พระสุรัสวดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุรัสวดี)
พระสุรัสวดี
สติปัญญา, ความรู้, ดนตรีนาฏศิลป์, ศิลปะ, การพูดจา, ภูมิปัญญา และการเรียนรู้
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี
พระสุรัสวดีทรงสรัสวดีวีณา(พิณอินเดีย) จิตรกรรมศิลปะแบบประเพณีอินเดียประยุกต์ โดย ราชา รวิ วรรมา
ชื่อในอักษรเทวนาครีसरस्वती
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตSaraswati
ส่วนเกี่ยวข้องตรีเทวี, พระมหาสุรัสวดี, เทพีแห่งแม่น้ำ, สัปตสินธุ, พระแม่มาตังคี, พระแม่คายตรี
ที่ประทับพรหมโลก
มนตร์โอม สรัสวตี นะมัส ตุภะยัม

วาระเท กามะรูปินี วิทยา รัมภัม

กะริชยามิ สิทธิ ภะวะตุ เม สะทา
พาหนะหงส์ หรือ นกยูง
เป็นที่นับถือในเอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, ทิเบต, ญี่ปุ่น และเนปาล
เทศกาลวสันตปันชมี และ นวราตรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระพรหม[1][2]
พี่น้องพระศิวะ

พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (สันสกฤต: सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้อุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้[3] เป็นพระชายาของพระพรหม และเป็นหนึ่งในตรีเทวีร่วมกับพระลักษมีและพระปารวตี ช่วยเหลือตรีมูรติในการสร้าง รักษา และทำลายเอกภพ ตามลำดับ[4]

พระสุรัสวดี เป็นเทพีที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท โดยยังมีความสำคัญและได้รับการนับถือเรื่อยมาตั้งแต่ยุคพระเวทจนถึงสมัยใหม่[5] ชาวฮินดูบางกลุ่มได้เฉลิมฉลองในเทศกาลวสันตปัญจมี (สันสกฤต: वसन्त पञ्चमी "วันที่ห้าของฤดูใบไม้ผลิ") เพื่อบูชาพระองค์[6]

นอกจากนี้ พระสุรัสวดี ยังได้รับการเคารพจากศาสนิกชนเชนในแถบภาคกลางและภาคตะวันตก[7] รวมทั้งยังได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนบางกลุ่มด้วย[8] ด้วยความที่เป็นเทพีแห่งศิลปวิทยา จึงให้มีผู้นับถือนอกเหนือไปจากประเทศอินเดีย เช่น ญี่ปุ่น, เวียดนาม, บาหลี (อินโดนีเซีย) และพม่า[9] โดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่รับพระสรัสวดี มาเป็นเทพีในพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นและลัทธิชินโต เรียกว่า "เบ็นไซเต็ง"[10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dowling, Elizabeth; Scarlett, W George (2005). Encyclopedia of Religious and Spiritual Development. SAGE Publications. p. 204. ISBN 978-0761928836.
  2. Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the divine feminine in the Hindu religious traditions. University of California Press. pp. 55–64. ISBN 0-520063392.
  3. Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press, ISBN 0-520-06339-2, pages 55-64
  4. Encyclopaedia of Hinduism, p. 1214; Sarup & Sons, ISBN 978-81-7625-064-1
  5. Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press, ISBN 0-520-06339-2
  6. Vasant Panchami Saraswati Puja เก็บถาวร 2014-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Know India - Odisha Fairs and Festivals
  7. Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : guide to the collection. [Birmingham, Ala]: Birmingham Museum of Art. p. 55. ISBN 978-1-904832-77-5.
  8. Thomas Donaldson (2001). Iconography of the Buddhist Sculpture of Orissa. ISBN 978-8170174066, pages 274-275
  9. Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press. ISBN 0-520-06339-2. p. 95.
  10. Catherine Ludvik (2001), From Sarasvati to Benzaiten, Ph.D. Thesis, University of Toronto, National Library of Canada; PDF Download
  11. Ian Reader and George J. Tanabe, Practically Religious: Worldly Benefits and the Common Religion of Japan, Univ of Hawaii Press, ISBN 978-0824820909

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุรัสวดี