ฤดูกาล 1967–68[89]

วิวัฒนาการของชุด

1879–1880, 1896–1902
1880–1887
1887–1893
1893–1894
1894–1896
1902–1920, 1921–1922, 1927–1934, 1934–1960, 1971–2018, 2019–ปัจจุบัน[EN]
1920–1921, 1963–1971
1922–1927
1934
1960–1963
(1997–2018)[EU]
2018–2019
หมายเหตุ
  1. ^ ระหว่างปี ค.ศ. 1997 และ 2018 และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 ชุดนี้จะใช้เป็นชุดหลักในการแข่งขันในประเทศและกระชับมิตร
  2. ^ ระหว่างปี ค.ศ. 1997 และ 2018 ชุดนี้จะใช้เป็นชุดหลักในการแข่งขันยุโรปและในระหว่างประเทศ

สนาม

โอลด์แทรฟฟอร์ด สนามปัจจุบันของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

1878–1893: นอร์ทโรด

นิวตันฮีตเริ่มเล่นที่สนามในนอร์ทโรด ใกล้กับลานรถไฟ เดิมมีความจุประมาณ 12,000 ที่นั่ง แต่เจ้าหน้าของสโมสรตัดสินใจว่านี่ไม่เพียงพอต่อความหวังพวกเขาเหล่านั้นที่จะเข้าร่วมฟุตบอลลีก[90] การขยายสนามจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1887 และในปี ค.ศ. 1891 นิวตันฮีตใช้เงินทุนขั้นต่ำในการซื้ออัฒจันทร์สองแห่งแต่ละแห่งสามารถจุดผู้ชมได้ 1,000 คน[91] แม้จำนวนผู้เข้าชมจะไม่ได้บันทึกไว้ในนัดการแข่งขันแรก ๆ ที่นอร์ทโรด แต่สถิติผู้เข้าชมสูงสุดในสนามประมาณ 15,000 คน ในนัดการแข่งขันเฟิสต์ดิวิชัน พบกับซันเดอร์แลนด์เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1893[92] ผู้เข้าชมในลักษณะเดียวกันนี้ยังมีการบันทึกไว้ในนัดกระชับมิตรที่แข่งกับกอร์ดอนวิลลาเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1889[93]

1893–1910: สนามแบงก์สตรีต

1910–ปัจจุบัน: โอลด์แทรฟฟอร์ด

ผู้สนับสนุน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยค่าเฉลี่ยผู้เข้าชมในเกมเหย้าสูงสุดในยุโรป[94] สโมสรระบุว่าฐานแฟนคลับทั่วโลกมีสาขาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการมากกว่า 200 สาขาของกลุ่มผู้สนับสนุนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในอย่างน้อย 24 ประเทศ[95]สโมสรใช้ประโยชน์นี้ผ่านการจัดทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก บริษัทการบัญชีและที่ปรึกษาด้านกีฬา ดีลอยต์ คาดการณ์ว่ามีแฟน ๆ ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกว่า 75 ล้านคนทั่วโลก[12] ในขณะที่การประมาณการอื่น ๆ ทำให้ตัวเลขนี้ใกล้เคียงกับ 33 ล้าน[96] สโมสรมีบัญชีโซเชียลมีเดียสูงสุดเป็นอันดับสามในหมู่ทีมกีฬาทั่วโลก (ตามหลังบาร์เซโลนา และเรอัลมาดริด) มีจำนวนผู้ติดตามในเฟซบุ๊กมากกว่า 71 ล้านคน ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2016[13][97] จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 พบว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีแฟน ๆ ที่เสียงดังที่สุดในพรีเมียร์ลีก[98]

ผู้สนับสนุนมีตัวแทนจากสองหน่วยงานอิสระ ได้แก่ สมาคมอินเดเพนเดนต์แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดซัพพอร์เทอส์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสโมสรผ่านทางแฟนฟอรัม[99] และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดซัพพอร์เทอส์ทรัสต์ หลังจากการเข้าซื้อกิจการของตระกูลเกลเซอร์ในปี ค.ศ. 2005 กลุ่มแฟนคลับได้ก่อตั้งสโมสรแยกออกมาคือ สโมสรฟุตบอลยูไนเต็ดออฟแมนเชสเตอร์ สนามฝั่งทิศตะวันตกของโอลด์แทรฟฟอร์ด "สเตรตฟอร์ดเอนด์" เป็นจุดสิ้นสุดของฝั่งเหย้า และเป็นที่ดั้งเดิมของกลุ่มแกนนำผู้สนับสนุนสโมสร[100]

