สโมสรฟุตบอลบางกอก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลบางกอก เอฟซี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | กระทิงเพลิง | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2542 | |||
สนาม | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด | |||
เจ้าของ | บจก.บางกอก เอฟซี แมเนจเมนต์ | |||
ประธาน | พรทัต อมตวิวัฒน์ | |||
ผู้จัดการ | อิศเรศ พึ่งเสือ | |||
ผู้ฝึกสอน | กฤษกร กระสายเงิน | |||
ลีก | ไทยลีก 2 | |||
2566–67 | ไทยลีก 3 ชนะเลิศ (ระดับประเทศ) (เลื่อนชั้น) | |||
|
สโมสรฟุตบอลบางกอก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ปัจจุบันเล่นอยู่ในไทยลีก 2
ประวัติสโมสร
[แก้]ยุคโปรลีก
[แก้]สมาคมกีฬากรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ได้ลงทำการแข่งขันในโปรวินเชียลลีก ตามแผนพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพซึ่งก่อตั้งโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเชิญสมาคมกีฬาจังหวัดต่างๆที่ได้รับการคัดสรร มาเข้าร่วมแข่งขันในระบบลีกและทาง สมาคมกีฬากรุงเทพมหานคร ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมี ทวีศักดิ์ เดชเดโช เป็นผู้จัดการทีมคนแรก[1] โดยในปีแรกของการแข่งขัน (ฤดูกาล 2542/43) สมาคมฯ จบอันดับที่ 7 มี 24 คะแนน
ต่อมาในฤดูกาล 2546 ทางฝ่ายจัดการแข่งขันฯ ได้กำหนดชื่อของทีมจังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อให้ดูเป็นสากลมากขึ้น โดยทีมได้เปลื่ยนชื่อเป็น บางกอก บราโว่ โดยในปีนั้น ทีมทำผลงานได้ไม่ดีนักโดยจบอันดับที่ 9 จาก 12 ทีม มี 26 คะแนน โดยผู้ทำประตูสูงสุดของทีม ในเวลานั้นคือ กริชธิชัย สารกุล โดยทำไป 9 ประตู ก่อนที่ใน ฤดูกาล 2547 เจ้าตัวทำผลงานได้ดี โดยเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของลีกโดยทำประตูไป 11 ประตูร่วมกับ ภานุวัฒน์ ดวงทอง เพื่อนร่วมทีมและโคเน่ คาสซิม ของ สโมสรนครปฐม ฮันเตอร์
เข้าสู่ระบบลีก
[แก้]ใน พ.ศ. 2550 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการรวมลีกทั้งโปรวินเชียลลีก และไทยแลนด์ลีก เข้าด้วยกัน ซึ่งทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งดิวิชั่น1 ในสายเอ แต่ผลงานของทีมกลับเลวร้าย โดยจบอันดับที่ 11 จาก 12 ทีม (ในปีนั้น สายหนึ่งตกชั้น 5 ทีม) ทำให้ต้องตกชั้นลงไปแข่งขันใน ดิวิชั่น2
พ.ศ. 2551 ในการแข่งดิวิชั่น 2 โดยอยู่ในสายบี แต่ผลงานของทีมกลับไม่ดีนัก โดยทำผลงานจบอันดับที่ 11 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย จากทั้งหมด 11 ทีม โดยที่ทีมตกชั้นไปเล่นในโปรลีก
พ.ศ. 2552 สโมสรได้ลงแข่งขันในลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 ซึ่งเป็นการแข่งขันฤดูกาลแรกของฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในส่วนของสโมสรที่อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประจำปี 2552 หลังจากมีการปรับการแข่งขันจากฤดูกาล ฤดูกาล 2551 ที่ไม่ได้แบ่งออกเป็นลีกย่อยในแต่ละภูมิภาค
