สูตรที่ 6 แห่งปริสวรรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สูตรที่ 6 แห่งปริสวรรค เป็นหัวข้อธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงบุคคล 2 จำพวก ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน โดยความที่ทรงตรัสถึงบุคคล หรือข้อธรรม 2 ข้อ จึงจัดอยู่ในทุกนิบาต หรือหมวดข้อธรรม 2 หัวข้อ ซึ่งพระสูตรนี้เป็นสูตรไม่ปรากฏชื่อ เนื่องจากเป็นการจัดหัวข้อธรรมตามหมวดที่เข้ากัน อันเป็นลักษณะของอังคุตรนิกาย ซึ่งเป็นหมวดของพระสูตรที่พระสังคีติกาจารย์รวบรวมและจัดลำดับเข้าไว้ด้วยกัน ตามจำนวนหัวข้อธรรมเป็นสำคัญ [1]

ที่มาและลำดับแห่งพระสูตร[แก้]

พระสูตรนี้ และอีกหลายพระสูตรในเอกนิบาตและทุกนิบาต ในอังคุตตรนิกาย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี แล้วทรงตรัสข้อธรรมท้งหลายแก่พระภิกษุ [2] ไล่เรียงข้อธรรมมาเป็นลำดับ ตามลำดับข้อธรรมที่มี 1 หัวข้อ จนถึงหัวข้อธรรมที่มี 2 หัวข้อหรือ ทุกนิบาต อันนประกอบไปด้วย ปฐมปัณณาสก์ ทุติยปัณณาสก์ และตติยปัณณาสก์ ซึ่งปริสวรรคนี้ จัดอยู่ในปฐมปัณณาสก์ มีทั้งหมด 5 วรรค ในปริสวรรคมีสูตรทั้งหมด 10 สูตร สูตรที่ว่าด้วย "บริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน" อยู่ในลำดับที่ 7 อยู่ในลำดับที่ 292 นับแต่พระสูตรแรกในเอกนิบาต ส่วนในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา อยู่ในลำดับที่ 48 แห่งทุกนิบาต

เนื้อหา[แก้]

เนื้อหาภาษาบาลี[แก้]

‘‘เทฺวมา, ภิกฺขเว, ปริสาฯ กตมา เทฺว? โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โนปฏิปุจฺฉาวินีตา, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตาฯ กตมา จ, ภิกฺขเว, โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โนปฏิปุจฺฉาวินีตา? อิธ, ภิกฺขเว, ยสฺสํ ปริสายํ ภิกฺขู เย เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญตาปฏิสํยุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ น สุสฺสูสนฺติ น โสตํ โอทหนฺติ น อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ น จ เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เย ปน เต สุตฺตนฺตา กวิตา [กวิกตา (สพฺพตฺถ) ฎีกา โอโลเกตพฺพา] กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสูสนฺติ โสตํ โอทหนฺติ อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติ, เต จ ตํ ธมฺมํ ปริยาปุณิตฺวา น เจว อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ น จ ปฏิวิจรนฺติ – ‘อิทํ กถํ, อิมสฺส โก อโตฺถ’ติ? เต อวิวฎเญฺจว น วิวรนฺติ, อนุตฺตานีกตญฺจ น อุตฺตานีกโรนฺติ, อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฐานิเยสุ ธเมฺมสุ กงฺขํ น ปฏิวิโนเทนฺติฯ อยํ วุจฺจติ, ภิกฺขเว, โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฺฉาวินีตาฯ [3]

เนื้อหาภาษาไทย[แก้]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน? คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน? ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ [4]

เนื้อหาภาษาบาลี[แก้]

‘‘กตมา จ, ภิกฺขเว, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตา? อิธ, ภิกฺขเว, ยสฺสํ ปริสายํ ภิกฺขู เย เต สุตฺตนฺตา กวิตา กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ น สุสฺสูสนฺติ น โสตํ โอทหนฺติ น อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, น จ เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เย ปน เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญตาปฏิสํยุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสูสนฺติ โสตํ โอทหนฺติ อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, เต จ ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เต ตํ ธมฺมํ ปริยาปุณิตฺวา อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ปฏิวิจรนฺติ – ‘อิทํ กถํ, อิมสฺส โก อโตฺถ’ติ? เต อวิวฎเญฺจว วิวรนฺติ, อนุตฺตานีกตญฺจ อุตฺตานีกโรนฺติ, อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฐานิเยสุ ธเมฺมสุ กงฺขํ ปฏิวิโนเทนฺติฯ อยํ วุจฺจติ, ภิกฺขเว, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตาฯ อิมา โข, ภิกฺขเว, เทฺว ปริสาฯ เอตทคฺคํ, ภิกฺขเว, อิมาสํ ทฺวินฺนํ ปริสานํ ยทิทํ ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตา’’ติฯ [5]

เนื้อหาภาษาไทย[แก้]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน? ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ [6]

ข้อวิจารณ์[แก้]

สูตรที่ 7 แห่งปริสวรรค ในปฐมปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย หรือบางทีได้รับการอ้างอิงในรูป "ทุก.อํ.20/92/292" ได้รับความสนใจ และถูกกอ้างอิงโดยพุทธศาสนิกชนบางกลุ่ม โดยอธิบายว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" หมายถึงคำสอนของพระสวากในพระพุทธศาสนา และเสนอว่า ควรจะสดับแต่พุทธวจนะ ไม่ควรสดับและเล่าเรียนคำสอนของพุทธสาวก การตีความนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพุทธศาสนิกชนอื่นๆ ที่เห็นว่า เป็นการตีความที่ไม่ถูกต้อง และยืนยันว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" ในพระสูตรนี้หมายถึง สาวกในศาสนาอื่นนอกพุทธศาสนา ในประเด็นข้อนี้ ได้มีพระเถระร่วมสมัยได้อธิบายในลักษณะเดียวกับพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอรรถาธิบายในมโนรถปูรณี อารรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก จะพบว่า พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" หมายถึง ภาษิตของสาวกนอกพระศาสนา โดยมีข้อความดังนี้

กวิตาติ กวีหิ กตาฯ อิตรํ ตเสฺสว เววจนํฯ [7]

บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง. [8]

จิตฺตกฺขราติ วิจิตฺรอกฺขราฯ อิตรํ ตเสฺสว เววจนํฯ [9]

บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร. บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน. [10]

พาหิรกาติ สาสนโต พหิภูตาฯ [11]

บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.[12]

สาวกภาสิตาติ เตสํ เตสํ สาวเกหิ ภาสิตาฯ [13]

บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้. [14]

อ้างอิง[แก้]

  1. สารธรรมที่น่าศึกษาในอังคุตตรนิกาย ใน "ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก"
  2. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 1
  3. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  4. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 408
  5. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  6. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 408
  7. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  8. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  9. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  10. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  11. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  12. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  13. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  14. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410

บรรณานุกรม[แก้]

  • พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 1
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2
  • สารธรรมที่น่าศึกษาในอังคุตตรนิกาย ใน "ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก" บทความของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เผยแพร่ใน http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_12.htm#top เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน