Staphylococcus aureus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Staphylococcus aureus
ภาพ S. aureus แบบย้อมสีเท็จ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Bacteria
อาณาจักร: Eubacteria
ไฟลัม: Firmicutes
ชั้น: Bacilli
อันดับ: Bacillales
วงศ์: Staphylococcaceae
สกุล: Staphylococcus
สปีชีส์: S.  aureus
ชื่อทวินาม
Staphylococcus aureus
Rosenbach 1884
การย้อมติดสีแกรมของ S. aureus ที่มักปรากฏเป็นกลุ่ม ผนังเซลล์ติดสีของคริสตัลไวโอเล็ต
โคโลนีสีเหลืองของ S. aureus ที่เจริญบน blood agar บริเวณใสรอบ ๆ โคโลนีเกิดจากการย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในอาหาร (beta hemolysis)

Staphylococcus aureus (/ˌstæfɪləˈkɒkəs ˈɔːriəs, -l-/; หมายถึง องุ่นสีทอง) เป็นแบคทีเรียชนิด facultative anaerobic กรัมบวก รูปกลม เป็นส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อประจำถิ่นในผิวหนังและโพรงจมูก[1] เป็นแบคทีเรียก่อโรคชนิดหนึ่ง เมื่อ S. aureus ปนเปื้อนลงไปในอาหาร จะสร้างสารพิษที่เรียกว่าเอนเทอโรทอกซินขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B, C1, C2, C3, D, E และ H สารพิษนี้ทนต่อความร้อนได้ดีมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาหารเป็นพิษ หลังจากรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1–6 ชั่วโมง อาการของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก S. aureus คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้องจากสารพิษ อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนมากไม่มีไข้ ในรายรุนแรงอาจช็อกได้[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kluytmans J, van Belkum A, Verbrugh H (กรกฎาคม 1997). "Nasal carriage of Staphylococcus aureus: epidemiology, underlying mechanisms, and associated risks". Clin. Microbiol. Rev. 10 (3): 505–20. doi:10.1016/S0006-3207(03)00146-0. PMC 172932. PMID 9227864. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2011.
  2. สุดสายชล หอมทอง; นพวัฒน์ ภูคำ; วาทินี พิทักษ์พงศ์; ฐิติพรรณ บางบำรุง; ณัฐาพร เกตุรัตนมาลี (ตุลาคม–ธันวาคม 2011). "การแพร่กระจายของ Staphylococcus aureus ในผลไม้พร้อมบริโภคบริเวณอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 13 (4): 52–58. eISSN 2697-4142.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Staphylococcus aureus
  • StopMRSANow.org - Discusses how to prevent the spread of MRSA