ข้ามไปเนื้อหา

สุศรุตสังหิตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุศรุตสังหิตาจากเนปาล จากศตวรรษที่ 12-13 ส่วนศิลปะอายุจากศตวรรษที่ 18-19 สมบัติของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเทศมณฑลลอสแองเจลีส

สุศรุตสังหิตา (สันสกฤต: सुश्रुतसंहिता, แปลตรงตัว'บทสรุปของสุศรุตะ', IAST: Suśrutasaṃhitā) เป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤตโบราณเกี่ยวก้บแพทยศาสตร์และเป็นหนึ่งในวรรณกรรมทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดที่หลงเหลือจากโลกยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นงานเขียนที่เป็นรากฐานของอายุรเวทควบคู่ไปกับ จารกสังหิตา, เภลสังหิตา และส่วนการแพทย์ของจารึกโบเวอร์[1][2] และเป็นเพียงหนึ่งในสองวรรณกรรมฮินดูรากฐานเกี่ยวกับการแพทย์ที่หลงเหลือมาจากอินเดียโบราณ[3]

เนื้อความของสังหิตามีความสำคัญอย่างมากทางประวัติศาสตร์เนื่องจากเนื้อหาซึ่งถือว่าแปลกใหม่ในสมัยนั้น เช่น ศัลยกรรมศาสตร์[2][4] โดยที่หนึ่งในจารึกใบลานที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกสุศรุติสังหิตาเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดไกเซอร์ในเนปาล[5] นักวิชาการมากมายเสนอข้อสันนิษฐานว่าวรรณกรรมนี้เขียนขึ้นตั้งแต่ระหว่าง 2000 ปีก่อนคริสต์กาล ไปจนถึงศตวรรษที่ 6[6]

นักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าวรรณกรรมนี้จัดเป็นวรรณกรรมฮินดู[7][8][9] และปรากฏใช้คำศัพท์เช่นเดียวกับที่ปรากฏในวรรณกรรมฮินดูยุคโบราณกว่า[10][11] รวมถึงมีการกล่าวถึงเทพเจ้าฮินดู ทั้ง พระนารายณ์, พระหริ, พระพรหม, พระรุทร, พระอินทร์ เป็นต้น[12][13] ไปจนถึงการกล่าวถึงพระเวท[14][15] ดังที่ปรากฏในบางส่วนที่แนะนำว่าให้ออกกำลังกาย เดิน และทำการศึกษาพระเวทอย่างสม่ำเสมอ ในฐานะส่วนหนึ่งของการรักษาและฟื้นฟู[16] รวมทั้งปรากฏคำศัพท์แบบที่ใช้ในไวเศษิกะ, สางขยะ และปรัชญาฮินดูอื่น ๆ[17][18][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Meulenbeld 1999, pp. 203–389 (Volume IA).
  2. 2.0 2.1 Rây 1980.
  3. Wendy Doniger (2014), On Hinduism, Oxford University Press, ISBN 978-0199360079, page 79;
    Sarah Boslaugh (2007), Encyclopedia of Epidemiology, Volume 1, SAGE Publications, ISBN 978-1412928168, page 547, Quote: "The Hindu text known as Sushruta Samhita is possibly the earliest effort to classify diseases and injuries"
  4. Valiathan 2007.
  5. Kengo Harimoto (2011). "In search of the Oldest Nepalese Manuscript". Rivista degli Studi Orientali. 84: 85–88.
  6. Meulenbeld 1999, pp. 341–346.
  7. Boslaugh 2007, p. 547, Quote: "The Hindu text known as Sushruta Samhita (600 AD) is possibly the earliest effort to classify diseases and injuries"..
  8. Schultheisz 1981, pp. 60–61, Quote: "(...) the Charaka Samhita and the Susruta Samhita, both being recensions of two ancient traditions of the Hindu medicine.".
  9. Loukas 2010, p. 646, Quote: Susruta's Samhita emphasized surgical matters, including the use of specific instruments and types of operations. It is in his work that one finds significant anatomical considerations of the ancient Hindu.".
  10. Hoernle 1907, pp. 8, 109–111.
  11. Raveenthiran, Venkatachalam (2011). "Knowledge of ancient Hindu surgeons on Hirschsprung disease: evidence from Sushruta Samhita of circa 1200-600 bc". Journal of Pediatric Surgery. 46 (11): 2204–2208. doi:10.1016/j.jpedsurg.2011.07.007. PMID 22075360.
  12. Bhishagratna 1911, p. 156 etc.
  13. Bhishagratna 1907, pp. 6–7, 395 etc.
  14. Bhishagratna 1911, pp. 157, 527, 531, 536 etc.
  15. Bhishagratna 1907, pp. 181, 304–305, 366, lxiv-lxv etc.
  16. Bhishagratna 1911, p. 377 etc.
  17. Bhishagratna 1911, pp. 113-121 etc.
  18. Bhishagratna 1916, pp. 285, 381, 407, 409, 415 etc.
  19. Engler 2003, pp. 416–463.

บรรณานุกรม

[แก้]