สุมังคลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุมํคลี หรือ สุมังคลี (อักษรโรมัน: Sumangali) เป็นรูปแบบหนึ่งของแรงงานเด็กซึ่งผิดกฎหมายแต่ยังคงมีใช้อยู่ในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมตัดเย็บในรัฐทมิฬนาฑู[1] เด็กหญิงที่เป็นสุมังคลีจะอยู่ภายใต้สัญญาจ้างระยะเวลาสามถึงห้าปีโดยได้รับเงินรายเดือน และเมื่อสิ้นสุดสัญญาจะได้รับลัมป์ซัมเพื่อจ่ายเป็นสินสอด[2] เชื่อกันว่าสุมังคลีเริ่มมีขึ้นในโกอิมบาตอร์ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990s[3]

ชื่ออื่น ๆ ของสุมังคลี เช่น สุมุงคลี (Sumungali scheme), สุมุงคลีติตตัม (Sumungali Thittam), ศุภมงคล (Suba Mangala scheme หรือ Subha Mangala scheme), มงคลยะติตตัม (Mangalya Thittam), ติรุมังคลัมติรุมันติตตัม (Thirumangalam thiruman thittam), แผนการแต่งงาน (marriage scheme) และ คัมป์คูลี (camp coolie)[4] คำว่า สุมังคลี หรือ ศุภมงคลี (ผู้เป็นมงคลยิ่ง) หมายถึง "สตรีที่แต่งงานแล้ว"[1] หรือ "สตรีที่แต่งงานแล้วอย่างมีความสุข" ในภาษาทมิฬ[3] เพื่อใช้เรียก "เด็กหญิงโสดที่กลายมาเป็นสตรีที่ผู้คนเคารพยกย่องผ่านการแต่งงาน"[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Jaishankar, p. 410.
  2. Carr, p. 58.
  3. 3.0 3.1 Fair Labor Association, p. 7.
  4. Iyengar, p. 16.
  5. Matthews.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]