สุกี้ไทย
สุกี้ไทยที่ร้านเอ็มเค | |
ประเภท | หม้อไฟ |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ![]() |
ภูมิภาค | อุษาคเนย์ |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | อาหารไทย |
ส่วนผสมหลัก | เนื้อสัตว์ หรือ อาหารทะเล, น้ำจิ้ม |
สุกี้ไทย เป็นอาหารประเภทหม้อไฟชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานในประเทศไทย[1]
ภาพรวม
[แก้]โดยมากทำกินโดยต้มน้ำในหม้อชาบูชาบูที่มีปล่องตรงกลาง หรือหม้อแบนธรรมดา จากนั้นนำวัตถุดิบที่เตรียมไว้เป็นขนาดพอดีคำ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก อาหารทะเล และ ลูกชิ้น มาต้มแล้วจิ้มกับน้ำจิ้ม ร้านอาหารแต่ละแห่งทุ่มเทอย่างมากในการปรุงน้ำจิ้ม ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของร้านอาหาร น้ำจิ้มนี้อาจประกอบด้วย กระเทียมสับ น้ำ มะนาว และ พริก ขึ้นอยู่กับความชอบ ปิดท้ายด้วยข้าวต้มหรือบะหมี่ นอกจากจะให้บริการในร้านอาหารทั่วไปแล้ว ยังมีร้านเฉพาะทางอย่างเอ็มเค หรือ สุกี้โคคา อีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น โดยใช้หม้อแบบพิเศษ โดยส่วนล่างของหม้อใช้สำหรับต้มตามปกติ ส่วนบนใช้เป็นเตาไฟฟ้าสำหรับย่างเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเล
ประวัติศาสตร์
[แก้]คำว่า "สุกี้" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นเป็นคำยืมมาจากคำว่า สุกียากี้ ของญี่ปุ่น โดยเชื่อว่าแรกเริ่มมีต้นกำเนิดมาจากร้านอาหารในกรุงเทพมหานคร ที่เริ่มให้บริการหม้อไฟแบบจีนภายใต้ชื่อ "สุกียากี้" ใน ปี พ.ศ. 2498 และนิยมเรียกย่อว่า "สุกี้" อย่างไรก็ตาม สุกี้ไทยมีความแตกต่างไปจากสุกียากี้ของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
ความนิยมของสุกี้ไทยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความสำเร็จของร้านอาหารกวางตุ้ง ชื่อ สุกี้โคคา ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2500 ที่ซอยทานตะวัน สีลม[2] รูปแบบของ "สุกี้" ที่โคคานำเสนอได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเวลาต่อมา ทำให้เกิดร้านอาหารอื่นตามมา เช่น เอ็มเค สุกี้ไทยเป็นอาหารหม้อไฟแบบจีนที่ดัดแปลงให้เข้ากับไทย มีลักษณะคล้ายกับ ชาบูชาบู และ โยเซนาเบะ โดยนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาปรุง จากนั้นแต่ละคนก็ตักวัตถุดิบและซุปมารับประทานเอง[3] มีตะแกรงลวดเล็ก ๆ ให้แต่ละคนใช้ตักขึ้นมาเองได้
เมนูที่คล้ายกัน
[แก้]หมูกระทะ เป็นอาหารที่ใช้แผ่นเหล็กยกสูงวางอยู่ตรงกลางหม้อสุกี้แบบไทย สามารถรับประทานเนื้อย่างได้ด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ タイ国政府観光庁日本支局
- ↑ The History of COCA Since 1957
- ↑ タイ観光旅行ガイド バンコクナビ 「鍋が煮えたら、小さな器に具とスープを移す」