ทีมคู่แข่ง

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีทีมคู่แข่งคืออาร์เซนอล, ลีดส์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, และแมนเชสเตอร์ซิตี ซึ่งพวกเขาแข่งกันในชื่อแมนเชสเตอร์ดาร์บี[101][102]

การแข่งขันกับลิเวอร์พูลมีรากฐานมาจากการแข่งขันระหว่างเมืองในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อแมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ ขณะที่ลิเวอร์พูลเป็นเมืองท่าสำคัญ[103] ทั้งสองสโมสรต่างประสบความสำเร็จมากที่สุดในอังกฤษ ทั้งการแข่งขันในประเทศ และในยุโรป เมื่อรวมกันแล้วพวกเขาได้ แชมป์ลีก 38 สมัย, ยูโรเปียนคัพ 9 สมัย, ยูโรคัพ 4 สมัย,ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 สมัย, เอฟเอคัพ 19 สมัย,อีเอฟแอลคัพ 13 สมัย,ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 1 สมัย,ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ 1 สมัย และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 36 สมัย[2][104][105] ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกฟุตบอล และถือเป็นกีฬาประจำชาติที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลอังกฤษ[106][107][108][109][110]

"ศึกการแข่งขันกุหลาบ" กับลีดส์เกิดจากสงครามแห่งดอกกุหลาบที่ต่อสู้กันระหว่างราชวงศ์แลงคัสเตอร์ และราชวงศ์ยอร์ก โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นตัวแทนของแลงคาเชียร์ และลีดส์เป็นตัวแทนของยอร์กเชียร์[111]

การแข่งขันกับอาร์เซนอลเกิดขึ้นหลายครั้งจากทั้งสองทีมเช่นเดียวกับผู้จัดการทีม อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และอาร์แซน แวงแกร์ ที่สู้กันเพื่อชิงตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีก ด้วยจำนวน 33 สมัยของทั้งสองทีม (แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 20 สมัย อาร์เซนอล 13 สมัย การแข่งขันนี้จงกลายเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในเกมพรีเมียร์ลีกที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน[112][113]

แบรนด์ระดับโลก

ไฟล์:Aeroflot banner infront of ManUtd stadium.jpg
แอโรฟลอตเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของสโมสร

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดขนานนามว่าเป็นแบรนด์ระดับโลก เมื่อปี ค.ศ. 2011 จากรายงานโดย แบรนด์ไฟแนนซ์ มูลค่าเครื่องหมายการค้าของสโมสรและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องมีมูลค่าที่ 412 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 39 ล้านปอนด์ในปีก่อนซึ่งประเมินค่าไว้ที่ 11 ล้านปอนด์ มากกว่าแบรนด์ที่ดีที่สุดอันดับสอง เรอัลมาดริด โดยได้รับคะแนนความแข็งแกร่งของแบรนด์อยู่ที่ทริปเปิลเอ (แข็งแกร่งมาก)[114] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกโดยนิตยสาร ฟอบส์ ในรายชื่อสิบอันดับทีมที่มีมูลค่าแบรนด์มากที่สุด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีมูลค่าแบรนด์อยู่ที่ 2.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[115] สโมสรอยู่ในอันดับที่สามในดีลอยต์ฟุตบอลมันนีลีก (ตามหลังเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา)[116] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 สโมสรกลายเป็นทีมกีฬาทีมแรกของโลกที่มีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นิตยสารฟอบส์ระบุว่ามูลค่าของสโมสรสูงถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งสูงกว่าทีมกีฬาไหน ๆ[117] สถิติของสโมสรถูกทำลายโดยเรอัลมาดริดในอีกสี่ปีข้างหน้า แต่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกลับสู่อันดับสูงสุดในรายชื่อของฟอบส์เดือน มิถุนายน ค.ศ. 2017 ด้วยมูลค่า 3.689 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[118]

