สุสานหลวงมูซาชิ
พิกัดภูมิศาสตร์: 35°39′0.85″N 139°16′48.16″E / 35.6502361°N 139.2800444°E
สุสานหลวงมูซาชิ (武蔵陵墓地) สุสานหลวงของจักรพรรดิญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ในเมืองฮาจิโอจิ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว โดยชื่อของสุสานหลวงมาจากชื่อของแคว้นศักดินาโบราณในญี่ปุ่นคือ แคว้นมูซาชิ ซึ่งสุสานหลวงแห่งนี้เป็นที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดิไทโชและจักรพรรดิโชวะ รวมถึงจักรพรรดินีเทเมและจักรพรรดินีโคจุง จักรพรรดินีในจักรพรรดิไทโชและจักรพรรดิโชวะ[1]
ประวัติศาสตร์[แก้]
จักรพรรดิไทโชทรงเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่พระบรมศพได้ฝังที่กรุงโตเกียว ทำให้มีการเรียกพระองค์ว่า จักรพรรดิแห่งโตเกียว องค์แรกเนื่องจากจักรพรรดิไทโชทรงประสูติที่กรุงโตเกียว ขณะที่จักรพรรดิเมจิ พระราชบิดาทรงประสูติที่เกียวโต แต่ทรงมาประทับและสวรรคตที่โตเกียวซึ่งพระบรมศพได้กลับไปฝังที่เกียวโตโดยจักรพรรดิเมจินับเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ฝังพระบรมศพที่เกียวโต
การออกแบบ[แก้]
สุสานหลวงในฮาจิโอจิ ได้รับการออกแบบแบบกึ่งธรรมชาติ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าไม้ หิน และต้นไม้ นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ขนาดเล็กและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนา เช่น โทริอิ ด้วย
วิธีการเข้าถึงสุสานหลวงมูซาชิ จะใช้เส้นทางโคชูไกโด (หนึ่งในห้าเส้นทางของยุคเอโดะ) ซึ่งเรียงรายไปด้วยบรรดาต้นเซลโควา (Zelkova serrata) และที่ฝังพระศพ/พระบรมศพจะมีการประดับประดาด้วยต้นไครป์โตเมเรีย (Cryptomeria)[1]
หลุมพระศพ[แก้]
พระนาม | ปีที่สวรรคต | ชื่อหลุมพระศพ | รูปภาพ |
---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช (โยชิฮิโตะ) | 2469 | ญี่ปุ่น: 多摩陵; ทับศัพท์: ทามะ โนะ มิซาซางิ[2] | |
สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม | 2494 | ญี่ปุ่น: 多摩東陵; ทับศัพท์: ทามะ โนะ ฮิงาชิ โนะ มิซาซางิ[1] | |
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ (ฮิโรฮิโตะ) | 2532 | ญี่ปุ่น: 武藏野陵; ทับศัพท์: มูซาชิโนะ โนะ มิซาซางิ[3][4][5] | |
สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง | 2543 | ญี่ปุ่น: 武藏野東陵; ทับศัพท์: มูซาชิโนะ โนะ ฮิงาชิ โนะ มิซาซางิ[1][6] |
อนาคต[แก้]
เมื่อปี 2555 ถึง 2556 สำนักพระราชวังญี่ปุ่น ได้ยืนยันว่า สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ มิได้ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้พระบรมศพและพระศพฝังที่สุสานหลวง เหมือนดังพระจักรพรรดิหรือพระจักรพรรดินีพระองค์ก่อน แต่ทรงโปรดให้ใช้วิธีการฌาปนกิจแทน ซึ่งสถานที่ที่ใข้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพและพระศพจะถูกเพิ่มเข้าไปภายในสุสานหลวงมูซาชิ ส่วนพระบรมราชสรีรางคารและพระราชสรีรางคารจะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานภายในสุสานของแต่ละพระองค์ต่อไป ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นไว้เคียงข้างกันในแบบสมัยนิยมผสมผสาน ทางด้านตะวันตกของหลุมพระบรมศพของสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช (ดูแบบแปลน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) การดัดแปลงพระราชพิธีพระบรมศพครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของพระราชพิธีพระบรมศพ ตั้งแต่ 350 ปีก่อน ซึ่งใช้วิธีการฝังเป็นบรรทัดฐานสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระมเหสี สำนักพระราชวังญี่ปุ่นวางแผนที่จะสร้างสุสานใหม่สองหลังบนพื้นที่ประมาณ 3,500 ตารางเมตร ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์อยู่บนพื้นที่ 4,300 ตารางเมตรของหลุมพระบรมศพและพระศพ ของสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะและสมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุง ผู้เป็นพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี[7][8][9][10][11]
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สุสานหลวงมูซาชิ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "武蔵陵墓地". Hachiōji City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "大正天皇多摩陵". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "昭和天皇武藏野陵". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "Emperor Showa and Empress Kojun". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ Chira, Susan (24 February 1989). "With pomp and on a global stage, Japanese bury Emperor Hirohito". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ "Mourners attend Empress Dowager's funeral". The Japan Times. 26 July 2000. สืบค้นเมื่อ 9 February 2012.
- ↑ Emperor, Empress plan to be cremated (online) Retrieved 9 October 2015.
- ↑ Government makes plans to honor Emperor Akihito’s cremation request (online) Retrieved 9 October 2015.
- ↑ Royal Passage: Imperial Couple Considers Cremation (online) Retrieved 9 October 2015.
- ↑ Mausoleum, cremation plans revealed for emperor, empress (online เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) Retrieved 9 October 2015.
- ↑ Japanese Emperor and Empress choose cremation (online) Retrieved 9 October 2015.