สโมสรฟุตบอลบ้านบึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บ้านบึง
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลบ้านบึง
ฉายาราชสีห์บ้านบึง
ก่อตั้ง2016; 8 ปีที่แล้ว (2016)
(ในชื่อ บ้านบึง ยูไนเต็ด)
2018; 6 ปีที่แล้ว (2018)
(ในชื่อ บ้านบึงภูเก็ต ซิตี้)
2019; 5 ปีที่แล้ว (2019)
(ในชื่อ ภูเก็ต ซิตี้)
2020; 4 ปีที่แล้ว (2020)
(ในชื่อ บ้านบึง)
สนามช้าง ฟุตบอล ปาร์ค
Ground ความจุ11,000 ที่นั่ง
ประธานอนณ สิงห์โตทอง
ผู้จัดการลลิตา สิงห์โตทอง
ผู้ฝึกสอนภูริภัทร์ นิยมจิตร์
ลีกไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
2565–66ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออก, อันดับที่ 12 (ตกชั้น) ลดลง

สโมสรฟุตบอลบ้านบึง หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลภูเก็ต ซิตี้ เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดชลบุรี ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคตะวันออก

แต่เดิมนั้น ทางสโมสรเคยย้ายไปแข่งขันที่จังหวัดภูเก็ต แต่ในไทยลีก 3 ฤดูกาล 2563 สโมสรได้ตัดสินใจย้ายกลับมาแข่งขันที่จังหวัดชลบุรีตามเดิม โดยใช้ สนามกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี เป็นสนามเหย้าในฤดูกาล 2563[1]

ประวัติ[แก้]

จากกรณี นายปิติพล นุกูลพานิชย์วิพัฒน์ กรรมการบริษัท รอยัล รายา สปอร์ต จำกัด และประธานสโมสรภูเก็ตเอฟซี ตั้งโต๊ะแถลงข่าวเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา โดยตัดสินใจขอยุบทีมหลังฟีฟ่าสั่งให้จ่ายเงินให้กับอดีต 3 นักเตะต่างชาติเป็นจำนวนเงินถึง 83 ล้านบาทกรณีถูกยื่นฟ้องตั้งแต่เมื่อปี 2012-2015 เนื่องจากถูกผู้บริหารชุดเก่ายกเลิกสัญญาแบบไม่เป็นธรรม จากนั้นมีกลุ่มทุนจากทีมทีทีเอ็ม หรือยาสูบเอฟซีเดิม นำโดยนายกณิศนันท์ ศรีเสมอ อดีตที่ปรึกษาทีมเทคนิคและเลขานุการทีมยาสูบเอฟซีที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองประธานและผจก.ทั่วไปของทีมภูเก็ต ซิตี้ รวมทั้งนายสุจริต กัลยาณมิตร อดีตประธานสโมสรยาสูบเอฟซี เข้ามาร่วมบริหารทีมใหม่คือ ภูเก็ตซิตี้ โดยจะเทกโอเวอร์ทีมบ้านบึงเอฟซีมาทำเพื่อส่งแข่งขันในระดับไทยลีก 3 โซนล่าง

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย กรณ์ดนัย ขจิตกาญจนา
2 DF ไทย อาทิต แสนกล้า
3 DF ไทย อัษราภัค อดิษภาส
4 DF ไทย จิรพงศ์ แช่มสกุล
5 DF ไทย นพดล นุ้ยเลิศ
6 MF ไทย รัฐธรรมนูญ ดียิ่ง
7 FW ไทย ปริญญา ขาวชูเกียรติ
8 DF ไทย นิครนัส วงษ์อนุสาสน์
9 FW ไทย ต้นตะวัน ปุนทมุณี
10 FW ไทย ปกป้อง นิลเนาวรัตน์
11 FW ไทย เริงชัย เกษฎา (กัปตันทีม)
12 FW ไทย คัศซะยะ รุ่งบรรณพันธุ์
13 MF ไทย ศาสตรพร สุโสะ
14 DF ไทย ธนกฤต ล้อมนาค
15 DF ไทย สุทธิวัฒน์ ชำนาญ
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF ไทย กฤตเมธ อินทจันทร์
17 MF ไทย พัทธดนย์ พอใจ
18 GK ไทย ฐิติกิตต์ เสมอใจ
19 FW ไทย สิรวิชญ์ เบ็ญจมาศ
20 DF ไทย อภิวิชญ์ ละออไขย์
21 FW ไทย พรพิเชษฐ์ จิตรไทย
22 GK ไทย นฤกฤศ แสงสว่าง
23 MF ไทย วิวัฒน์ สุขสบาย
24 DF ไทย อัครเดช มูนี
25 MF ไทย พัชรพล เหล็กกุล
26 MF ไทย กันต์กวี หมั่นเพียร
27 MF ไทย คณพศ สิงใส
28 DF ไทย ชนกานต์ ชั่งปรีชานนท์
29 DF ไทย ปรเมศวร์ อิทธิประเสริฐ
30 DF ไทย อิสระ สุขแต่ง

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน[แก้]

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2564–65 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
22 3 7 12 22 38 16 อันดับที่ 10 รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกรอบแรก ไทย วิวัฒน์ สุขสบาย
ไทย เริงชัย เกษฎา
โกตดิวัวร์ ดียารา อาบูบาการ์
ไทย พรสวรรค์ แสนกล้า
ไทย ธีรภัทร แก้วผึ่ง
โกตดิวัวร์ อูมาร์ ซานู
2
2565–66 ไทยลีก 3
โซนภาคตะวันออก
22 5 5 12 19 27 20 อันดับที่ 12 รอบ 64 ทีมสุดท้าย รอบคัดเลือกรอบสอง โกตดิวัวร์ โกนาน กัวซี มาร์ซียาล ฟาบริส
ไทย ธีรภัทร แก้วผึ่ง
6
2567 ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
โซนภาคตะวันออก
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ตกชั้น เลื่อนชั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "บ้านบึงลาภูเก็ต ย้ายกลับฐานตะวันออก รอส.บอลอนุมัติ". supersubthailand.com. 29 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]