จุดแข็งหลักของแบรนด์ระดับโลกอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมาจากการสร้างทีมขึ้นใหม่ของแมตต์ บัสบี และความสำเร็จที่ตามมาหลังจากภัยพิบัติทางอากาศที่มิวนิกทำให้เกิดเสียงเสียงไชโยโห่ร้องทั่วโลก[100] ทีม "ที่เป็นเอกลักษณ์" อย่าง บ็อบบี ชาร์ลตัน และน็อบบี สติลส์ (ผู้เล่นทีมชาติอังกฤษชุดชนะเลิศ), เดนิส ลอว์ และ จอร์จ เบสต์ รูปแบบการเล่นแบบบุกโจมตีที่นำมาใช้โดยทีมนี้ (ตรงกันข้ามกับการพร้อมใจกันเล่นเกมรับ "คาเตนัชโช" ได้รับการสนับสนุนจากทีมชั้นนำของอิตาลีในยุคนั้น) "จับภาพจินตนาการของภาพลักษณ์นักฟุตบอลอังกฤษ"[119] ทีมของบัสบีเริ่มเกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีของสังคมตะวันตกในช่วงทศวรรษที่ 1960 จอร์จ เบสต์ เป็นที่รู้จักในชื่อ "ฟิฟท์บีเทิล" จากทรงผมอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา เป็นนักฟุตบอลคนแรกที่มีภาพลักษณ์นอกสนามจากสื่ออย่างมีนัยสำคัญ[119]

ในฐานะสโมสรฟุตบอลอังกฤษแห่งที่สองที่เกิดการลอยตัวในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนปี ค.ศ. 1991 สโมสรได้ระดมทุนอย่างมีนัยสำคัญและพัฒนากลยุทธ์เชิงพาณิชย์ต่อไป การมุ่งเน้นของสโมสรในการประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และกีฬานี้ นำมาซึ่งผลกำไรในอุตสาหกรรมที่มักจะเกิดการขาดทุน[120] ความแข็งแกร่งของแบรนด์อย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมาจากความสนใจของสื่อนอกสนามสำหรับผู้เล่นรายบุคคล โดยเฉพาะ เดวิด เบคแคม (ที่พัฒนาแบรนด์ของตัวเองอย่างรวดเร็ว) ความสนใจนี้มักจะสร้างความสนใจมากขึ้นในกิจกรรมบนสนาม และด้วยเหตุนี้จึงสร้างโอกาสในการมีผู้สนับสนุน ด้วยมูลค่าที่ได้รับจากการปรากฏตัวทางโทรทัศน์[121] ในช่วงเวลาที่อยู่กับสโมสร ความนิยมของเบคแคมทั่วเอเชียนั้นเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จเชิงพาณิชย์ของสโมสรจากทั่วโลก[122]

เนื่องจากตำแหน่งในลีกที่สูงขึ้นส่งผลให้มีการได้รับค่าลิขสิทธิ์ทางโทรทัศน์มากขึ้น ผลงานความสำเร็จในสนามจึงสร้างรายได้ให้กับสโมสรมากขึ้น นับตั้งแต่ก่อตั้งพรีเมียร์ลีก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รับส่วนแบ่งรายได้มากที่สุดจากข้อตกลงการออกอากาศของบีสายบี[123] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดยังมีรายได้เชิงพาณิชย์สูงสุดของสโมสรอังกฤษในฤดูกาล 2005–06 กลุ่มการค้าของสโมสรสร้างรายได้ 51 ล้านปอนด์ เทียบกับรายได้ 42.5 ล้านปอนด์ของเชลซี 39.3 ล้านปอนด์ของลิเวอร์พูล 34 ล้านปอนด์ของอาร์เซนอล และ 27.9 ล้านปอนด์ของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด. ผู้สนับสนุนหลักที่สำคัญคือบริษัทอุปกรณ์กีฬา ไนกี้ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขายสินค้าของสโมสรโดยเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นหุ้นส่วนมูลค่า 303 ล้านปอนด์ ตลอดเวลา 13 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 และ ค.ศ. 2015[124] ตลอดทางการเงินของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและแผนการรับสมาชิกสโมสร วันยูไนเต็ด ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสโมสรสามารถซื้อสินค้าและบริการมากมาย นอกจากนี้ยังมีสื่อของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เช่นรายการโทรทัศน์เฉพาะของสโมสร เอ็มยูทีวี ที่สโมสรได้ขยายฐานแฟนคลับที่อยู่ไกลเกินกว่าที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด[12]