ปี พ.ศ. 2553 สโมสรได้ปรับเปลื่ยนโครงสร้างการบริหารให้เป็นมืออาชีพมากขึ้นและเปลื่ยนสัญลักษณ์ของสโมสรทั้งหมด โดยเปลื่ยนชื่อเป็น บางกอก เอฟซี โดยใช้สัญลักษณ์วัวกระทิง มีเสาชิงช้าเป็นพื้นหลังเป็นสัญลักษณ์สโมสร รวมไปถึงการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารโดย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรและแต่งตั้ง ทองสุข สัมปหังสิต เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนและประธานเทคนิคควบคู่กัน[2] และ กลับมาใช้ สนามเฉลิมพระเกียรติ บางมด เป็นสนามเหย้า ได้ทำการปรับปรุงใหม่รองรับแฟนบอลได้ถึง 8,000 ที่นั่ง โดยฤดูกาลนี้สโมสรยังคงลงเล่นใน ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2553 สโมสรทำผลงานได้ดีจบฤดูกาล สามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศของโซนกรุงเทพฯและปริมณฑล เข้าสู่ แชมเปี้ยนส์ ลีกโดย จบอันดับที่ 4 ของกลุ่มบี แต่ยังได้สิทธิ์เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น หลังจากที่ บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด ได้ประกาศที่จะเพิ่มจำนวนสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน ดิวิชั่น 1 เป็น 18 ทีม โดยสโมสรสมารถเอาชนะ สโมสรนราธิวาส เอฟซี ด้วยประตูรวม 2-11 (นัดแรก ชนะ 1-7 นัดที่ 2 ชนะ 1-4) ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้น แข่งขันในดิวิชั่น 1
ดิวิชั่น 1
[แก้]ผลงานของสโมสรในปีแรก ๆ จบอยู่ที่กลางตาราง โดยในฤดูกาลแรกที่เลื่อนชั้นขึ้น (ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2554) สโมสรจบอันดับที่ 11 และ ไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2555 จบอับดันที่ 10
ในฤดูกาล 2556 และฤดูกาล 2557 สโมสรมีลุ้นเลื่อนชั้นขึ้นไทยพรีเมียร์ลีก โดยผลงานของสโมสร จบในอันดับที่ 4 สองฤดูกาลติด
ต่อมาสโมสรเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน โดยผลงานของทีมเริ่มตกต่ำ โดยใน ฤดูกาล 2558 จบอันดับ 13 และฤดูกาล 2559 สโมสรต้องหนีตกชั้นอย่างหนัก แต่สามารถรอดตกชั้นมาได้ สโมสรได้มีการเปลื่ยนแปลงฝ่ายบริหาร ผู้เล่น และทีมงานผู้ฝึกสอน โดยทางสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำการเทคโอเวอร์สโมสรหลังจากที่กลุ่มผู้บริหารเก่าไม่ทำบริหารทีมต่อไป[3] และแต่งตั้งให้ยุทธนา ทวีสรรพสุข อดีตผู้จัดการ พัทยา ยูไนเต็ด มาดูแลสโมสรโดยผู้เล่นส่วนใหญ่คือ อดีตนักฟุตบอลเยาวชนของเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด และ อดีตผู้เล่นบางส่วนของบีอีซี เทโรศาสน และพัทยา ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2560 สโมสรก็ทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังโดยจบฤดูกาลอันดับที่ 17 ตกชั้นสู่ไทยลีก 3
ไทยลีก 3
[แก้]ในฤดูกาล 2561 บางกอกเอฟซีภายใต้การดูแลของเมืองทองยูไนเต็ด ได้ย้ายสนามเหย้าจากสนามบางมดไปยังสนามมาร์วิน(สนามซ้อมเมืองทอง) โดยในปีนั้นทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 ของการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 3 โซนบน ซึ่งทีมชุดนั้นประกอบไปด้วยดาวรุ่งจากอคาเดมี่เมืองทองยูไนเต็ดทั้งทีม อาทิเช่น ปรเมศย์อาจวิไล กรวิชญ์ ทะสา วัฒนากรณ์ สวัสดิ์ละครเป็นต้น
