ข้ามไปเนื้อหา

สเตร็ปซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเตร็ปซิล
สเตร็ปซิลในฟิลิปปินส์
ชนิดสินค้ายาอม
เจ้าของปัจจุบันเรกคิตต์เบนคีเซอร์
ประเทศทั่วโลก
เริ่มจำหน่ายพ.ศ. 2493; 75 ปีที่แล้ว (2493)[1]
ตลาดทั่วโลก
เจ้าของเดิมบูตส์เฮลท์แคร์
เว็บไซต์strepsils.co.uk

สเตร็ปซิล (อังกฤษ: Strepsils) เป็นยี่ห้อยาอมฆ่าเชื้อโรคในปากหรือลำคอ ผู้ผลิตในปัจจุบันคือเรกคิตต์เบนคีเซอร์ บริษัทสัญชาติบริเตนและเนเธอร์แลนด์[2]

ชื่อยี่ห้อนี้มาจากชื่อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัสที่ก่ออาการเจ็บคอบางชนิด[3]

ส่วนผสม

[แก้]

ส่วนผสมออกฤทธิ์หลักได้แก่ไดคลอโรเบนซิลแอลกอฮอล์และอะมิลเมทาเครซอล[4] บางสูตรยังมีกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) ร่วมอยู่ด้วย[5] ส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ได้แก่เมนทอล กรดทาร์ทาริก และโพรพิลีนไกลคอล[4]

ความเป็นมา

[แก้]

เดิมบริษัทบูตส์เฮลท์แคร์นำเสนอสเตร็ปซิลต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2493 ในรูปแบบยาบ้วนปาก ส่วนยาอมนั้นนำเสนอต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2501 ต่อมาใน พ.ศ. 2549 บริษัทเรกคิตต์เบนคีเซอร์ได้เป็นเจ้าของกิจการของบูตส์เฮลท์แคร์ จึงกลายเป็นเจ้าของสเตร็ปซิลด้วย

สเตร็ปซิลผลิตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 โดยใช้ส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ 2 ส่วนผสม คืออะมิลเมทาเครซอล และ 2,4-ไดคลอโรเบนซิลแอลกอฮอล์[6] ส่วนผสมเหล่านี้เป็นสารฆ่าเชื้ออย่างอ่อน สามารถฆ่าแบคทีเรียที่เกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อในปากและลำคอได้ แต่ตัวบรรจุภัณฑ์เองระบุว่า ยังไม่มีการวิจัยที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์มีสารฆ่าแบคทีเรียที่จะช่วยลดระยะเวลาหรือความรุนแรงในการติดเชื้อ สเตร็ปซิลสูตรเอกซ์ตรามีเฮกซิลรีซอร์ซินอลเป็นส่วนผสมที่ออกฤทธิ์ บริษัทเรกคิตต์เบนคีเซอร์ยังเคยผลิตยาเม็ดที่มีฤทธิ์แรงกว่าปรกติ มีเฟลอร์บิพรอเฟนเป็นส่วนผสม และวางขายในยี่ห้อสเตร็ปซิล แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้อ "สเตร็ปเฟน" แทน[6]

ในออสเตรเลีย อาร์เจนตินา และฮังการี ยังมีสเตร็ปซิลสูตรพลัสซึ่งมีลิโดเคนเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมจากสารฆ่าแบคทีเรียในสูตรปรกติ สูตรพลัสนี้วางขายในฝรั่งเศสและสเปนในชื่อ "สเตร็ปซิลลิโดเคน"

สเตร็ปซิลวางขายในอิตาลีด้วยชื่อ "เบนากอล" วางขายในเยอรมนีด้วยชื่อ "โดเบนดัน" และวางขายในนอร์เวย์ด้วยชื่อ "เร็ปซิล"

ขนาด

[แก้]

ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 1 เม็ดต่อทุก ๆ 2 ถึง 3 ชั่วโมงสำหรับผู้ใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  1. Reckitt Benckiser Group plc. Page accessed 28 October 2017 Strepsils – Our Health Brands
  2. Weckmann G, Hauptmann-Voß A, Baumeister SE, Klötzer C, Chenot JF (2017). "Efficacy of AMC/DCBA lozenges for sore throat: A systematic review and meta-analysis". Int J Clin Pract. 71 (10): 1742–1241. doi:10.1111/ijcp.13002. PMID 28869700.
  3. "Superbrands". 2011-02-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2011. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  4. 4.0 4.1 "Strepsils – Summary of Product Characteristics (SPC) – (eMC)". Datapharm UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-20.
  5. "Strepsils Orange with Vitamin C 100mg – Summary of Product Characteristics (SPC) – (eMC)". Datapharm UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-02-20.
  6. 6.0 6.1 Weckmann, Gesine; Hauptmann-Voß, Anke; Baumeister, Sebastian E.; Klötzer, Christine; Chenot, Jean-François (2017). "Efficacy of AMC/DCBA lozenges for sore throat: A systematic review and meta-analysis". International Journal of Clinical Practice (ภาษาอังกฤษ). 71 (10): e13002. doi:10.1111/ijcp.13002. ISSN 1742-1241. PMID 28869700.