ผู้เล่น

ผู้เล่นทีมชุดแรก

ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2019[125][126]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สเปน ดาบิด เด เฆอา
2 DF สวีเดน วิกตอร์ ลินเดเลิฟ
3 DF โกตดิวัวร์ เอริก บายี
4 DF อังกฤษ ฟิล โจนส์
5 DF อังกฤษ แฮร์รี แมไกวร์
6 MF ฝรั่งเศส ปอล ปอกบา
7 FW ชิลี อาเลกซิส ซันเชซ
8 MF สเปน ฆวน มาตา
9 FW ฝรั่งเศส อ็องตอนี มาร์ซียาล
10 FW อังกฤษ มาร์คัส แรชฟอร์ด
12 DF อังกฤษ คริส สมอลลิง
13 GK อังกฤษ ลี แกรนต์
14 MF อังกฤษ เจสซี ลินการ์ด
15 MF บราซิล อังเดรอัส เปเรย์รา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF อาร์เจนตินา มาร์โกส โรโฆ
17 MF บราซิล แฟรจี
18 MF อังกฤษ แอชลีย์ ยัง (กัปตัน)
20 DF โปรตุเกส ดีโยกู ดาโล
21 FW เวลส์ แดเนียล เจมส์
22 GK อาร์เจนตินา เซร์ฆิโอ โรเมโร
23 DF อังกฤษ ลู้ก ชอว์
24 DF เนเธอร์แลนด์ ตีโมตี โฟซู-เมนซาห์
29 DF อังกฤษ แอรอน แวน-บิสซากา
31 MF เซอร์เบีย เนมันยา มาติช
36 DF อิตาลี มัตเตโอ ดาร์มีอัน
38 DF อังกฤษ อักแซล ตวนเซเบ
39 MF สกอตแลนด์ สกอตต์ แม็คโทมิเนย์

ผู้เล่นชุดสำรองและชุดเยาวชน

ผู้เล่นแห่งปีเซอร์แมตต์ บัสบี

บุคลากร

ทีมงานผู้ฝึกสอน

ตำแหน่ง ทีมงาน
ผู้จัดการ นอร์เวย์ อูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์[127]
ผู้ช่วยผู้จัดการ อังกฤษ ไมค์ ฟีแลน[127]
ผู้ฝึกสอนทีมชุดแรก อังกฤษ ไมเคิล แคร์ริก
ไอร์แลนด์เหนือ คีแรน แม็กเคนนา[128]
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู สเปน Emilio Alvarez
หัวหน้าฝ่ายฝึกสอนด้านสมรรถภาพ ว่าง
ผู้ฝึกสอนด้านสมรรถภาพ เวเนซุเอลา Carlos Lalin
อิตาลี Paulo Gaudino
หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ทีมชุดแรก อังกฤษ Paul Brand[129]
นักวิเคราะห์กลยุทธ์ อิตาลี Giovanni Cerra
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทีมชุดแรก อังกฤษ นิกกี บัตต์

เกียรติประวัติ

อังกฤษ ระดับประเทศ

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

โลก ระดับโลก

อื่นๆ

  • เอฟเอชาริตี/คอมมูนิตีชีลด์ (17 แชมป์เดี่ยว, 4 แชมป์ร่วม*)
    • ชนะเลิศ (21): 1908, 1911, 1952, 1956, 1957, 1965*, 1967*, 1977*, 1983, 1990*, 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007, 2008, 2010, 2011, 2013, 2016
  • BBC Sports Personality of the Year Team Award
    • ชนะเลิศ (2): 1968 & 1999

สถิติที่สำคัญของสโมสร

(สถิติล่าสุดเมื่อ 5 มิถุนายน 2559)

