สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (65 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน
เพื่อไทย
พลังประชารัฐ
คู่สมรสนางโชติมา วงศ์วิทยานันท์

นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน และอดีตสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ[แก้]

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของนายจั๊ว และนางเล็ก แซ่เตียว มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สมรสกับนางโชติมา มีบุตร 2 คน

งานการเมือง[แก้]

อดีตเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านปางมะค่า และกำนันตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกำแพงเพชร และได้รับการเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 108,888 คะแนน แต่เกิดการรัฐประหาร การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จึงยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปี พ.ศ. 2550 นายสุรสิทธิ์สมัครเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน และลงเลือกตั้งแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 1 ลำดับที่ 7 ไม่ได้รับการเลือกตั้งในคราวแรก แต่ได้รับเลือกขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[2]

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายสุรสิทธิ์ย้ายไปลงในระบบเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพ่ายให้กับนายปรีชา มุสิกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ประจำนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ตามลำดับ [3]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  3. การเลือกตั้งจังหวัดกำแพงเพชร[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]