สุมาฮิว
สุมาฮิว (ซือหม่า โยว) 司馬攸 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เจอ๋อง / อ๋องแห่งเจ๋ (齊王 ฉีหวาง) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 – 27 เมษายน ค.ศ. 283 | ||||||||
ก่อนหน้า | โจฮอง | ||||||||
ถัดไป | ซือหมา จฺหย่ง | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 246 | ||||||||
สวรรคต | 27 เมษายน ค.ศ. 283 (37 พรรษา) | ||||||||
คู่อภิเษก | เจี่ย เปา (賈褒)[a] | ||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชตระกูลสุมา | ||||||||
พระราชบิดา | สุมาเจียว | ||||||||
พระราชมารดา | หวาง ยฺเหวียนจี |
สุมาฮิว[1] (ค.ศ. 246[b] – 27 เมษายน ค.ศ. 283[c]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ซือหม่า โยว (จีน: 司馬攸; พินอิน: Sīmǎ Yōu) ชื่อรอง ต้าโหยว (จีน: 大猷; พินอิน: Dàyóu) เป็นที่รู้จักภายหลังในสมัญญานามว่า อ๋องเซี่ยนแห่งเจ๋ (齐献王 ฉีเซี่ยนหวาง) เป็นเจ้าชายของราชวงศ์จิ้นตะวันตกของจีน
พระประวัติ
[แก้]สุมาฮิวเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก กับหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) ภรรยาของสุมาเจียว ภรรยาของสุมาฮิวเป็นบุตรสาวของกาอุ้น (賈充 เจี่ย ชง) กับหลี หว่าน (李婉) ภรรยาคนแรกของกาอุ้น ตัวหลี หว่านเป็นบุตรสาวของลิฮอง (李豐 หลี่ เฟิง)
สุมาฮิวกลายมาเป็นทายาทของสุมาสูผู้เป็นลุงซึ่งเสียชีวิตโดยไม่มีบุตรชาย สุมาฮิวเป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลที่มีนิสัยอ่อนโยนและได้รับการคาดหวังว่าขึ้นเป็นจีนอ๋อง (晉王 จิ้นหวาง) หรืออ๋องแห่งจิ้น แต่ท้ายที่สุดสุมาฮิวไม่ได้เป็นทายาทเพราะอายุยังน้อย ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นทายาทคือบุตรชายคนโตของสุมาเจียวชื่อสุมาเอี๋ยนผู้ที่ภายหลังได้แย่งชิงบัลลังก์ของวุยก๊กและก่อตั้งราชวงศ์จิ้นขึ้นโดยตัวสุมาเอี๋ยนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาฮิวได้รับการตั้งให้เป็นเจอ๋อง (齊王 ฉีหวาง) ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[d]
เมื่อจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงแต่งตั้งซือหม่า จง (司馬衷) พระโอรสที่มีภาวะบกพร่องทางพัฒนาการให้เป็นรัชทายาท พระองค์ทรงกังวลว่าเหล่าขุนนางจะนิยมชมชอบสุมาฮิวมากเกินไป มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 272 และ ค.ศ. 274[e] ระหว่างที่แฮหัวโฮยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น) จักรพรรสุมาเอี๋ยนประชวรหนัก ราชสำนักจิ้นพิจารณาจะตั้งให้สุมาฮิวเป็นจักรพรรดิองค์ถัดไป แทนที่จะเป็นซือหม่า จงที่เป็นพระโอรสและรัชทายาทของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยน แฮหัวโฮกล่าวกับกาอุ้นว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับบุตรเขยทั้งสองนั้นเท่าเทียมกัน การเลือกรัชทายาทควรพิจารณาจากคุณงามความดี" กาอุ้นไม่ได้แสดงความเห็นใด ๆ ต่อคำกล่าวของแฮหัวโฮ หลังจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ จึงทรงให้ย้ายแฮหัวโฮมาดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมวัง (光祿勳 กวางลู่ซฺวิ่น) และปลดกาอุ้นจากอำนาจบัญชาการทหาร โดยกาอุ้นยังคงดำรงตำแหน่งและได้รับการปฏิบัติในราชสำนักดังเดิม[5] อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนยังคงพระราชทานตำแหน่งแก่สุมาฮิว รวมถึงตำแหน่งเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 276 แทนที่กาอุ้นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์)[6]
จักรพรรดิสุมาเอี๋ยนทรงต้องการเสริมสร้างฐานะของซือหม่า จงผู้เป็นโอรส จึงมีรับสั่งให้สุมาฮิวเสด็จออกจากลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 283[f] ไปยังราชรัฐเจ๋ (齊 ฉี) แม้ว่าเจ้าหญิงจิงเจ้า (京兆公主 จิงเจ้ากงจู่) และเจ้าหญิงฉางชาน (常山公主 ฉางชานกงจู่) พระขนิษฐาของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนและสุมาฮิวจะทูลคัดค้านการส่งสุมาฮิว[8] กาอุ้นที่เป็นพระสัสสุระ (พ่อตา) ของสุมาฮิวเสียชีวิตไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 282 สุมาฮิวจึงขาดผู้มีอำนาจเพียงพอที่จะช่วยขอร้องให้พระองค์ สุมาฮิวประชวรด้วยความเครียดและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นานในเดือนเมษายน ค.ศ. 283 ขณะมีพระชนมายุ 38 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[9]
พระโอรสของสุมาฮิวชื่อซือหมา จฺหย่ง (司馬冏) เป็นหนึ่งในแปดอ๋องที่เข้าร่วมในสงครามแปดอ๋องในรัชสมัยของจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ จักรพรรดิลำดับที่ 2 ของราชวงศ์จิ้น
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บทชีวประวัติกาอุ้นในจิ้นชูบันทึกว่าสุมาฮิวและเจี่ย เปาสมรสกันก่อนที่กาอุ้นจะต้องนำทัพไปรักษาภูมิภาคกวนต๋งและป้องกันการโจมตีจากกบฏของชนเผ่าตี (氐) และเกี๋ยง (羌 เชียง) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 271
- ↑ แม้ว่าบทชีวประวัติสุมาฮิวในจิ้นชูระบุว่าสุมาฮิวสิ้นพระชนม์ขณะพระชนมายุ 36 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) บทชีวประวัติสุมาฮิวยังระบุอีกว่าสุมาฮิวมีอายุ 10 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ในช่วงเวลาที่สุมาสูเสียชีวิต (ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 255) นอกจากนี้ บทชีวประวัติสุมาฮิวยังระบุว่าด้วยว่าสุมาฮิวมีอายุมากกว่า 18 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ขณะมีการฟื้นฟูระบบ "บรรดาศักดิ์ห้าขั้น" (ในปี ค.ศ. 264) ซึ่งจะไม่เป็นเช่นนั้นหากปีเกิดของสุมาฮิวเป็นปี ค.ศ. 248 ดังนั้นพระชนมายุขณะสิ้นพระชนม์ของสุมาฮิวจึงควรมากกว่า 36 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)
- ↑ บทพระราชประวัติสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าสุมาฮิวสิ้นพระชนม์ในวันกุ๋ยโฉ่ว (癸丑) ในเดือน 3 ของศักราชไท่คาง (太康) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยน เทียบได้กับวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 283 ในปฏิทินจูเลียน[2]
- ↑ วันติงเหม่า (丁卯) ในเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1[3]
- ↑ ตามลำดับเหตุการณ์ในบทชีวประวัติกาอุ้นในจิ้นชู เหตุการณ์ระหว่างกาอุ้นและแฮหัวโฮเกิดขึ้นหลังกาอุ้นได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีโยธาธิการ (司空 ซือคง) ในบทพระราชประวัติจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่ากาอุ้นได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีโยธาธิการเมื่อเดือน 7 ศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 8[4] เดือนนี้เทียบได้รับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 11 สิงหาคมถึง 9 กันยายน ค.ศ. 272 ในปฏิทินจูเลียน ในจิ้นชูเล่มที่ 26 ระบุว่าในปี ค.ศ. 274 แฮหัวโฮมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมวัง (光祿勳 กวางลู่ซฺวิ่น) อยู่แล้ว ดังนั้นเหตุการณ์นี้จะต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 272 ถึง ค.