สถิติลงเล่นมากที่สุด

(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)

อันดับ รายชื่อ ฤดูกาล ลงเล่น ประตู
1 เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์ 1990 - 2014 963 168
2 อังกฤษ บ็อบบี ชาร์ลตัน 1953 - 1973 758 249
3 อังกฤษ พอล สโคลส์ 1994 - 2011, 2012 - 2013 718 155
4 อังกฤษ บิลล์ โฟ้กส์ 1952 - 1970 688 9
5 อังกฤษ แกรี่ เนวิลล์ 1992 - 2011 602 7
6 อังกฤษ เวย์น รูนีย์ 2004 - 2017 559 253
7 อังกฤษ อเล็กซ์ สเต็ปนี่ย์ 1966 - 1978 539 2
8 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ โทนี่ ดัน 1960 - 1973 535 2
9 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เดนิส เออร์วิน 1990 - 2002 529 33
10 สกอตแลนด์ โจ สเปนซ์ 1919 - 1933 510 168

สถิติทำประตูสูงสุด

(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)

อันดับ รายชื่อ ฤดูกาล ลงเล่น ประตู
1 อังกฤษ เวย์น รูนีย์ 2004 - 2017 559 253
2 อังกฤษ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน 1953 - 1973 758 249
3 สกอตแลนด์ เดนิส ลอว์ 1962 - 1973 404 237
4 อังกฤษ แจ็ก โรว์ลีย์ 1937 - 1955 424 211
5 อังกฤษ เดนนิส ไวโอเล็ต 1952 - 1962 293 179
5 ไอร์แลนด์เหนือ จอร์จ เบสต์ 1963 - 1974 470 179
7 เวลส์ ไรอัน กิ๊กส์ 1991 - 2014 963 168
7 อังกฤษ โจ สเปนซ์ 1919 - 1933 510 168
9 เวลส์ มาร์ค ฮิวจ์ส 1983 - 1986, 1988 - 1995 467 163
10 อังกฤษ พอล สโคลส์ 1994 - 2011, 2012 - 2013 718 155

สถิติของสโมสร

สถิติอื่นๆ

  • ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา (1991-2009) เป็นสโมสรเดียวที่จบฤดูกาลไม่ต่ำกว่าอันดับ 3
  • ทำแต้มในลีกรวมทุกลีก ได้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาล (562 แต้ม อันดับ 2 และ 3 คือลิเวอร์พูลและอาร์เซนอล ได้ 5565 และ 5392 แต้มตามลำดับ)

สโมสรฟุตบอลหญิงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งทีมฟุตบอลหญิงในปี ค.ศ. 2018[130][131][132][133][134]

เชิงอรรถ

  1. แหล่งที่มาจะถูกแบ่งในวันที่แน่นอนของการประชุมและการเปลี่ยนชื่อภายหลัง ขณะที่ทางการของสโมสรอ้างว่าเกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ในการประชุมที่ได้รับรายงานจาก แมนเชสเตอร์อีฟนิงโครนิเคิล ในฉบับวันที่ 25 เมษายน ระบุว่าเป็นวันที่ 24 เมษายน

