สโมสรฟุตบอลคิมช็อนซังมู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิมช็อนซังมู
김천 상무
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลคิมช็อนซังมู
김천 상무 프로축구단
金泉 尚武 프로蹴球團
ก่อตั้ง2021; 3 ปีที่แล้ว (2021) (ในชื่อ คิมช็อนซังมู)
สนามสนามกีฬาคิมช็อน
Ground ความจุ25,000
เจ้าของสภาเทศบาลเมืองคิมช็อนและกองพลนักกีฬาทหารเกาหลี
ประธานนายกเทศมนตรีเมืองคิมช็อน
ผู้จัดการคิม แท-วัน
ลีกเคลีก 2
2020เคลีก 1 อันดับ 4
(ตกชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลคิมช็อนซังมู (ฮันกึล: 김천 상무 프로축구단; ฮันจา: 金泉 尚武 프로蹴球團) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่แข่งขันในเคลีก 2 สโมสรตั้งอยู่ที่เมืองคิมช็อน เกาหลีใต้ คำว่าซังมู (상무, 尙武) หมายถึงการต่อสู้ และสโมสรนี้เป็นกองกีฬาของกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี

ผู้เล่นของซังมูประกอบด้วยนักฟุตบอลอาชีพของเกาหลีใต้ที่ต้องเข้ารับราชการทหารภาคบังคับเป็นเวลาสองปี ผู้เล่นสิบห้าคนจะเข้าร่วมทีมในช่วงเริ่มต้นของทุกฤดูกาล และใช้เวลาสองปีอยู่กับทีมก่อนที่จะกลับไปยังสโมสรอาชีพเดิมของพวกเขา โดยซังมูไม่ได้รับอนุญาตให้เซ็นสัญญากับผู้เล่นต่างชาติเนื่องจากสถานะทางทหารของสโมสร

บทความนี้ยังรวมถึงทีมทหารรุ่นก่อน ได้แก่ สโมสรฟุตบอลซังมู, สโมสรฟุตบอลควังจูซังมู และสโมสรฟุตบอลซังจูซังมู ซึ่งยังคงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก

ประวัติ[แก้]

ยุคสโมสรทหารต่าง ๆ (คริสต์ทศวรรษ 1950–1983)[แก้]

ก่อนที่กองพลนักกีฬาทหารเกาหลีและสโมสรฟุตบอลซังมูก่อตั้งขึ้นในปี 1984 กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีมีสโมสรฟุตบอลซึ่งแยกตามสามเหล่า (สโมสรฟุตบอลกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี, สโมสรฟุตบอลเหล่านาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี, สโมสรฟุตบอลกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี) เดิมทีสโมสรฟุตบอลกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี สร้างสโมสรของแต่ละกองพลด้วย เช่น สโมสรฟุตบอลเคเอซีไอซี[1] (หรือในชื่อ สโมสรฟุตบอลซีไอซี;[2] หมายถึง: กองกำลังต่อต้านหน่วยสืบราชการลับกองทัพบกเกาหลี), สโมสรฟุตบอลเอชไอดี (สำนักงานใหญ่หน่วยสืบราชการลับ), สโมสรฟุตบอลกองทหารฝ่ายพลาธิการ (ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายพลาธิการ), สโมสรฟุตบอลสารวัตรทหาร, สโมสรฟุตบอลกองพลทหารช่าง, สโมสรฟุตบอลโรงเรียนทหารราบ และอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่รวมสโมสรฟุตบอลกองทหารฝ่ายพลาธิการ ซึ่งรวมเข้ากับสโมสรฟุตบอลกองพลทหารช่างในปี 1965 ในที่สุดทั้งสองสโมสรก็รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน และสโมสรฟุตบอลทหารบกก่อตั้งในปี 1969 จากนั้นสโมสรฟุตบอลเหล่านาวิกโยธินกลายมาเป็น สโมสรฟุตบอลกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี เนื่องจากการยุบกองบัญชาการนาวิกโยธินใน 1973.

ยุคก่อตั้งสโมสรฟุตบอลซังมู (1984–2002)[แก้]

สโมสรฟุตบอลซังมูก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 1984 ในนามทีมฟุตบอลของกองพลนักกีฬาทหารเกาหลี[3][4] แม้ว่าทีมซังมูจะประกอบด้วยผู้เล่นอาชีพจากสโมสรในเคลีก แต่สโมสรฟุตบอลซังมูเข้าแข่งขันในลีกกึ่งอาชีพ (ปัจจุบันคือโคเรียเนชันแนลลีก) ซังมูเข้าร่วมเคลีกในฤดูกาล 1985 แต่ใช้เวลาเพียงปีเดียวในลีกก่อนที่จะถอนตัวออกไป

ด้านทีมสำรอง ซังมูบีเข้าแข่งขันในเค 2 ลีก ตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2005 ก่อนที่จะเข้าร่วมลีกสำรองของเคลีก ซังมูบีตั้งอยู่ที่อินช็อน และเคยจบการแข่งขันในฐานะรองชนะเลิศในฤดูกาล 2003

ยุคควังจูซังมู (2002–2010)[แก้]

หลังจากสร้างสนามเหย้าในควังจูเมื่อเดือนเมษายน 2002 ทีมได้เข้าร่วมในรีเสิร์ฟลีก[5]และกลับเข้าร่วมเคลีกอีกครั้งเมื่อฤดูกาล 2003 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลควังจูซังมู โดยในระหว่างปี 2004 ถึง 2010 สโมสรเป็นที่รู้จักในชื่อสโมสรฟุตบอลควังจูซังมู

ยุคซังจูซังมู (2011–2020)[แก้]

เมื่อสโมสรฟุตบอลควังจูก่อตั้งแล้ว สโมสรฟุตบอลควังจูซังมูก็ย้ายไปอยู่ที่ซังจู จังหวัดคย็องซังเหนือ ในขณะที่กองพลนักกีฬาทหารเกาหลีย้ายไปที่มุนคย็อง ซึ่งใกล้กับซังจู และสโมสรเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลซังจูซังมูฟีนิกซ์ ในเดือนมกราคม 2011[6][7]

ก่อนฤดูกาล 2013 เริ่มต้นขึ้น สโมสรได้ลบคำว่า "ฟีนิกซ์" ออกจากชื่อ และในฤดูกาลเดียวกัน ซังจูซังมูได้แชมป์เป็นทีมแรกของการแข่งขันเคลีกชาเลนจ์ (ดิวิชันสอง) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ และเลื่อนชั้นไปยังเคลีกคลาสสิก[8][9]

เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2020 พวกเขารู้แล้วว่าจะต้องตกชั้นไปยังเคลีก 2 สโมสรจึงตัดสินใจย้ายออกจากซังจูไปยังสถานที่ใหม่โดยที่ยังไม่เปิดเผย[10] ซังจูตัดสินใจที่จะไม่จัดตั้งทีมฟุตบอลของพลเมืองและเล่นในเคลีก 2 ขึ้นมา[11]

คิมช็อนซังมู (2021–ปัจจุบัน)[แก้]

หลังจากคาดเดาเรื่องสถานที่ใหม่มาหลายเดือน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2020 ฝ่ายจัดการแข่งขันเคลีกประกาศว่าเมืองคิมช็อน จังหวัดคย็องซังเหนือ (ตั้งอยู่ทางใต้ของซังจู) ได้ส่งใบสมัครอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นเจ้าบ้านของทีมอย่างน้อยสำหรับฤดูกาล 2021 โดยเสนอสนามกีฬาท้องถิ่นเป็นสนามเหย้าแห่งใหม่ของสโมสร[12][13] หลังจากการตรวจสอบเบื้องต้น และการประชุมกับผู้ว่าการท้องถิ่นแล้ว ในที่สุดเคลีกก็ได้อนุมัติข้อเสนอดังกล่าว จึงเริ่มดำเนินการเพื่อย้ายสโมสรฟุตบอลซังจูซังมู ไปยังคิมช็อน[14]

ประวัติชื่อสโมสร[แก้]

  • 1996–2002: สโมสรฟุตบอลซังมู
  • 2002–2003: สโมสรฟุตบอลควังจูซังมูพุลซาโจ
  • 2004–2010: สโมสรฟุตบอลควังจูซังมู
  • 2011–2012: สโมสรฟุตบอลซังจูซังมูฟีนิกซ์
  • 2013–2020: สโมสรฟุตบอลซังจูซังมู
  • 2021–ปัจจุบัน: สโมสรฟุตบอลคิมช็อนซังมู

อ้างอิง[แก้]

  1. 뉴스데스크 5-60년대 육군 특무부대원들 조선시대 마패처럼 메달 갖고 다녀[전봉기] (ภาษาเกาหลี). 2006-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
  2. 一回全國蹴球. Naver.com (ภาษาเกาหลี). The Chosun Ilbo. 1953-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-04-03.
  3. 군경기단체 국군체육부대로 통합 팀 명칭 상무, 마스코트는 불사조로 (ภาษาเกาหลี). Dong-a Ilbo. 1984-01-11.[ลิงก์เสีย]
  4. 육,해,공 3군통합 스포츠팀 상무 창단 (ภาษาเกาหลี). Maeil Business Newspaper. 1984-01-12.[ลิงก์เสีย]
  5. 프로축구 – 상무축구팀, 프로리그 진출
  6. 상주상무피닉스축구단 운영방침 및 사업계획 (ภาษาเกาหลี). Sangju City Hall. 2011-01-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
  7. ""경북 상주로" 상무, 연고지 변경해 내년 K리그 참가" (ภาษาเกาหลี). The Daily Sports Seoul. 2010-12-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13.
  8. "K리그 챌린지 초대 우승팀 상주 우승 트로피 수상" (ภาษาเกาหลี). Sportal Korea. 2013-11-17.
  9. 강제강등에서 첫 승격까지, 역사가 된 상주상무 (ภาษาเกาหลี). MK Sports. 2013-12-07.
  10. "Preview: Ulsan Hyundai vs. Sangju Sangmu". K League United. 2020-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
  11. "상주, 마지노선 1주일 앞두고 시민구단 전환 포기 선언(Korean)[Sangju City announced giving up their transition to citizen-owned football club a week before the deadline.]". Sports Seoul. 2020-06-22. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  12. "Gimcheon, North Gyeongsang Province, want Sangmu FC". Twitter (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-29.
  13. 유지호 (2020-06-30). "Gimcheon city seeks to host military football club". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-29.
  14. 손대성 (2020-07-11). "상무프로축구단 내년부터 상주서 김천으로 연고지 이전". 연합뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2020-11-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]