ฤดูกาล 2562 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร โดยได้คุณพอล พรทัต อมตวิวัฒน์ เข้ามาถือสิทธิ์ทำทีมแทนเมืองทองยูไนเต็ด แต่ยังใช้สนามของเมืองทองเป็นสนามเหย้าอยู่ในฤดูกาลนั้น โดยมีการปรับเปลี่ยนทีมใหม่ทั้งหมดตั้งแต่โลโก้ ทีมงานและนักเตะ
ฤดูกาล 2563-64 เกิดปัญหาโควิดขึ้น จึงมีการรวมไทยลีก 3 และไทยลีก 4 เข้าด้วยกัน โดยบางกอกเอฟซีได้เล่นในไทยลีก 3 โซนกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยได้ย้ายสนามเหย้าไปใช้สนามม.กรุงเทพ
ฤดูกาล 2564-65 บางกอกเอฟซีได้กลับมาใช้สนามเหย้าที่สนามบางมดอีกครั้ง โดยช่วงแรกยังคงต้องแข่งแบบปิดโดยไม่มีผู้ชมเพราะปัญหาโควิด 19
ฤดูกาล 2565-66 เป็นฤดูกาลที่บางกอกเอฟซีทำผลงานได้ดีโดยจบในอันดับที่ 2 ของโซนกรุงเทพฯปริมณฑลโดยแพ้อันดับ 1 นอร์ทกรุงเทพที่คะแนนมินิลีกเท่านั้น
ฤดูกาล 2566-67 ในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2566–67 รอบ 16 ทีมสุดท้าย สโมสรสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเอาชนะทีมแชมป์เก่าอย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดไปได้ 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี และนับเป็นครั้งแรกที่สโมสรจากลีกระดับต่ำกว่าไทยลีกสามารถเอาชนะบุรีรัมย์ในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศได้ ส่วนผลงานในลีกบางกอกเอฟซีก็ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยสามารถคว้าแชมป์โซนกรุงเทพฯปริมณฑลได้สำเร็จ โดยแพ้ไปเพียงแค่นัดเดียวและทำสถิติชนะติดต่อกันสูงสุดอีกด้วยและในรอบแชมเปี้ยนลีกบางกอกเอฟซีสามารถทำผลงานจบในอันดับที่ 1 ของกลุ่มตอนล่างโดยได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาลต่อไปและไปชิงแชมป์ประเทศกับอันดับ 1 ของกลุ่นตอนบน โดยนัดแรกบุกไปเสมอศรีสะเกษ 1-1 ในนัดที่สองเปิดบ้านเอาชนะ 2-1 คว้าแชมป์ไปครอง
-
ฤดูกาล 2542
-
ฤดูกาล 2546
-
ฤดูกาล 2548
-
ฤดูกาล 2555
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | ||||
2542/43 | โปรลีก | 22 | 6 | 6 | 10 | 32 | 37 | 24 | อันดับ 7 | |||||
2543/44 | โปรลีก | 22 | 5 | 6 | 11 | 26 | 42 | 21 | อันดับ 9 | มนัส สุคันธจันทร์ | 8 | |||
2545 | โปรลีก สาย บี | 10 | 0 | 1 | 9 | 8 | 24 | 1 | อันดับ 11 | |||||
2546 | โปรลีก | 22 | 5 | 11 | 6 | 28 | 29 | 26 | อันดับ 9 | กริชธิชัย สารกุล | 9 | |||
2547 | โปรลีก | 18 | 8 | 4 | 6 | 36 | 32 | 28 | อันดับ 5 | กริชธิชัย สารกุล ภานุวัฒน์ ดวงทอง |
11 | |||
2548 | โปรลีก | 22 | 5 | 8 | 9 | 25 | 27 | 23 | อันดับ 8 | |||||
2549 | โปรลีก | 30 | 9 | 12 | 9 | 31 | 34 | 39 | อันดับ 9 | |||||
2550 | ดิวิชั่น 1 สาย เอ | 22 | 5 | 8 | 9 | 27 | 35 | 23 | อันดับ 11 | |||||
2551 | ดิวิชั่น 2 สาย บี | 20 | 2 | 3 | 15 | 16 | 47 | 9 | อันดับ 11 | |||||
2552 | ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ | 18 | 5 | 7 | 6 | 18 | 25 | 22 | อันดับ 6 | |||||
2553 | ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ | 24 | 14 | 6 | 4 | 49 | 18 | 48 | ชนะเลิศ | |||||