ศ. 274 จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 80 ระบุว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 276 (ศักราชเสียนหนิง (咸寧) ปีที่ 2) ในขณะที่บทพระราชประวัติจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูบันทึกว่าจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนประชวรหนักในปีนั้น หากข้อมูลทั้งในจิ้นชูและจือจื้อทงเจี้ยนถูกต้อง ก็จะหมายความว่าแฮหัวโฮเดิมเป็นเสนาบดีกรมวังในปี ค.ศ. 274 จากนั้นจึงมาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองโห้หล้ำก่อนจะขึ้นเป็นเสนาบดีกรมวังอีกครั้งหลังเหตุการณ์นี้
- ↑ บทพระราชประวัติจักรพรรดิสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูบันทึกว่าสุมาฮิวได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม (大司馬 ต้าซือหม่า) และมหาขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東大將軍 'เจิ้นตงต้าเจียงจฺวิน) กับได้รับมอบหมายให้ดูแลราชการทหารในมณฑลเฉงจิ๋วในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 283[7] ซึ่งยังเป็นการกล่าวถึงสุมาฮิวเป็นครั้งสุดท้ายก่อนการสิ้นพระชนม์ในเดือนเมษายนปีเดียวกันนั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("สุมาเจียวมีใจกำเริบคิดว่าแผ่นดินนี้เปนของสุมาสูผู้พี่เราทำไว้ให้ราบคาบสืบกันมา แลบัดนี้สุมาเอี๋ยนสุมาฮิวบุตรของเราสองคนนี้ก็จำเริญวัยอยู่แล้ว ควรจะตั้งแต่งให้เปนใหญ่ อันสุมาเอี๋ยนผู้พี่นั้นลักขณะก็มีวาสนา ผมก็ยาวถึงตีนมือก็ยาวฟันขาวปัญญาพาทีเฉลียวฉลาดหลักแหลม แต่ทว่าไม่ชอบใจเรา ครั้นจะตั้งให้เปนใหญ่บัดนี้ก็มิได้ แต่สุมาฮิวผู้น้องซึ่งสุมาสูพี่เรารักใคร่เอาไปเลี้ยงดูแต่น้อยนั้นมีใจสัตย์ซื่อมั่นคงดี ควรที่จะตั้งให้เปนใหญ่ คิดฉนั้นแล้วก็ปรึกษาขุนนางทั้งปวงที่จะตั้งสุมาฮิวเปนเจ้าชีจู้ ขุนนางทั้งปวงจึงว่า ซึ่งท่านจะตั้งสุมาฮิวเปนชีจู้นั้นมิชอบ ด้วยข้าพเจ้าเห็นว่าแผ่นดินแต่ก่อนเกิดจลาจลนั้นก็เพราะกลับเอาผู้ใหญ่เปนผู้น้อยมิได้ทำตามขนบธรรมเนียมบุราณ ครั้งนี้ท่านจะมาตั้งน้องให้เปนใหญ่กว่าพี่นั้นข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ February 14, 2025.
- ↑ [(太康四年三月)癸丑,大司马齐王攸薨。] จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ ([泰始元年冬十二月]丁卯,遣太僕劉原告于太廟。封魏帝爲陳留王,邑萬戶,居於鄴宮;魏氏諸王皆爲縣侯。追尊宣王爲宣皇帝,景王爲景皇帝,文王爲文皇帝,宣王妃張氏爲宣穆皇后。尊太妃王氏曰皇太后,宮曰崇化。封皇叔祖父孚爲安平王,皇叔父幹爲平原王,亮爲扶風王,伷爲東莞王,駿爲汝陰王,肜爲梁王,倫爲琅邪王,皇弟攸爲齊王,鑒爲樂安王,機爲燕王,皇從伯父望爲義陽王,皇從叔父輔爲渤海王,晃爲下邳王,瑰爲太原王,珪爲高陽王,衡爲常山王,子文爲沛王,泰爲隴西王,權爲彭城王,綏爲范陽王,遂爲濟南王,遜爲譙王,睦爲中山王,陵爲北海王,斌爲陳王,皇從父兄洪爲河間王,皇從父弟楙爲東平王。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ ([泰始八年]秋七月,以车骑将军贾充为司空。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ (初,帝疾笃,朝廷属意於攸。河南尹夏侯和谓充曰:“卿二女婿,亲疏等耳,立人当立德。”充不答。及是,帝闻之,徙和光禄勋,乃夺充兵权,而位遇无替。) จิ้นชู เล่มที่ 40.
- ↑ ([咸宁二年]八月...己亥,...司空贾充为太尉,镇军大将军齐王攸为司空。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ ([太康三年]冬十二月甲申,以司空齐王攸为大司马、督青州诸军事,镇东大将军、...) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ Fang, Xuanling, บ.ก. (648). "列傳第十二" [Historical Biography 12]. 晉書 [Book of Jin] (ภาษาChinese).
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Fang, Xuanling, บ.ก. (648). "帝纪第三" [Chronicles of the Emperor]. 晉書 [Book of Jin] (ภาษาChinese).
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
ก่อนหน้า | สุมาฮิว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โจฮอง | ![]() |
เจอ๋อง (齊王 ฉีหวาง) ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265–283) |
![]() |
ซือหมา จฺหย่ง |