สุขวิช รังสิตพล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สุขวิช รังสิตพล | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม 2537 – 11 ธันวาคม 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน 2539 – 8 พฤศจิกายน 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม 2538 – 24 พฤศจิกายน 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน 2539 – 14 สิงหาคม 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | สัมพันธ์ ทองสมัคร |
ถัดไป | ชิงชัย มงคลธรรม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (85 ปี) |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ ไทยรักไทย |
คู่สมรส | ผิวผ่อง รังสิตพล |
ลายมือชื่อ | ![]() |
สุขวิช รังสิตพล (เกิด 5 ธันวาคม 2478) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย
ประวัติ
สุขวิช รังสิตพล เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2478 เป็นบุตรของนายสมบูรณ์ กับนางจินตนา รังสิตพล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเมืองการปกครอง จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2503[1] และได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์
เขาสมรสกับนางผิวผ่อง ณรงค์เดช มีบุตร 3 คน
การศึกษา
- รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นที่ 9)
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 32)
การทำงาน
- 2500-2535 บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ประเทศไทย
- 2536-2537 ผู้ว่าการการทางพิเศษ
- 2537 ประธานกรรมการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
นายสุขวิช ได้วางมาตรฐาน ราคาทางด่วนต้องไม่เกินกิโลเมตรละ 500 ล้านบาท และต้องมีทางเลียบทางด่วน ไว้ 300 กิโลเมตร ซึ่งไม่สามารถทำได้สำเร็จหลังจากการลาออก ของนายสุขวิช รังสิตพล[2]
ประธานองค์การรถไฟฟ้ามหานคร
- วางแผนแม่บทรถไฟฟ้า ใยแมงมุม 300 กิโลเมตรในกรุงเทพมหานคร
- วางแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมือง
งานการเมือง
นายสุขวิช รังสิตพล เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2530 และ พ.ศ. 2535 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2534 และเป็นสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคความหวังใหม่ ในปี พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2545 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย หลังการยุบรวมพรรคความหวังใหม่ เข้ากับ พรรคไทยรักไทย [3]
เขามีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีอื้อฉาวเรื่องการจัดซื้อคอมพิวเตอร์เกินราคาสำหรับโรงเรียน[4] แต่ถูกตัดสินให้พ้นผิดในคดีหมิ่นประมาทในเวลาต่อมา[5] สุขวิชยังถูกวิจารณ์ว่ายังคงคำสั่งห้ามนักศึกษารักร่วมเพศและข้ามเพศ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยว่า คนรักร่วมเพศไม่ต่างจากคนติดยาเสพติดที่ต้องการรักษา และไม่ต้องการให้เป็นแบบอย่างแก่เด็ก[6]
นายสุขวิช รังสิตพล เป็นนักการเมืองระดับแกนนำของพรรคความหวังใหม่ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อของพรรคความหวังใหม่[7] เคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[8] และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นอกจากนี้เขายังเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ระหว่างปี 2538 ถึง 2540 ด้วย เขาถูกกล่าวหาว่าสมทบทุน 100 ล้านบาทแก่กองทุนการรณรงค์หาเสียงของพรรค[4]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[9]
ปัจจุบัน เขาได้เว้นวรรคภายหลังจากพ้นถูกตัดสิทธิทางการเมือง และบวชเป็นสงฆ์[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2537 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2535 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
อ้างอิง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.
- ↑ http://edge200.bugaboo.tv/index.php
- ↑ http://archive.li/uMrWf
- ↑ 4.0 4.1 Tom Wingfield (2002). Edmund Terence Gomez (บ.ก.). Democratization and economic crisis in Thailand. Political Business in East Asia. Routledge. p. 269.
- ↑ "All Quiet on Western Front". Bangkok Post. 28 February 2002.
- ↑ Rosalind C. Morris (1997). Phillip Brian Harper (บ.ก.). Educating Desire: Thailand, Transnationalism, Transgression. Queer Transexions of Race, Nation, and Gender. Duke University Press. pp. 53–79, at p. 54.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!
- ↑ การกลับมาของบ้านเลขที่ 111 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงที่ “หลังฉาก”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษร วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.