อ้างอิง

  1. "Manchester United – Stadium" (PDF). premierleague.com. Premier League. สืบค้นเมื่อ 9 November 2017.
  2. 2.0 2.1 Smith, Adam (30 November 2016). "Leeds United England's 12th biggest club, according to Sky Sports study". Sky Sports.
  3. McNulty, Phil (21 September 2012). "Liverpool v Manchester United: The bitter rivalry". BBC Sports.
  4. "BBC ON THIS DAY – 14 – 1969: Matt Busby retires from Man United". BBC News.
  5. "The 49 trophies of Sir Alex Ferguson – the most successful managerial career Britain has ever known". The Independent. London: Independent Print. 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
  6. Stewart, Rob (1 October 2009). "Sir Alex Ferguson successful because he was given time, says Steve Bruce". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.
  7. Northcroft, Jonathan (5 November 2006). "20 glorious years, 20 key decisions". The Sunday Times. London: Times Newspapers. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  8. Wilson, Bill (23 January 2018). "Manchester United remain football's top revenue-generator". BBC News (British Broadcasting Corporation). สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
  9. "Man United Forbes' most valuable soccer team again". Euronews. 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 12 June 2018.
  10. "Manchester United is 'most valuable football brand'". BBC News (British Broadcasting Corporation). 8 June 2015. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.
  11. Schwartz, Peter J. (18 April 2012). "Manchester United Again The World's Most Valuable Soccer Team". Forbes Magazine. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
  12. 12.0 12.1 12.2 Hamil (2008), p. 126.
  13. 13.0 13.1 "Barça, the most loved club in the world". Marca. Retrieved 15 December 2014
  14. 14.0 14.1 14.2 Barnes et al. (2001), p. 8.
  15. James (2008), p. 66.
  16. Tyrrell & Meek (1996), p. 99.
  17. Barnes et al. (2001), p. 9.
  18. James (2008), p. 92.
  19. Barnes et al. (2001), p. 118.
  20. Barnes et al. (2001), p. 11.
  21. 21.0 21.1 Barnes et al. (2001), p. 12.
  22. Barnes et al. (2001), p. 13.
  23. Barnes et al. (2001), p. 10.
  24. Murphy (2006), p. 71.
  25. Glanville, Brian (27 April 2005). "The great Chelsea surrender". The Times. London: Times Newspapers. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  26. Barnes et al. (2001), pp. 14–15.
  27. "1958: United players killed in air disaster". BBC News. British Broadcasting Corporation. 6 February 1958. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  28. Barnes et al. (2001), pp. 16–17.
  29. White, Jim (2008), p. 136.
  30. Barnes et al. (2001), p. 17.
  31. 31.0 31.1 Barnes et al. (2001), pp. 18–19.
  32. Moore, Rob; Stokkermans, Karel (11 December 2009). "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  33. 33.0 33.1 Barnes et al. (2001), p. 19.
  34. Barnes et al. (2001), p. 110.
  35. Murphy (2006), p. 134.
  36. "1977: Manchester United sack manager". BBC News. British Broadcasting Corporation. 4 July 1977. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  37. Barnes et al. (2001), p. 20.
  38. 38.0 38.1 38.2 Barnes et al. (2001), pp. 20–21.
  39. Barnes et al. (2001), p. 21.
  40. Barnes et al. (2001), p. 148.
  41. Barnes et al. (2001), pp. 148–149.
  42. "Arise Sir Alex?". BBC News. British Broadcasting Corporation. 27 May 1999. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  43. Bevan, Chris (4 November 2006). "How Robins saved Ferguson's job". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010.
  44. 161385360554578 (4 May 2017). "Clubs ranked by the number of times they have claimed trophy doubles".{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  45. "Golden years: The tale of Manchester United's 20 titles". 22 April 2013 – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  46. "Ryan Giggs wins 2009 BBC Sports Personality award". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 13 December 2009. สืบค้นเมื่อ 11 June 2010.
  47. "United crowned kings of Europe". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 26 May 1999. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010.
  48. Hoult, Nick (28 August 2007). "Ole Gunnar Solskjaer leaves golden memories". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  49. Magnani, Loris; Stokkermans, Karel (30 April 2005). "Intercontinental Club Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  50. Hughes, Rob (8 March 2004). "Ferguson and Magnier: a truce in the internal warfare at United". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  51. "Viduka hands title to Man Utd". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). 4 May 2003. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
  52. "Man Utd win FA Cup". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 22 May 2004. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010.
  53. "Manchester United's Champions League exits, 1993–2011". The Guardian. Guardian News and Media. 8 December 2011. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