2554 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 13 | 3 | 18 | 56 | 63 | 42 | อันดับ 11 | ซามูเอล คูวาคู | 14 | |||
2555 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 11 | 9 | 14 | 62 | 55 | 42 | อันดับ 10 | ลี ทรัค | 23 | |||
2556 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 18 | 8 | 8 | 69 | 54 | 62 | อันดับ 4 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | ลี ทรัค | 23 | ||
2557 | ดิวิชั่น 1 | 34 | 14 | 15 | 5 | 53 | 37 | 57 | อันดับ 4 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | วาเรซี่ จูเนียร์ | 16 | ||
2558 | ดิวิชั่น 1 | 38 | 14 | 7 | 17 | 44 | 49 | 49 | อันดับ 13 | รอบสอง | รอบแรก | ราโดเมียร์ ราโดวิช | 15 | |
2559 | ดิวิชั่น 1 | 26 | 4 | 11 | 11 | 26 | 41 | 23 | อันดับ 14 | รอบแรก | รอบแรก | ดักกลาส โรดริเกวซ | 9 | |
2560 | ไทยลีก 2 | 32 | 8 | 5 | 19 | 47 | 64 | 29 | อันดับ 17 | รอบแรก | คัดเลือก | ฌูเวา เปาลู ซาเลส | 23 | |
2561 | ไทยลีก 3 โซนบน | 26 | 10 | 7 | 9 | 35 | 36 | 37 | อันดับ 5 | รอบแรก | รอบคัดเลือกรอบสอง | ปรเมศย์ อาจวิไล | 7 | |
2562 | ไทยลีก 3 โซนบน | 24 | 11 | 4 | 9 | 47 | 35 | 37 | อันดับ 5 | รอบคัดเลือก | รอบคัดเลือกรอบสอง | Ibrahim Dicko | 15 | |
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | 20 | 13 | 5 | 2 | 40 | 18 | 44 | อันดับ 3 | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบแรก | บรรลือ ทองเกลี้ยง | 7 | |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | 26 | 15 | 8 | 3 | 55 | 19 | 53 | อันดับ 2 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบสอง | ไคกี รีเบย์รู | 18 | |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนล่าง |
5 | 1 | 0 | 4 | 3 | 14 | 3 | อันดับ 6 | ||||||
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | 26 | 15 | 8 | 3 | 48 | 29 | 53 | อันดับ 2 | รอบแรก | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | บรรลือ ทองเกลี้ยง | 11 | |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนล่าง |
5 | 1 | 1 | 3 | 2 | 7 | 4 | อันดับ 5 | ||||||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล | 26 | 18 | 7 | 1 | 59 | 19 | 61 | อันดับ 1 | รอบก่อนรองชนะเลิศ | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบสอง | วิชญะ พรประสาท ดูดู ลีมา |
14 |
ไทยลีก 3 รอบแชมเปี้ยนส์ลีก โซนตอนล่าง |
5 | 3 | 2 | 0 | 9 | 4 | 11 | อันดับ 1 | ||||||
2567–68 | ไทยลีก 2 | ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขัน | 14 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | อันดับสาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ที่ตั้งและสนามแข่ง
[แก้]พิกัด | ที่ตั้ง | สนาม | ความจุ | ปีที่ใช้ |
---|---|---|---|---|
13°46′00″N 100°33′10″E / 13.766570°N 100.552823°E | ดินแดง กรุงเทพมหานคร | สนามกีฬาไทย - ญี่ปุ่น ดินแดง | 10,000 | 2542–2550 |
13°48′07″N 100°47′27″E / 13.801944°N 100.790833°E | มีนบุรี กรุงเทพมหานคร | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี | 10,000 | 2551–2552 |