  54. Shuttleworth, Peter (21 May 2008). "Spot-on Giggs overtakes Charlton". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 9 July 2010.
  55. McNulty, Phil (1 March 2009). "Man Utd 0–0 Tottenham (aet)". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 1 March 2009.
  56. McNulty, Phil (16 May 2009). "Man Utd 0–0 Arsenal". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 16 May 2009.
  57. Ogden, Mark (12 June 2009). "Cristiano Ronaldo transfer: World-record deal shows football is booming, says Sepp Blatter". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 9 January 2011.
  58. "Rooney the hero as United overcome Villa". ESPNsoccernet. 28 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2 April 2010. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  59. Stone, Simon (14 May 2011). "Manchester United clinch record 19th English title". The Independent. London: Independent Print. สืบค้นเมื่อ 14 May 2011.
  60. "How Manchester United won the 2012–13 Barclays Premier League". premierleague.com. Premier League. 22 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2013. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  61. "Sir Alex Ferguson to retire as Manchester United manager". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  62. "Sir Alex Ferguson to retire this summer, Manchester United confirm". Sky Sports. BSkyB. 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  63. "David Moyes: Manchester United appoint Everton boss". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 9 May 2013.
  64. "Manchester United confirm appointment of David Moyes on a six-year contract". Sky Sports. BSkyB. 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 9 May 2013.
  65. Jackson, Jamie (9 May 2013). "David Moyes quits as Everton manager to take over at Manchester United". guardian.co.uk. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 9 May 2013.
  66. "David Moyes sacked by Manchester United after just 10 months in charge". The Guardian. Guardian News and Media. 22 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  67. Hassan, Nabil (11 May 2014). "Southampton 1–1 Man Utd". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  68. "Manchester United: Louis van Gaal confirmed as new manager". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  69. Jackson, Jamie (28 May 2014). "Manchester United owner Malcolm Glazer dies aged 86". The Guardian. Guardian News and Media. สืบค้นเมื่อ 28 May 2014.
  70. Wilkinson, Jack (9 December 2015). "Wolfsburg 3–2 Man Utd: Champions League exit for van Gaal's men". Sky Sports (BSkyB). สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  71. Smith, Alan (21 May 2016). "Crystal Palace 1–2 Manchester United (aet): FA Cup final – as it happened!". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 May 2016.
  72. Stone, Simon; Roan, Dan (23 May 2016). "Manchester United: Louis van Gaal sacked as manager". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  73. "Jose Mourinho: Man Utd confirm former Chelsea boss as new manager". BBC Sport. 27 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016.
  74. http://www.thefa.com/news/2016/aug/07/leicester-city-manchester-united-report-070816
  75. "Jose Mourinho: Manchester United sack manager". BBC Sport. 18 December 2018. สืบค้นเมื่อ 18 December 2018.
  76. "Ole Gunnar Solskjaer: Man Utd caretaker boss will 'get players enjoying football' again". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 20 December 2018. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
  77. "Ole Gunnar Solskjaer appointed Manchester United permanent manager". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 28 March 2019.
  78. Angus, J. Keith (1879). The Sportsman's Year-Book for 1880. Cassell, Petter, Galpin & Co. p. 182.
  79. 79.0 79.1 79.2 79.3 79.4 79.5 Barnes et al. (2001), p. 48.
  80. "Adidas launches new United home kit for 2018/19". ManUtd.com. Manchester United. 17 July 2018. สืบค้นเมื่อ 17 July 2018.
  81. Ogden, Mark (26 August 2011). "Sir Alex Ferguson's ability to play the generation game is vital to Manchester United's phenomenal success". The Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
  82. "Revealed: New Man Utd home kit for 2019/20". ManUtd.com. Manchester United. 16 May 2019. สืบค้นเมื่อ 17 May 2019.
  83. Devlin (2005), p. 157.
  84. "Reds unveil new away kit". ManUtd.com. Manchester United. 15 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 July 2011.
  85. Sharpe, Lee (15 April 2006). "13.04.96 Manchester United's grey day at The Dell". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 January 2012.
  86. Devlin (2005), p. 158.
  87. "United reveal blue third kit for 2014/15 season". ManUtd.com. Manchester United. 29 July 2014. สืบค้นเมื่อ 30 July 2014.
  88. Devlin (2005), pp. 154–159.
  89. "New blue kit for 08/09". ManUtd.com. Manchester United. 28 August 2008. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010.
  90. White, Jim (2008) p. 21.
  91. James (2008), p. 392.
  92. Shury & Landamore (2005), p. 54.
  93. Shury & Landamore (2005), p. 51.
  94. Rice, Simon (6 November 2009). "Manchester United top of the 25 best supported clubs in Europe". The Independent. London: Independent Print. สืบค้นเมื่อ 6 November 2009.
  95. "Local Supporters Clubs". ManUtd.com. Manchester United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  96. Cass, Bob (15 December 2007). "United moving down south as fanbase reaches 333 million". Daily Mail. London: Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 20 June 2010.
  97. "Top 100 Facebook fan pages". FanPageList.com. Retrieved 23 November 2015
  98. "Manchester United fans the Premier League's loudest, says study". ESPN FC. ESPN Internet Ventures. 24 November 2014. สืบค้นเมื่อ 20 February 2015.
  99. "Fans' Forum". ManUtd.com. Manchester United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2011. สืบค้นเมื่อ 3 December 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  100. 100.0 100.1 Barnes et al. (2001), p. 52.
  101. Smith, Martin (15 April 2008). "Bitter rivals do battle". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  102. Stone, Simon (16 September 2005). "Giggs: Liverpool our biggest test". Manchester Evening News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2010. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  103. Rohrer, Finlo (21 August 2007). "Scouse v Manc". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
  104. "Liverpool v Manchester United: The bitter rivalry". BBC Sport. 21 September 2012.
  105. "Which club has won the most trophies in Europe". 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
  106. "The 20 biggest rivalries in world football ranked – Liverpool vs Manchester Utd". The Telegraph. 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  107. Aldred, Tanya (22 January 2004). "Rivals uncovered". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  108. "Interview: Ryan Giggs". Football Focus. British Broadcasting Corporation. 22 March 2008. สืบค้นเมื่อ 22 March 2008.
  109. "Liverpool remain Manchester United's 'biggest rival' says Ryan Giggs". The Independent. 6 December 2012. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  110. "The 7 Greatest Rivalries in Club Football: From Boca to the Bernabeu". The Bleacher Report. 26 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
  111. Dunning (1999), p. 151.
  112. "Arsenal v Manchester United head-to-head record". Arsenal official web. สืบค้นเมื่อ 24 April 2013.
  113. Hayward, Paul (31 January 2010). "Rivalry between Arsène Wenger and Sir Alex Ferguson unmatched in sport". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 April 2013.
  114. "Top 30 Football Club Brands" (PDF). Brand Finance. September 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  115. Badenhausen, Kurt (16 July 2012). "Manchester United Tops The World's 50 Most Valuable Sports Teams". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  116. "Real Madrid becomes the first sports team in the world to generate €400m in revenues as it tops Deloitte Football Money League". Deloitte. 2 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 June 2010. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  117. Ozanian, Mike (27 January 2013). "Manchester United Becomes First Team Valued At $3 Billion". Forbes. สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
  118. Ozanian, Mike (6 June 2017). "The World's Most Valuable Soccer Teams 2017". Forbes. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
  119. 119.0 119.1 Hamil (2008), p. 116.
  120. Hamil (2008), p. 124.
  121. Hamil (2008), p. 121.
  122. "Beckham fever grips Japan". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 18 June 2003. สืบค้นเมื่อ 20 June 2010.
  123. Hamil (2008), p. 120.
  124. Hamil (2008), p. 122.
  125. "Man Utd First Team Squad & Player Profiles". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.
  126. Tuck, James (10 August 2018). "United reveal squad numbers for 2018/19". ManUtd.com. Manchester United. สืบค้นเมื่อ 10 August 2018.
  127. 127.0 127.1 "Ole Gunnar Solskjaer appointed caretaker manager". ManUtd.com. Manchester United. 19 December 2018. สืบค้นเมื่อ 19 December 2018.
  128. Wilkinson, Jack (25 May 2018). "Jose Mourinho's coaching reshuffle at Man Utd: Kieran McKenna, Stefano Rapetti, Michael Carrick". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 19 July 2018.
  129. "Paul Brand". Abertay University. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
  130. "Manchester United get Women's Championship licence; West Ham join top flight". BBC Sport. 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  131. "Manchester United granted place in Women's Championship by FA". The Independent. 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  132. "Manchester United Women to play in FA Women's Championship next season". ESPN. 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  133. "Manchester United granted FA Women's Championship place with West Ham in Super League". Sky Sports. 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.
  134. "West Ham the big winners, Sunderland key losers in women's football revamp". The Guardian. 28 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น