13°38′48″N 100°29′34″E / 13.646667°N 100.492778°E | ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด | 8,126 | 2553–2567 |
ทุ่งครุกรุงเทพมหานคร | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มีนบุรี | 10,000 | 2567 | |
มีนบุรีกรุงเทพมหานคร | สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางมด | 8,126 | 2567 – |
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทีมสตาฟประจำสโมสร
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | กฤษฎี ตั้งจิตถนอมสิน |
ผู้จัดการทีม | อิศเรศ พึ่งเสือ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | กฤษกร กระสายเงิน |
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | มามาดู โฟฟาน่า |
ผู้ฝึกสอน
[แก้]ทำเนียบหัวหน้าผู้ฝึกสอน ตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน
ชื่อ | สัญชาติ | ช่วงเวลา | เกียรติยศ |
---|---|---|---|
เอนก เดชมิตร | ไทย | 2546 | |
สุรศักดิ์ ใจมั่น | ไทย | 2552 | |
ทองสุข สัมปหังสิต | 2553–2555 | ดิวิชัน 2 โซนกรุงเทพและปริมณฑล
| |
เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง | 2555 – 2556 | ||
รอยเตอร์ โมไรร่า | 2556 – พ.ย. 2556 | ||
ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก | ธ.ค. 2556 – ส.ค. 2557 | ||
มีลอช ยอกซิช | ส.ค. 2557 – พ.ย. 2558 | ||
เอกวีร์ สิริโภคาศัย | พ.ย. 2558 – มิ.ย. 2559 | ||
สุธี สุขสมกิจ | มิ.ย. 2559 – พ.ย. 2559 | ||
ศุภชาติ มานะกิจ | ก.พ. 2560 – มี.ค. 2560 | ||
สระราวุฒิ ตรีพันธ์ | มี.ค. 2560 – ก.พ. 2561 | ||
จักรราช โทนหงษา | 2561 | ||
ฌอน เซนส์บิวรี่ | 2562 | ||
Zarko Djalovic | พ.ย. 2562 – ส.ค. 2563 | ||
Sebastian Neumann | ก.ย. 2563 – ก.ค. 2565 | ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2564–65
| |
กฤษกร กระสายเงิน | ก.ค. 2565 – | ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2566–67
|
เกียรติประวัติ
[แก้]- ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2
- ชนะเลิศ โซนกรุงเทพและปริมณฑล : 2553
สโมสรพันธมิตร
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://web.archive.org/web/20060219060720/http://www.bkkfc.com/first_team.php Bravo First Team - Bangkok Bravo FC
- ↑ http://www.siamsport.co.th/Column/100522_106.html ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ & ทองสุข สัมปหังสิต ชายผู้พลิกบางกอก เอฟซีจากดินสู่ดาว - สยามกีฬา
- ↑ http://toptowin.net/“เมืองทองฯ”-เตรียมเทคโอเวอร์-พร้อมเสริมทัพแกร่ง-“บางกอก-เอฟซี”/เก็บถาวร 2021-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “เมืองทองฯ” เตรียมเทคโอเวอร์ พร้อมเสริมทัพแกร่ง “บางกอก เอฟซี” - TopToWin
- ↑ บางกอก เอฟซี เซ็นพันธมิตร เวกัลตะ เซนได 3 ปี พัฒนาโค้ช-นักเตะ-เยาวชน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สโมสรฟุตบอลบางกอก เอฟซี เก็บถาวร 2013-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สโมสรฟุตบอลบางกอก ที่เฟซบุ๊ก